สมองขาดเลือดจากเส้นเลือดสมองตีบ Ischemic stroke
สมองขาดเลือดจากเส้นเลือดสมองตีบ (Stroke)
ภาวะสมองขาดเลือดมีสาเหตุจากเส้นเลือดสมองตีบ หรือมีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่นไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ หลังจากนั้นเซลล์สมองก็จะตายในเวลาเพียงสั้นๆ สมองขาดเลือดเพียงไม่กี่นาทีก็จะทำให้เซลล์สมองตาย โรคนี้จะทำให้เกิดอาการอัมพาตเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการพูดและหรือการมองเห็น ลักษณะที่สำคัญของอาการสมองขาดเลือดได้แก่
- โรคเส้นเลือดสมองมักจะเป็นโรคที่เกิดเฉียบพลันทันที
- สาเหตุของโรคอาจจะเกิดจากเส้นเลือดสมองตีบ หรือเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดเส้นเลือดสมอง
- อาการของโรคเส้นเลือดสมองตีบจะเกิดทันที
- อาการส่วนใหญ่ได้แก่อาการอ่อนแรงของแขนและหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ป่วยมักจะมาด้วยหกล้มขณะยืน หรือเดิน หรือกำลังลุกจากเตียง บางคนมาด้วยเดินลำบาก ใช้แขนหรือขาข้างนั้นไม่ถนัด ขาหนัก เดินเซ
- พูดลำบาก พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก ผู้ป่วยบางคนจะเรียกชื่อสิ่งของไม่ได้ บางคนไม่เข้าใจคำพูดที่เราพูด
- ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิทเฉียบพลัน คนใกล้ชิดจะสังเกตุเห็นว่ามีปากเบี้ยวเวลายิ้ม หรือน้ำไหลออกจากปากเวลาแปลงฟัน
การวินิจฉัยเส้นเลือดสมองตีบ
ประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจทางรังสี การเจาะเลือด
- การรักษาได้การให้ยาละลายลิ่มเลือด การให้ยาป้องกันเส้นเลือดตีบ การรักษาโรคร่วม การผ่าตัด
- ผู้ป่วยหนึ่งในสามจะหายใกล้เคียงปรกติ
หากมีอาการเตือนต้องทำอย่างไรต้องทำอะไรบ้าง
- ถ้ามีสัญญาเตือนเกิดขึ้น ให้รีบเข้าโรงพยาบาลและปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อให้การรักษาซึ่งจะช่วยป้องการการทำลายสมอง
- ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic drugs) ภายในเวลา 3-4.5 ชั่วโมงหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือด
ชนิดของโรคสมองขาดเลือด
โรคสมองขาดเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆได้แก่
1thrombotic stroke

หมายถึงภาวะที่มีคราบ plaque ที่ผนังหลอดเลือดหนาตัว จนทำให้หลอดเลือดตีบเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ หรือเกิดจากคราบชิ้นเล็กได้หลุดลอยไปอุดหลอดเลือดทำให้สมองขาดเลือด ซึ่งหลอดเลือดที่เกิดยังแบ่งเป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น carotid artery และแขนงของหลอดเลือดเล็กในสมอง
2embolic stroke

หมายถึงเกิดลิ่มเลือดจากบริเวณอื่น( ส่วนมากเกิดที่หัวใจ) หลุดลอยเข้าไปอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
ภาวะสมองขาดเลือดรักษาได้อย่างไร
เมื่อมีอาการทางสมองเกิดขึ้น วิธีการรักษาต่างๆ จะต้องนำมาใช้อย่างทันที ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือเฉพาะทาง ขอให้ตระหนักไว้ว่าภาวะสมองขาดเลือดถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน แม้ว่าอาการอาจดูไม่รุนแรงก็ตาม สำหรับภาวะสมองขาดเลือดแบบสมบูรณ์นั้น การตรวจรักษาอาจต้องใช้ยา thrombolytic ซึ่งช่วยสลายลิ่มเลือดให้กระจายออก เพื่อลดการทำลายเนื้อเยื่อให้น้อยลง และในบางครั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจตรวจดูส่วนของสมองที่ไม่ได้รับผลกระทบ เพื่อสันนิษฐานการจัดการหน้าที่ของสมองที่ถูกทำลายไป
โรคแทรกซ้อน
โรคแทรกซ้อนของภาวะสมองขาดเลือดแบ่งออกเป็น โรคแทรกซ้อนที่เกิดหลังจากเกิดภาวะสมองขาดเลือดภายในหนึ่งสัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดจากการบวมของสมอง หรือเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมองได้แก่
- การเกิดคราบไปอุดซ้ำของภาวะผนังหลอดเลือดแดงหนา (Arteriosclerosis) ในหลอดเลือด
- อาการสมองบวม cerebral edema เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย
- มีเลือดออกจากหลอดเลือดแตก ทำให้อาการผู้ป่วยทรุดลง
- ความผิดปกติที่น้ำไขสันหลังคั่งในกะโหลกศีรษะเนื่องจากเกิดการอุดตันในหลอดเลือด ทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการซึมลงจนกระทั่งไม่รู้สึกตัว
ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดหลังจากเกิดอาการแล้วหนึ่งสัปดาห์มักจะเกิดจากการดูแลและภาวะจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงเช่น
- ปอดบวม (Pneumonia)เนื่องจากผู้ป่วยกลืนได้ไม่ดีจึงมีการสำลักน้ำลายหรืออาหาร เมื่อเวลาที่ผู้ป่วยดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารจะมีอาการไอหรือสำลักแสดงว่าผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืน
- การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะเนื่องจากผู้ป่วยบางรายมีปัญหาในการขับปัสสาวะ นอกจากนั้นบางรายยังคาสายสวนปัสสาวะทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- อาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ
- โรคเบาหวานน้ำตาลอาจจะสูงเกินไป หรือต่ำเกินไปจำเป็นต้องตรวจน้ำตาลให้ถี่ขึ้น
- การไม่สมดุลทางประจุของสารละลายอิเล็กโทรไลท์
- แผลกดทับ ผู้ป่วยไม่สามารถพลิกตัวเอง ดังนั้นจะต้องมีผู้ช่วยคอยพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ
นอกจากวิธีทางการรักษาต่างๆ ที่ได้พิจารณานำมาใช้ในการรักษาแล้ว การรักษาด้านกายภาพบำบัดที่ เหมาะสมก็มีความสำคัญอย่างมากและควรนำมาบำบัดให้แก่ผู้ป่วยตั้งแต่ช่วงแรกที่เกิดอาการ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ร่างกายอย่างถาวร การทำนายอาการของโรค
การป้องกัน
การป้องกันเป็นความสำคัญลำดับแรกของเราในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะสมองขาดเลือด ปัจจุบันนี้มียาสองชนิดที่สามารถป้องกันการอุดตันในเส้นเลือดได้
- ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) เช่น ยาแอสไพริน, ยา Ticlopidine และ ยา Clopidogrel
- ยาต้านการจับตัวเป็นก้อนของเลือด (Anticoagulant) เช่น ยา Warfarin
- อ่านเรื่องการป้องกันภาวะสมองขาดเลือด
- ความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ
โดยสรุป
- โรคหลอดเลือดสมองหมายถึงภาวะที่สมองบางส่วนเสียหายทันทีเนื่องจากการที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอ
- เมื่อมีอาการของสมองขาดเลือดจะต้องประเมินให้ได้ว่าเกิดอาการนานเท่าไร เพราะจะมีผลต่อการวางแผนการรักษา
- หากมาโรงพยาบาลหลังจากเกิดอาการไม่เกิน 3 ชั่วโมงจะพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด
- หลังจากให้ยาละลายลิ่มเลือดจะต้องประเมินโรคแทรกซ้อน สาเหตุ การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันเลือด
- ผู้ป่วยที่เกิดจากลิ่มเลือดจะต้องให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
กลับไปหน้าโรคหลอดเลือดสมอง | สาเหตุของโรคสมองขาดเลือด | อาการสมองขาดเลือด | การวินิจฉัยโรคสมองขาดเลือด | การรักษาโรคสมองขาดเลือด | การป้องกันโรคสมองขาดเลือด | การดูแลหลังเกิดโรคสมองขาดเลือด