ภาวะโปรตีนในปัสสาวะมากหรือ Proteinuria
Protein ในเลือดส่วนใหญ่เป็น Albumin ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก ผม เล็บ และยังมีหน้าที่อื่นๆเช่นทำให้เลือดแข็งตัว เป็นภูมิคุ้มกันโรค เมื่อเลือดผ่านเข้าไต Proteinuria มีโมเลกุลใหญ่ไม่สามารถกรองผ่านไตได้ ดังนั้นเราจึงตรวจไม่พบ Proteinuria ในปัสสาวะ
คนปกติจะมีโปรตีนในปัสสาวะหรือไม่
ปกติปัสสาวะของคนจะตรวจไม่พบโปรตีน Protein โปรตีนส๋วนใหญ่เป็น Albumin ดังนั้นหากตรวจพบ Protein ก็หมายถึงตรวจพบ Albumin นั่นเอง การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะจะบ่งบอกว่าเริ่มจะเกิดโรคไต หากไม่ตรวจแต่แรกก็อาจจะกลายเป็นโรคไตเสื่อม และในที่สุดกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ดังนั้นการตรวจปัสสาวะเพื่อหา Albumin ในผุ้ป่วยบางโรคเช่น โรคเบาหวาน ความดันดลหิตสูงจึงมีความจำเป็น
ชนิดของโปรตีน | ปริมาณ(มก/24ชม) |
โปรตีน Protein ที่ขับออกมา | |
|
<150 |
|
>150 |
|
>3500 |
Albumin | |
|
2-30 |
|
30-300 |
|
>300 |
วิธีการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
- โดยการใช้แทบตรวจปัสสาวะจุ่มในปัสสาวะแล้วเทียบสี จะตรวจพบโปรตีนเมื่อมีปริมาณโปรตีน 300-500 มก ข้อเสียคือไม่สามารถวัดปริมาณโปรตีน
- วัดปริมาณ Protein ที่ขับออกมาตลอด 24 ชั่วโมงโดยการเก็บปัสสาวะตลอดทั้งวันและส่งตรวจหาโปรตีน และค่า Creatinin
- การตรวจปัสสาวะหาค่า Protein Creatinine
- ค่าอัตราส่วน Protein/ Creatinine ค่าปกติจะน้อยกว่า 0.2
- ACR (or PCR) เป็นการวัดปริมาณ Albumin (หรือprotein)ในปัสสาวะโดยมากจะเก็บปัสสาวะทั้งวันหรือ 24 ชั่วโมงโดยเทียบกับปริมาณ Creatinine ในปัสสาวะ. ค่าอัตราส่วน Albumin/ Creatinineค่าปกติจะน้อยกว่า 30 mg/g creatinineหาค่าดังกล่าวอยู่ระหว่าง 30-300 แสดงว่ามีโปรตีนออกมาในปริมาณไม่มาก หากมากกว่า 300 mg/g แสดงว่าโปรตีนออกมาก
- การตรวจ ACR เหมาะสำหรับตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะไม่มากเช่นบวก1 หรือตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- หากมีโปรตีนในปัสสาวะมากควรใช้ PCR ติดตามการรักษา
- ค่า PCR เท่ากับ 100, หรือ ACR เท่ากับ 70ประมาณว่าจะเป็นค่าโปรตีนในปัสสาวะเท่ากับ 1g ใน24 ชั่วโมง
- ยังมีวิธีการตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะโดยที่ไม่ต้องเก็บปัสสวะ 24 ชั่วโมงโดยการเปรียบเทียบค่าโปรตีนในปัสสวะกับค่า creatinine ในปัสสาวะที่เรียกว่า urine protein to creatinine (UPCR)
ผู้ป่วยท่านใดที่เสี่ยงต่อการเกิดโปรตีนในปัสสาวะ
ผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้จะตรวจปัสสาวะหาโปรตีน(protein)
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1และชนิดที่ 2 การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะจะเป็นสัญญาณของการเป็นโรคไต
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคไตอักเสบ
ปัจจัยที่มีผลต่อโปรตีนในปัสสาวะ
หากตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะก็ไม่ได้หมายความถึงจะเป็นโรคไตเพราะมีหลายภาวะที่ทำให้ตรวจปัสสาวะแล้วพบโปรตีน ปัจจัยดังกล่าวได้แก่
- การออกกำลังกาย
- ภาวะหัวใจวาย
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- มีไข้
- การใช้ยา NSAID,aceI,ARB
- คนอ้วน
ดังนั้นเมื่อตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะแล้วจะต้องหาปัจจัยต่างๆเหล่านี้และแก้ไขและตรวจปัสสาวะซ้ำ
โปรตีนในปัสสาวะหายเองได้หรือไม่
โปรตีนในปัสสาวะแบ่งออกเป็นสามชนิดได้แก่
- โปรตีนในปัสสาวะที่หายเองได้ Transient proteinuria มักจะพบในคนที่มีไข้ หรือออกกำลังกาย อยู่ในที่หนาว หรือมีความเครียดโปรตีนนี้หายได้เองเมื่อภาวะที่กระตุนดังกล่าวหายไปแล้ว ภาวะนี้จะไม่กลายเป็นไตวายปริมาณโปรตีนมักจะน้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน
- โปรตีนในปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่ายืน Orthostatic (postural) proteinuria โปรตีนมักจะน้อยกว่า 1 กรัมต่อวันจะตรวจพบเมื่ออยู่ในท่ายืน เมื่อนอนโปรตีนก็จะหายไป
- เมื่อตรวจปัสสาวะ 2-3 ครั้งยังพบโปรตีนทุกครั้งที่ตรวจเราเรียกว่า Persistent proteinuria ซึ่งจะบ่งว่ามีโรคที่ไต ปริมาณโปรตีนก็สามารถบอกตำแหน่งของโรคไตได้
เมื่อแพทย์ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะแพทย์จะตรวจอะไรต่อ
เมื่อเราตรวจสุขภาพ ตรวจปัสสาวะพบโปรตีนในปัสสาวะอย่างน้อยสามครั้ง จึงจะบอกว่ามีโปรตีนในปัสสาวะซึ่งผลการตรวจโดยแทบตรวจปัสสาวะจะได้ผลดังนี้
- Trace = 5-20 mg/dL.
- 1+ = 30 mg/dL.
- 2+ = 100 mg/dL.
- 3+ = 300 mg/dL.
- 4+ = greater than 2,000 mg/dL.
เมื่อตรวจยืนยันว่ามีโปรตีนในปัสสาวะแน่นอนแพทย์จะตรวจเพิ่มเติมดังนี้
- ซักประวัติเพิ่มเติมโดยเฉพาะประวัติการใช้ยา ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต อาชีพ
- วัดความดันโลหิต
- เจาะเลือดตรวจเช่น การทำงานของไต
- ตรวจเลือดหาระดับน้ำตาลในเลือด.
- ตรวจเลือดหาระดับไขมันในเลือด
- นำปัสสาวะไปส่องกล้องตรวจหาเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หากมีเม็ดเลือดขาวมาก และย้อมพบเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโปรตีนในปัสสาวะน่าจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- วัดระดับโปรตีนในปัสสาวะ24 และระดับ creatinine เพื่อประเมินความรุนแรงของโปรตีนในปัสสาวะเพื่อพิจารณาวางแผนการรักษา:
- Protein/creatinine ratio >100 mg/mmolผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์โรคไต
- Protein/creatinine ratio >45 mg/mmolและตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะจะต้องพบแพทย์เฉพาะโรคไต
- Protein/creatinine ratio<45 mg/mmol.ให้การดูแลเหมือนผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคไต
- ปริมาณ Protein มากกว่า 3.5 กรัมต่อวันจะจัดอยู่ในกลุ่มเนฟโฟติค
- ตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีโรค SLE
- ตรวจ Ultrasound ของไต
- บางรายอาจจะต้องเจาะชิ้นเนื้อไตเพื่อตรวจเนื้อไตทางกล้องจุลทัศน์
ความสำคัญของการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะจะเป็นตัวที่กำหนดว่าว่าผู้ใดจะกลายเป็นโรคไตวาย ผู้ที่มีโปรตีนในปัสสาวะน้อยโอกาศเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคไตวายจะต่ำ ผู้ที่มีโปรตีนในปัสสาวะสูงมีโอกาศจะกลายเป็นโรคไตวายสูง นอกจากนั้นปริมาณโปรตีนในปัสสาวะยังสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ อัตราการเสียชีวิต
ผู้ที่มีโปรตีนในปัสสาวะจะมีอาการอะไรบ้าง
ผู้ที่มีโปรตีนในปัสสาวะจะไม่มีอาการอะไร หากมีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะปริมาณมากเวลาปัสสาวะลงในโถส้วมจะเป็นฟอง หากร่างกายสูญเสียโปรตีนไปมากจะทำให้เกิดอาการบวมบริเวนเท้า หนังตา
ค่าโปรตีนในปัสสาวะนำมาเป็นแนวทางในการรักษาโรค
ค่าโปรตีนในปัสสาวะนำมาเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย
ACR (mg/mmol) | PCR (mg/mmol) | Implication |
---|---|---|
ACR >3 | >15 | ค่าเกินปกติจัดเป็นไตเสื่อมระดับ1หรือสอง หากเป็นผู้ป่วยเบาหวานจะพิจารณาให้ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACEI หรือ ARB |
30 | 50 | พิจารณาให้ยา ACE inhibitorหรือ ARB |
70 | 100 | ควบคุมระดับความดันโลหิต 130/80 มิลิเมตรปรอท |
>250 | >300 | โปรตีนในปัสสาวะเข้าเกณฑ์ไตรั่ว “nephrotic syndrome |
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะACR>3 mg/mmol) จะเป็นข้อบ่งชี้ในการรักษา
- พิจารณาให้ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACEIs หรือ ARBs
- ควบคุมระดับความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80มิลิเมตรปรอท
- ควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี
- ควรจะติดตามระดับโรคตีนในปัสสาวะ ACR และการทำงานของไต( creatinine) อย่างน้อยปีละครั้ง
- ปรึกษาแพทย์โรคไต
ต่อหน้าที่สองการักษาโปรตีนในปัสสาวะ
การตรวจปัสสาวะ โรคไตเสื่อม โรคเนฟโฟติก โรคไตวาย โรคไตเบาหวาน โปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง
อัตรากรองของไต | Creatinin | BUN | การตรวจปัสสาวะ | การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ | การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด | การตรวจไขมันในเลือด | การตรวจเกลือแร่ | แคลเซี่ยม