jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

โรคปริทันต์

โรคปริทันต์อักเสบคืออะไร

โรคปริทันต์อักเสบ คือ โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกทำลายไปอย่างช้า ๆ ทุกวัน การทำลายของอวัยวะปริทันต์มักเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ฟันนั้นก็จะไม่สามารถอยู่ในช่องปากได้อย่างแข็งแรง อาจมีการโยก หรือต้องถอนฟันไป ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยมีอาการปวดเลย

ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมพออายุมากจึงมักพบฟันโยกเป็นหนอง แล้วต้องมาถอนฟันและใส่ฟันปลอม

จนต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด โรคนี้ภาษาชาวบ้านเรียกว่า โรครำมะนาด มีความรุนแรงมากกว่าโรคเหงือกอักเสบ

ไม่มีอาการปวดฟันก็่ต้องตรวจฟัน

คุณไม่เคยมีอาการปวดฟัน และคิดว่าฟันก็แข็งแรงดีอยู่ แต่ทันตแพทย์แนะนำให้คุณมาพบทันตแพทย์และตรวจฟันประจำปี เนื่องจากระยะแรกโรคในช่องปากส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงอาการเด่นชัด หากคุณเริ่มมีอาการปวดแล้วแสดงว่าโรคในช่องปากอยู่ในขั้นรุนแรงแล้ว โรคปริทันต์ก็เป็นอีกโรคหนึ่งในช่องปากที่มีลักษณะดังกล่าว และพบมากในคนทั่วไป เพราะสาเหตุหลักของโรคคือ เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากแล้วก่อโรคเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมนั่นเอง

สัญญาณอันตราย เมื่อโรคปริทันต์มาเยือน

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีอาการไม่ว่าจะอย่างใด อย่างหนึ่งข้างต้น ควรมาพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจรักษา หากทิ้งไว้นานอาจมีปัญหาฟันโยกถึงขั้น ต้องสูญเสียฟันได้


ฟันผุ

อาการของเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์

สาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ

สาเหตุหลักของการเกิดโรคนี้คือ คราบจุลินทรีย์ที่มากับอาหารที่เรารับประทานและน้ำลาย เริ่มต้นจากการที่เราทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ คราบอาหารตกค้างทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย ที่เราเรียกกันว่า แผ่นคราบ์ (Plaque) เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่ออาจทำให้เหงือกแยกออกจากฟัน ทำให้เกิดช่องว่างหรือ 'ร่อง' ขนาดเล็กที่เป็นที่สะสมคราบ และเกิดการติดเชื้อได้ เมื่อปัญหารุนแรงขึ้น กระดูกก็จะเริ่มกร่อนจนกลายเป็น หินน้ำลาย หรือ หินปูน  เจ้าเชื้อแบคทีเรียจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทำให้เกิด เหงือกอักเสบ บวมแดง มีเลือดออก และหากเป็นมาก อาจทำให้เกิดการทำลายอวัยวะ ย่อยเหงือกและกระดูกเบ้าฟันของเรา นอกจากนี้ยังมีสาเหตุรองที่ทำให้โรคลุกลามมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ การตั้งครรภ์ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเหงือกและปริทนต์อักเสบ

การป้องกันโรคปริทนต์

เนื่องจากสาเหตุหลักของโรคคือ เชื้อแบคทีเรียในช่องปากที่เกาะอยู่บนตัวฟัน ซึ่งจะสามารถเกาะได้แน่นขึ้น และก่อโรคได้ง่ายขึ้นหากมีหินปูนเป็นที่อยู่อาศัย เพราะฉนั้นวิธีการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือ

วิธีการรักษาโรคปริทนต

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุงแรงของโรค เมื่อเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งมีการละลายของกระดูกแล้ว ขั้นตอนการรักษาจะยุ่งยากขึ้น แบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ

1การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด

ในรายที่ผู้ป่วยเป็นโรคในระดับที่รุนแรงมากขึ้น การรักษาช่วงต้นอาจจะยังไม่สามารถกำจัดคราบหินน้ำลายใต้เหงือกได้หมด จึงจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเหงือกในบางบริเวณร่วมด้วย หลังจากการขูดหินปูนและการเกลารากฟันแล้ว แต่เนื้อเยื่อเหงือกไม่กระชับรอบๆ ตัวฟัน และคุณไม่สามารถรักษาความสะอาดบริเวณร่องลึกปริทันต์ได้

3การดูแลหลังรักษา

เนื่องจากสาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบคือเชื้อโรคจากน้ำลายที่มาสะสมบนตัวฟัน แต่เนื่องจากสาเหตุของโรคนี้กลับมาสะสมใหม่ทุกวันเมื่อเราทานอาหาร ดังนั้นการป้องกันโรคคือการดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดทุกวันด้วยการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอดังนั้นแม้การรักษาจะเสร็จสิ้นแล้ว หากไม่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ โรคจะกลับเป็นใหม่ได้ง่าย ดังนั้นหลังจากการรักษาแล้วผู้ป่วยควรได้รับการขูดหินน้ำลายเพื่อป้องกันการกลับเป็นใหม่ของโรค โดยมากผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคปริทันต์อักเสบแล้วควรได้รับการขูดหินน้ำลายทุก ๆ 3 – 6 เดือน 

กลับหน้าเดิม

การดูและฟัน | คราบหินปูน | สาเหตุโรคเหงือก | สุขอนามัยช่องปาก | โรคเหงือกอักเสบ | โรคในช่องปาก | โรคเหงือก | เหงือกร่น | ปริทนต์อักเสบ | โรคเหงือกกับหัวใจ | ปากแห้ง | ฟันผุ | การแปรงฟัน | กลิ่นปาก