การวินิจฉัยโรคไตเสื่อม


เมื่อแพทย์ซักประวัติตรวจร่างกายแล้วสงสัยว่าจะเป็นโรคไตแพทย์จะสั่งตรวจ

  • ตรวจเลือด แพทย์จะสั่งตรวจ CBC เพือดูความสมบูรญ์ของเม็ดเลือด ตรวจการทำงานของไตได้แก่ อัตราการกรองของไต creatinine และ urea นอกจากนั้นแพทย์จะสั่งตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุเช่นโรค SLE
  • การตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจว่ามีโปรตีน หรือเม็ดเลือดแดงหรือตะกอนหรือไม
  • การตรวจทางรังสี เพื่อพิจารณาขนาดว่าใหญ่หรือเล็ก หากขนาดใหญ่อาจจะมีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ หรือมีเนื้องอกในไต หากขนาดเล็กแสดงว่าไตเสื่อมรูปร่าง ของไตและท่อไต
  • การตรวจชิ้นเนื้อไต แพทย์จะใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อไตเพื่อตรวจโดยการส่องกล้อง

เมื่อได้ผลตรวจจึงมาประเมินว่าเป็นโรคไตหรือไม่ โดยพิจารณาจากลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในสองข้อต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยมีภาวะไตผิดปกตินานติดต่อกันเกิน 3 เดือนทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอัตรากรองของไต(glomerular filtration rate, GFR)ผิดปกติหรือไม่ก็ได้ ภาวะไตผิดปกติหมายถึงลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้


  • ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจปัสสาวะอย่างน้อยสองครั้งในระยะ 3 เดือนดังต่อไปนี้
    • ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
      • ถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วตรวจพบไข่ขาวในปริมาณเล็กน้อย microalbuminuria (อยู่ระหว่าง 30-200 microgram/day)
      • หากผู้ป่วยไม่ได้เป็นเบาหวานและตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 500 mg/วัน
    • ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ hematuria
  • ตรวจพบความผิดปกติทางรังสีวิทยา
  • ตรวจพบความผิดปกติทางโครงสร้างหรือพยาธิสภาพ
  1. ผู้ที่มีGFRน้อยกว่า 60 mL/min/1.73m2ติดต่อกันเกิน 3 เดือนโดยที่อาจจะตรวจพบหรือไม่พบร่องรอยโรคก็ได้

จากนิยามจะเห็นได้ว่าการเป็นโรคไตเรื้อรังตามข้อ 1 พบว่าการทำงานของอาจจะปกติหรือผิดปกติก็ได้ สิ่งผิดปกติที่พบคือการตรวจปัสสาวะพบความผิดปกติ หากความผิดนั้นแก้ไขได้ก็จะไม่เป็นโรคไตเรื้อรัง สำหรับโรคไตตามข้อ2ไตได้ทำงานลดลงแล้วจะต้องรักษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต

อ่านต่อเรื่องสาเหตุของโรคไต

  1. โรคไตเสื่อม
  2. อาการโรคไตเสื่อม
  3. การวินิจฉัยโรคไตเสื่อม
  4. การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคไตเสื่อม
  5. การักษาไตเสื่อม
  6. การป้องกันไตเสื่อม
  7. การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันไตเสื่อม
  8. การออกกำลังกายสำหรับไตเสื่อม

เพิ่มเพื่อน