jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

เหงือกร่นGum recession

เหงือกร่นอาจจะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีอาการเสียวฟันเวลาแปลงฟันหรือดื่มของร้อนหรือเย็น เป็นสัญญาณว่าจะมีปัญหาโรคเหงือก หากไม่แก้ไขก็จะมีโรคแทรกซ้อนตามมา

เหงือกร่น

เหงือกร่นเป็นภาวะที่เหงือกได้ร่นลงไปหารากฟัน ทำให้เนื้อฟันสัมผัสเชื้อแบคทีเรียได้มากขึ้น เกิดคราบหินปูน และมีการเจริญเติบโตของเชื้อโรค หากไม่รักษาก็จะมีการทำลายของกระดูกทำให้ฟันไม่แข็งแรง และหลุดร่วงไป

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเหงือกร่น

ฟันปกติ

รูปที่ 1 เหงือกและฟันปกติ

เหงือกร่น

เหงือกร่น

โดยทั่วไปเหงือกร่นจะเป็นภาวะที่ค่อยๆเป็นโดยที่ไม่มีอาการ เราอาจจะรู้ว่าเหงือกร่นโดยดูจาก

หากเกิดเหงือกร่นอย่าละเลยรีบหาสาเหตุและแก้ไข

อาการเหงือกร่นเกิดได้จากหลายสาเหตุ

จากการแปรงฟันผิดวิธี ถ้ามาจากการแปรงฟันผิดวิธี คือ ถูไปถูมาในแนวนอน ก็จะทำให้เกิดเหงือกร่นและคอฟันสึกร่วมด้วย (อาจตามมาด้วยอาการเสียวฟัน) ปกติเหงือกที่ร่นจากการแปรงฟันแบบนี้มักเป็นบริเวณฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย และฟันกรามทางด้านกระพุ้งแก้มที่มีการซ้อนทับกันของการถูซ้ำๆ บางรายมีเหงือกและกระดูกบางอยู่แล้วก็ยิ่งร่นได้มาก หากเกิดเพราะสาเหตุนี้ ควรเปลี่ยนวิธีการแปรงฟันเป็นการขยับสั้นๆ อยู่กับที่แล้วปัดขึ้น (หรือลง) หรือใช้วิธีฟอกเป็นวงกลมเล็กๆ ก็จะทำให้การร่นหยุดลงได้ อ่านเรื่องการแปรงฟัน

จากโรคปริทันต์อักเสบ อันเป็นโรคที่มีการอักเสบของเหงือก และมีการทำลายอวัยวะที่อยู่รอบตัวฟัน เช่น กระดูกรอบรากฟัน ก็จะทำให้เกิดเหงือกร่นตามมา เพราะเมื่อกระดูกรอบฟันถูกทำลายจนลดระดับลง เหงือกก็จะร่นตามกระดูกไปด้วย (ตามไปหุ้มกระดูกไว้) อ่านเรื่องเหงือกอักเสบ

การดูฟันไม่ถูกต้อง การแปรงฟันรวมทั้งการขัดไหม และอาจจะไม่ได้พบทัน๖แพทย์ ทำให้เกิดครบหินปูนซึ่งจะทำให้เกิดเหงือกอักเสบ และเกิดเหงือกร่น

พันธุกรรม บางท่านอาจจะมีแนวโน้มที่จะเกิดเหงือกร่น หรือเกิดโรคเหงือก ดังนั้นต้องดูแลฟันให้ดี

จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน วัยรุ่น การตั้งครรภ์ วัยทอง วัยเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ฟันเสี่ยงต่อการเป็นเหงือกร่น

การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดคราบที่ฟัน และเกิดเหงือกอักเสบได้ง่าย อ่านเรื่องการสูบบุหรี่

การนอนกัดฟัน การนอนกัดฟันมากจะเป็นสาเหตุให้เหงือกร่น

การรักษา

การรักษาต้องรักษาที่ต้นเหตุ เช่นการรักษาโรคปริทันต์อักเสบนั้นจากทันตแพทย์ด้วยการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และหินน้ำลายที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเชื้อโรค ในรายที่เป็นมาก การขูดหินปูนหรือการเกลารากฟันไม่สามารถทำให้หาย อาจจะจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแก้ไข

การป้องกัน

กลับหน้าเดิม

การดูและฟัน | คราบหินปูน | สาเหตุโรคเหงือก | สุขอนามัยช่องปาก | โรคเหงือกอักเสบ | โรคในช่องปาก | โรคเหงือก | เหงือกร่น | ปริทนต์อักเสบ | โรคเหงือกกับหัวใจ | ปากแห้ง | ฟันผุ | การแปรงฟัน | กลิ่นปาก