อาการโรคเหงือก
โรคเหงือกเป็นโรคที่ทุกคนเคยเป็นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต หากท่านเป็นโรคเหงือจะมีอาการเลือดออกเวลาแปลงฟัน หรืออาจจะมีกลิ่นปาก ระยะแรกที่เป็นจะเรียกว่าเหงือกอักเสบ หากไม่รักษาจะเกิดโรค โรคปริทันต์ ซึ่งหากไม่รักษาจะมีการทำลายกระดูกในที่สุดก็จะเกิดฟันร่วง
สาเหตุของการเกิดโรคเหงือก
คราบหินปูน(Plaque) เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคเหงือก แต่ก็มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่นการตั้งครรภ์ การเข้าสู่วัยรุ่น การมีประจำเดือน หรือภาวะวัยทอง จะมีผลทำให้เหงือกเกิดการอักเสบได้ง่าย
- ความเจ็บป่วย เช่น มะเร็ง หรือโรคเอดส์ เบาหวาน เหล่านี้จะมีผลต่อภูมิ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ไง่าย
- ยาบางชนิดจะมีผลต่อสุขภาพช่องปาก ยาบางชนิดลดการไหลของน้ำลายทำให้ปากแห้งเกิดคราบหินปูน ยาบางชนิดทำให้เหงือกบวมเช่นยากันชัก Dilantin
- พฤติกรรมไม่ดีเช่น การสูบบุหรี่
- การดุแลช่องปากไม่ดี เช่นการแปรงฟันไม่ถูกวิธี การไม่ใช้ไหมขัดฟัน
- ปัจจัยด้านกรรมพันธ์
สัญญาณเตือนของโรคเหงือก
โรคเหงือกมีอาการไม่มากจนบางครั้งไม่ได้ให้ความสนใจ จนกระทั่งเป็นเรื่อรังเกิดโรคปริทนต์ ฟันร่วงและอาจจะเกิดโรคหัวใจตามมาในภายหลัง เรามาเรียนรู้อาการเตือนของโรคเหงือกกัน

เหงือกร่น Gum Recession
คนปกติจะมีเหงือกสีชมพูและปิดฟันทำให้ไม่เห็นร่องฟัน เหงือกร่นอาจจะไม่มีอาการอะไร แต่เป็นสัญญาณว่าจะเป็นโรคเหงือก ลักษณะที่สำคัญของเหงือร่นคือ จะเห็นร่องฟันตั้งแต่ 2 ซี่ขึ้นไป และเห็นรากฟัน อ่านที่นี่
เลือดออกจากเหงือก
หากแปรงฟันแล้วเลือดออกแสดงว่าเป็นโรคเหงือก แม้ว่าจะไม่มีเลือดออกก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นโรคเหงือก เพราะคนปกติจะหลีกเลี่ยงแปรงฟันบริเวณที่ปวดหรือมีปัญหา
มีกลิ่นปาก
กลิ่นปากมีสาเหตุหลายประการ อาหาร โรคเหงือก แผลในปาก ไซนัสอักเสบ หรือโรคระบบทางเดินอาหาร เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในปาก คราบหินปูนจะเกิดทำให้เกิดสาร sulfur ซึ่งมีกลิ่นแรง ดังนั้นหากระวังเรื่องอาหาร แปรงฟันอย่างถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟัน หากยังคงมีกลิ่นปากต้องปรึกษาทันต์แพทย์เพื่อตรวจว่าเป็นโรคเหงือก หรือไม่ อ่านที่นี่
เหงือกแดง
ปกติเหงือกจะมีสีชมพู การที่เหงือกแดงแสดงว่ามีการอักเสบของเหงือก หากมีการกดเจ็บร่วมด้วยแสดงว่ามีการอักเสบ
ฟันโยก
การที่มีฟันโยกแสดงว่าเป็นโรคเหงือกแน่นอนซึ่งเป็นระยะที่เป็นมากแล้ว
อาการและอาการ
อาการที่สำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโรคเหงือกมีดังต่อไปนี้
- เหงือกบวมแดง และเจ็บ
- เลือดออกง่ายขณะแปรงฟัน
- มีกลิ่นปาก
- มีคราบหินปูนเกาะ
- เหงือกร่น
- มีหนองที่เหงือก
- ฟันแยก ร่องฟันกว้าง
- ฟันร่วง
- เสียวฟัน
- เวลาเคียวจะปวดฟัน
หากมีเหงือกอักเสบและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะเกิดโรคแทรกซ้อนคือเหงือกร่น เกิดโพรงหนองมีการทำลายเนื้อกระดูก ในที่สุดฟันจะร่วง
เมื่อไปพบทันฑแพทย์จะตรวจอะไรบ้าง
- แพทย์จะวัดความสมบูรญ์ของเหงือกโดยใช้ periodontal probe แหย่เข้าไปในร่างระหว่างเหงือกและฟัน ปกติจะอยู่ในช่วง 1-3 มิลิเมตร หากร่องลึกว่านี้แสดงความรุนแรงของโรค
- การตรวจทางรังสีเพื่อดูว่ากระดูกมีการละลายมากน้อย
- ตรวจฟันว่าซี่ใดที่เคาะแล้วมีความรู้สึกเสียวซึ่งแสดงว่ามีปัญหาเรื่องเหงือก
- ตรวจดูว่ามีฟันโยกหรือไม่
- ตรวจเหงือกดูสี ดูว่าเหงือกบวมหรือไม่ ดูว่ามีเลือดออกหรือไม่
การรักษา
หลักการรักษาโรคเหงือกอักเสบจะต้องค้นหาปัจจัยเสี่ยงและกำจัดปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการสูบบุหรี่ และโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ กำจัดคราบหินปูน หลังจากนั้นต้องแปรงฟันให้ถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟันหลังรับประทานอาหาร รวมทั้งน้ำยาบ้วนปาก
สำหรับโรคปริทนต์ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
การดูแลตัวเอง
- ชาเขียวช่ยลดการอักเสบ สามารถลดการอักเสบได้
- น้ำยาบ้านปากชนิด Hydrogen peroxide ช่วยฆ่าในปาก แต่ห้ามกลืน
- น้ำเกลืออุ่นๆช่วยลดอาการเจ็บปวดได้
- ผงฟูผสมนำกรวกคอจะลดอาการระคายเคืองได้
ข้อสำคัญสำหรับผู้ที่มีอาการของเหงือกอักเสบจะต้องรักษาตั้งแต่เริ่มต้น หากรักาาจะเกิดโรคปริทนต์จะยากต่อการรักษา
การป้องกันโรคเหงือก
การป้องกันโรคเหงือก
การป้องกันโรคเหงือกที่สำคัญคือการลดการเกิดคราบหินปูนซึ่งมีวิธีการที่สำคัญคือ
- การแปรงฟันหลังอาหาร
- การใช้ไหมขัดฟันเพื่อขจัดเศษอาหารตามซอกฟัน
- การใช้น้ำยาบ้วนปาก
- การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ลดอาหารแป้งและน้ำตาล
- นอนหลับให้เพียงพอ และลดความเครียดเพื่อให้ภูมิร่างกายทำงานเต็มที่
- การเลือกยาสีฟันก็มีส่วนช่วยลดคราบหินปูน ยาสีฟันที่มี Fluoride จะฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปาก สารแคลเซี่ยมซิลิแคทหรือคาร์โบเนตจะช่วยขจัดคราบ ส่วนสาร Sodium lauryl sulfate ทำให้เกิดโฟมในปากซึ่งจะทำให้ปากแห้ง ยาสีฟันที่มี pyrophosphates and zinc citrate ช่วยป้องกันการเกิดคราบ
- งดการสูบบุหรี่
- จัดการกับความเครียด
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
- ป้องกันการกัดฟันขณะนอนหลับ
ชนิดของโรคเหงือก
การดูและฟัน | คราบหินปูน | สาเหตุโรคเหงือก | สุขอนามัยช่องปาก | โรคเหงือกอักเสบ | โรคในช่องปาก | โรคเหงือก | เหงือกร่น | ปริทนต์อักเสบ | โรคเหงือกกับหัวใจ | ปากแห้ง | ฟันผุ | การแปรงฟัน | กลิ่นปาก