โรคสมองอักเสบ
โรคสมองอักเสบหรือศัพท์ทางการแพทย์เรียก Encephalitis หมายถึงมีการอักเสบของเนื้อสมอง การอักเสบอาจจะเกิดทั้งสมองหรือบางส่วนของเนื้อสมอง สาเหตุของสมองอักเสบมักจะเกิดจากไวรัสเช่น เริม คางทูม หัดเยอรมัน ไข้สุกใส นอกจากนั้นยังเกิดจากยุงหรือไรกัดเช่น Japanese encephalitiscerebritis หมายถึงการอักเสบของสมองโดยมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หากไม่รักษาจะกลายเป็นฝีในสมอง
อาการของผู้ป่วยสมองอักเสบ
ผู้เป็นไม่มากจะมีอาการ
- ไข้
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- เจ็บคอ
- คอแข็ง
- อาเจียน
- ปวดศีรษะ
- สับสน
- กระสับกระส่าย
- ซึม
- ปวดหัวเมื่อแสงจ้าๆ
สำหรับผู้ที่มีอาการมากได้แก่
- ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว
- สับสนไม่รู้วันหรือกลางคืน จำคนไม่ได้
- ชัก
- ไข้สูง
- ปวดศีรษะมาก
- คลื่นไส้อาเจียน
- มือสั่น
- คอแข็ง
สาเหตุสมองอักเสบ
สาเหตุของสมองอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส การติดต่อโดยมากเกิดจากยุง ไรกัด เช่นโรคสมองอักเสบจากไวรัสสายพันธ์ยี่ปุ่น japaness encephalitis บางชนิดเกิดจากการที่สัตว์เช่นค้างคาวหรือสุนัขกัด เช่นโรคหมาบ้า
ประเภทของการติดเชื้อแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- ติดเชื้อครั้งแรก Primary encephalitis หมายถึงการติดเชื้อไวรัสเป็นครั้งแรกและเชื้อนั้นก็ทำให้เกิดสมองอักเสบ มักจะมีการระบาดเป็นครั้งคราว เช่นไขสมองอักเสบสายพันธ์ญี่ปุ่น
- สมองอักเสบซึ่งเกิดจากเชื้อที่อยู่ในร่างกายเรียก Secondary (post-infectious) encephalitis เช่นสมองอักเสบจากเชื้อเริม
เชื้อที่เป็นสาเหตุของสมองอักเสบ
- Herpes viruses
เมื่อคนได้รับเชื้อจะทำให้เกิดโรคเริมซึ่งอาจจะเกิดแผลที่ปากหรืออวัยวะเพศ หลังจากนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกาย เมื่อคนมีภูมิลดลงเชื้อที่อยู่ในร่างกายจะกำเริบทำให้เกิดสมองอักเสบ อ่านโรคเริมที่นี่
- Herpes simplex virus
- Varicella-zoster virus
- Epstein-Barr virus
- Childhood infections
- Measles (rubeola)
- Mumps
- Rubella (German measles)
- Arboviruses
สัตว์ที่เป็นแหล่งพักเชื้อได้แก่ หมู นก
ยุงและไรจะเป็นตัวนำเชื้อโรคมาสู่คนโดยการกัดสัตว์ที่เป็นดรค และเมื่อมากัดคนก็จะปล่อยเชื้อสู่คน หากเชื้อมีปริมาณมากพอก็จะทำให้เกิดโรค
- Eastern equine encephalitis
- Western equine encephalitis
- St. Louis encephalitis
- La Crosse encephalitis
- West Nile encephalitis
- Japanese encephalitis เป็นโรคไข้สมองอักเสบที่พบมากในเอเซียปีละประมาณ 50000 รายและเสียชีวิตประมาณปีละ 15000 รายพบมากในเด็กและวัยรุ่น หมูเลี้ยงและนกเป็นสัตว์ที่มีเชื้อ โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดโรคสมองอักเสบ
- อายุ สมองอักเสบบางชนิดมักจะเป็นในเด็ก
- ภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องมีโอการของสมองอักเสบสูงกว่าคนอื่น
- ภูมิสาสตร์ ผู้ที่อาศัยหรือไปเที่ยวยังแหล่งที่มีการระบาดของโรคก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
- สภาพความเป็นอยู่ ผู้ที่มีกิจกรรมนอกบ้านมาก เช่นการวิ่งนอกบ้าน ตีกอลฟ์ การดูนก ดังนั้นในช่วงที่มีการระบาดต้องระวังเป็นพิเศษ
- ฤดูกาล
การวินิจฉัยโรคโรคสมองอักเสบ
เมื่อมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคไข้สมองอักเสบโดยเแพาะรายที่มีไข้และมีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก ก็จะต้องตรวจพิเศษเพื่อวินิจฉัยแยกโรค การตรวจที่สำคัญได้แก่
- การเจาะเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจภาษาแพทย์เรียก
Spinal tap (lumbar puncture) แพทย์จะใช้เข็มเจาะเข้าไขสันหลัง และเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง
Electroencephalography (EEG).เป็นการวัดไฟฟ้าของสมอง การตรวจนี้จะมีประโยชน์มากในรายที่มีอาการชัก
- การตรวจรังสีสมอง หรือการตรวจ
computerized tomography (CT) or magnetic resonance imaging (MRI) scan จะบอกได้ว่าสมองส่วนไหนมีการบวม
- การตรวจเนื้อเยื่อสมองเพื่อหาตัวเชื้อโรค
โรคแทรกซ้อนโรคสมองอักเสบ
ผู้ที่มีสมองอักเสบแบบรุนแรงอาจจะมีโรคแทรกซ้อนได้หลายประการ
- เสียชีวิต
- หายใจวาย
- โคม่า
- ความจำเสื่อม
- ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อ
- หูหนวกหรือตาบอด
เมื่อไรจึงจะพบแพทย์
หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้นร่วมกับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่น
- เป็นเริมที่ปากหรืออวัยวะเพศ
- เมื่อคุณเข้าป่า และสงสัยว่าถูกยุงกัด
- เมื่อคุณไปในแหล่งที่มีการระบาดของโรค
การรักษาโรคสมองอักเสบ
โดยทั่วไปหากไม่รุนแรงอาจจะหายเองได้ โดย
- การพักผ่อนให้พอเพียง
- ดื่มน้ำมากๆ
- ยาแก้ปวดพาราเซ็ตตามอล
- ยาแก้สมองบวม
- ยากันชัก หากผู้ป่วยมีอาการชัก
แต่การรักษาโรคมักจะไม่มียาเฉพาะโรค เนื่องจากไวรัสที่เป็นสาเหตุไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษานอกเสียจากเชื้อไวรัสเริมอาจจะตอบสนองต่อการรักษา
การป้องกันโรคโรคสมองอักเสบ
เนื่องจากโรคนี้เมื่อเป็นแล้วไม่มียาที่รักษาเฉพาะ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น ไข้สุกใส คางทูม หัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ
- ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวเมื่อต้องออกนอกบ้าน
- ทายากันยุงที่เสื้อผ้า ความเข้มข้นของยาขึ้นกับระยะเวลาที่ป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด โดยหลีกเลี่ยงแหล่งที่มียุงมาก
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
- ให้สำรวจสิ่งแวดล้อม ว่ามีสัตว์ตายผิดปกติบ้างหรือไม่