ไตวายและไตวายเรื้อรัง
ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease: CKD) คือ ภาวะที่การทำงานของไตเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานานกว่า 3 เดือน ส่งผลต่อความสามารถในการกำจัดของเสีย กรองน้ำ และรักษาสมดุลเกลือแร่ในร่างกายไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างเรื้อรัง ทำให้เกิดการคั่งของของเสียและน้ำ
ไตคืออะไร
ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ในการขับของเสีย และควบคุมปริมาณสารน้ำ และเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล ปกติมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเท่ากำปั้น มีอยู่ 2 อัน ถ้าไตข้างใดข้างหนึ่งเสีย ไตอีกข้างสามารถทำหน้าที่แทนได้ เมื่อไตเสียหน้าที่ทั้ง 2ข้าง คือไม่สามารถกรองของเสีย หรือที่เรียกว่าไตวายก็จะเกิดอาการซึ่งเกิดจากการคั่งของของเสีย และการคั่งของน้ำและเกลือแร่ และการเสียสมดุลของฮอร์โมนของร่างกาย
ไต มีหน้าที่อะไร
- ขับถ่ายของเสียที่เกิดจาการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน หากของเสียพวกนี้คั่งมากๆจะมีอาการมึนงง เบื่ออาหาร หมดสติ และอาเจียน
- ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ที่เกินความจำเป็นโดยขับออกทางปัสสาวะ
- ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมนช่นฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณแคลเซี่ยม และฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงฮอร์โมนที่ไตผลิตได้แก่
- Erythropoietinทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง
- Renin ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต
- vitamin Dทำหน้าที่สร้างกระดูก
- ระบบขับปัสสาวะ
- กำจัดยาและสารพิษออกจากร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การตรวจ CBC พบว่ามีซีดเนื่องจากไตสร้างฮอร์โมนน้อยลง
- การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ
- ตรวจการทำงานของไตโดยตรวจค่า creatinin ค่าปกติอยู่ระหว่าง 0.6-1.2 mg%
- การตรวจ creatinin clearance โดยการเก็บปัสสาวะ 24
ชั่วโมงหาสาร creatinin
ในปัสสาวะและเจาะเลือดหาสาร
creatinin นำมาคำนวณค่าปกติ 97-137
มิลิลิตรต่อนาที 88-128
มิลิลิตรต่อนาทีสำหรับชายและหญิงตามลำดับ
- การตรวจหา
BUN [blood urea nitrogen] ค่าปกติไมเกิน 20 mg%
- การตรวจเกลือแร่
พบว่าเลือดจะเป็นกรดมีค่า CO2อยู่ระหว่าง
15-20 mmol/L Calciumในเลือดจะต่ำ Phosphate
ในเลือดสูง
- การตรวจเพื่อประเมินขนาดไตโดยอาจจะใช้
ultrasound หรือ CT
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไตวายเรื้อรัง
- การตรวจพบว่าเป็นโรคไตตั้งแต่เริ่มๆการรักษาจะชะลอการเสื่อมของไต
- สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้ป่วยโรคไตวายคือโรคหัวใจ
- การวัด Glomerular filtration rate (GFR) จะเป็นตัวที่บอกการทำงานของไต
- โรคความดันโลหิตสูงทำให้เกิดโรคไต ในขณะเดียวโรคไตวายก็ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
- การที่ตรวจพบไข่ขาวในปัสสวะแสดงว่าเริ่มเป็นโรคไตแล้ว
- กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคไตได้แก่ ผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
- การทดสอบง่ายๆว่าท่านเป็นโรคไตหรือไม่ได้แก่ การวัดความดันโลหิต การตรวจหาไข่ขาวในปัสสาวะและการเจาะเลือด
เรื่องเกี่ยวกับไตวายเรื้อรัง
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว