อาการปวดปลายประสาท neuropathic pain 

เป็นอาการปวดที่เกิดจากความผิดปรกติโดยตรงของระบบประสาท ซึ่งสาเหตุของอาการปวดทางประสาทที่เกิดขึ้นมีหลายประการ เช่นการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย การติดเชื้อ หรือเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการแสดงของผู้ป่วยอาจมีหลากหลาย แต่อาการเหล่านี้ล้วนแต่แสดงถึงความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้อง อาการที่พบได้แก่

  • อาการปวดร่วมกับอาการชา (numbness) คล้ายเข็มทิ่ม (tingling) หรือปวดแสบปวดร้อน (burning). อาจมีอาการคล้ายกับถูกไฟดูด (lacinating หรือ shooting pain)
  • นอกจากนี้อาจมีอาการปวดบริเวณที่ชา ปวดบริเวณผิวหนังที่เส้นประสาทมาเลี้ยง (radiating pain หรือ radicular pain)
  • ปวดเมื่อมีการสัมผัส เช่นเสื้อผ้าหรือลมพัดผ่าน
  • อาการอาจเกิดขึ้นเป็นพักๆ (periodic) ไม่แน่นอน
ปวดปลายประสาท

 

ตำแหน่งของการเกิดปวดประสาท

ระบบประสาทของคนแบ่งเป็นระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย การเกิดโรคในแต่ละบริเวณก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดประสาทได้

ระบบประสาทส่วนปลาย

ระบบส่วนปลายเริ่มตั้งแต่เนื้อเยื่อจนถึงเส้นประสาทรับความรู้สึก อวัยวะ ความเสียหายที่เกิดกับเส้นประสาทการส่งสารเคมีระหว่างเส้นประสาท และกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย จะส่งผลต่อการปวดประสาท ตัวอย่างโรคที่เกิดที่ประสาทส่วนปลาย

  • อาการปวดรากประสาทหลายเส้นเนื่องจากการอักเสบเฉียบพลัน เช่นโรงูสวัด
  • อาการเสื่อมของเส้นประสาทหลายเส้นเนื่องจากพิษสุรา
  • อาการเสื่อมของเส้นประสาทเนื่องจากยาเคมีบำบัด
  • กลุ่มอาการปวดหลายแห่งตามร่างกาย
  • การเสื่อมของเส้นประสาทจากการกดทับ เช่น กลุ่มอาการกดทับเส้นประสาทข้อมือ carpal tunnel syndrome
  • กลุ่มอาการเสื่อมของเส้นประสาทในผู้ป่วยโรคเอดส์
  • อาการปวดเส้นประสาทหลังการรักษา เช่น ปวดหลังผ่าตัดเต้านม
  • อาการปวดประสาทที่หาสาเหตุไม่ได้
  • เนื้องอกกดทับหรือทำลายเส้นประสาท
  • การเสื่อมของเส้นประสาทจากการขาดวิตามิน
  • กลุ่มอาการปวดประสาทจากโรคเบาหวาน
  • กลุ่มอาการปวดประสาทหลังเกิดโรคเริม
  • กลุ่มอาการปวดประสาทหลังการฉายแสง
  • การปวดเส้นประสาทตามคอ ช่องอก และเอว
  • กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อใบหน้า
  • กลุ่มอาการปวดประสาทหลังอุบัติเหตุ

ระบบประสาทส่วนกลาง

เป็นผลมากจากความผิดปรกติของประสาทไขสันหลัง ในสมอง ซึ่งอาจจะเกิดการบาดเจ็บ หรือการเสื่อม ตัวอย่างโรคที่พบ

  • การกดทับไขสันหลังจากช่องไขสันหลังแคบลง
  • การเสื่อมของไขสันหลังจากโรคเอดส์
  • การปวดเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรค Multiple sclerosis
  • การปวดเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรค Parkinson
  • การเสื่อมของไขสันหลังจากการขาดเลือด
  • การเสื่อมของไขสันหลังจากฉายรังสี
  • การปวดหลังจากป่วยด้วยโรคเส้นเลือดสมองผิปรกติ
  • การปวดไขสันหลังภายหลังได้รับอุบัติเหตุ

โรคนี้พบบ่อยหรือไม่
อาการปวดแบบ neuropathic pain มีหลายประเภท ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะพบประมาณร้อยละ 1.5 ที่ป่วยด้วยโรคนี้ และผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากสาเหตุ ปลายประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวานก็มีมากขึ้น

Diagnostic studies

การวินิจฉัยโรค

โรคนี้มีอาการแสดงได้หลายรูปแบบ ตำแหน่งที่ปวดก็แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีโรคที่มักจะพบร่วมกับอาการปวด และยังมีเรื่องจิตใจส่งผลทำให้การวินิจฉัยยุ่งยากขึ้น ดังนั้นการซักประวัติอย่างละเอียด การตรวจร่างกายจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยในการวินิจฉัย

  • ประวัติความเจ็บป่วยในอดีต
  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจทางระบบประสาท
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • การตรวจชิ้นเนื้อของเส้นประสาท และผิวหนังในบางราย

ประวัติการเจ็บป่วย

ประวัติการเจ็บป่วยจะต้องซักประวัติการเจ็บป่วยในอดีต โรคที่มักจะพบร่วมกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคปวดประสาท

  • โรคเบาหวาน
  • โรคเอดส์
  • โรค
  • Multiple sclerosis
  • โรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • ประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง
  • โรคงูสวัด
  • ผู้ป่วยที่ถูกตัดแขนหรือตัดขา

อาการเจ็บป่วย

จะต้องได้ประวัติการปวดว่าเกิดอย่างไร

กลุ่มอาการปวดที่เกิดขึ้นเองจะมัลักษณะการปวดดังต่อไปนี้

  • ปวดเป็นพักๆ
  • ปวดเหมือนถูกยิง
  • ปวดเหมือนถูกทิ่มแทง
  • ปวดคล้ายไฟดูด
  • ปวดแสบร้อน
  • อาการปวดที่คล้ายอาการชา รู้สึกคล้ายมีอะไรมาต่าย รู้สึกคัน หรือซุ่ซ่าตามผิวหนัง

กลุ่มที่ปวดเนื่องจากมีการกระตุ้น

  • อาการรับความรู้สึกไวกว่าปกติ
  • อาการปวดที่เกิดจากการสัมผัสตามปรกติ เช่น การแตะผิวหนังเบาๆ หรือสัมผัสความร้อนหรือความเย็น
  • อาการปวดที่เป็นผลจากการกระตุ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

การประเมินความรุนแรงของอาการปวด

จะใช้อะไรมาวัดความรุนแรงของการปวด

ในการประเมินอาการปวดนั้นเป็นหัวใจสำคัญในการให้การรักษาผู้ป่วยและสามารถทำได้โดยการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น แบบสอบถาม คำถามสั้น หรือรูปภาพประกอบ ในการประเมินอาการปวด ทำให้ สามารถประเมินอาการปวดได้ถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ.
เครื่องมือช่วยประเมินอาการปวดแบบพื้นฐาน ที่นิยมนำมาใช้ได้แก่

Visual Analog Scale (VAS)





เป็นเครื่องมือที่ใช้สามารถใช้ประเมินอาการปวดที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้มากขึ้น. แต่ข้อจำกัดของเครื่องมือประเภทนี้คือไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยได้ทุกราย ในผู้ป่วยเด็กหรือโรคความจำเสื่อม จะไม่สามารถตอบสนองต่อแบบประเมินวิธีนี้ได้ แต่จะตอบสนองกับเครื่องมือช่วยประเมินที่เป็นรูปภาพได้ดีกว่า เช่น

Wong-baker faces pain rating scale



การซักประวัติผู้ป่วยหรือตั้งคำถาม เช่น ระยะเวลาของการปวด ลักษณะการปวด ความรุนแรงของการปวด ทำกิจวัตรได้หรือไม่ในขณะปวด ประกอบร่วมกับการใช้เครื่องมือประเมินทำให้ได้รายละเอียดของอาการในแง่มุมที่ลึกขึ้นและสามารถใช้หาสาเหตุร่วมของอาการดังกล่าว. นอกจากนี้ปัจจัยอื่นๆ เช่นสภาวะจิตใจ คุณภาพของการนอนหลับ อาการซึมเศร้า หรือวิตกกังกล ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาการปวดในผู้ปวยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน.

อาการปวดของผู้ป่วยในแต่ละรายจะมีความแตกต่างขึ้นอยู่กับช่วงเวลาระหว่างวัน และจะไม่คงที่. ดังนั้น การใช้สมุดบันทึกอาการปวด จะทำให้ทราบว่าจะให้การรักษาอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นควรทำอย่างไร เช่นกรณีผู้ป่วยประสาท ที่เกิดจากงูสวัด และ เบาหวาน อาการปวดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างสะสมโดยสัมพันธ์กับความเครียด หรืออาการปวดจะเพิ่มขึ้นในเวลานอน เนื่องจากผู้ป่วยสามารถที่จะมุ่งความสนใจไปที่อาการปวดมากกว่าเวลากลางวัน เนื่องจากไม่มีสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจ.

การตรวจร่างกาย

สำหรับผู้ที่สงสับว่าจะเป็นโรคนี้จะต้องตรวจหาอาการแสดงอย่างอื่น

  • การประเมินอาการอ่อนแรง การเคลื่อนไหวผิดปรกติ การทรงตัว สมรรถภาพของกล้ามเนื้อ
  • ความสามารถในการแยกแยะความรู้สึกร้อน หนาว แหลม กับทื่อ
  • นอกจากนั้นจะต้องตรวจร่างกายทั่วไป

การตรวจเพิ่มเติม

เนื่องจากความหลากหลายของโรคการวินิจฉัยจึงลำบากจำเป็นต้องการการตรวจเพิ่มเช่น

  • เช่น Magnetic Resonance Imaging (MRI) ในการประเมินถึงระดับสารสื่อประสาท บริเวณที่มีการเพิ่มการไหลเวียนเลือดในสมอง
  • หรือ EMG (electromyography) ซึ่งเป็นการศึกษาการเดินทางของไฟฟ้าในเส้นประสาท.
  • การตรวจความสามารถในการรับรู้อุณหภูมิ

การรักษาโรคปวดประสาท neuropathic pain

 

เพิ่มเพื่อน