ไตวายเฉียบพลัน
ไตวายเฉียบพลันหมายถึงภาวะที่ไตไม่สามารถขับของเสียออกจากกระแสเลือด ทำให้มีการคั่งของของเสีย เกิดความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่ เมื่อของเสียคั่งถึงระดับหนึ่งจะเกิดอาการของไตวายเฉียบพลัน ภาวะไตวายเฉียบพลันมักจะเกิดอย่างรวดเร็วมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล
อาการของไตวายเฉียบพลัน
อาการและอาการแสดงของไตวายเฉียบพลันได้แก่
- ปัสสาวะออกน้อย
- มีอาการคั่งของน้ำซึ่งจะมีการบวมเท้า จ้อเท้า และขา
- หายใจเหนื่อย
- อ่อนเพลีย
- สับสน
- คลื่นไส้อาเจียน
- อ่อนแรง
- ใจสั่น ชัก หมดสติ
สาเหตุของโรคไตวายเฉียบพลัน
หลักใหญ่ๆที่ทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน
- เลือดไปเลี้ยงไตลดลง
- มีความเสียหายที่ไต
- มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
เลือดไปเลี้ยงไตลดลง
- เสียเลือด หรือสูญเสียน้ำ เช่นถ่ายเหลวหรืออาเจียน
- ได้ยาลดความดันโลหิตมากไป
- หัวใจวาย
- การติดเชื้อ โลหิตเป็นพิษ
- ตับวาย
- ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS
- ผิวถูกไฟไหม้ มีการสูญเสียน้ำเหลือง
มีความเสียหายที่ไต
มีทั้งเกิดจากโรค สารเคมี ยา ที่ทำลายเนื้อไต
- มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง
- มีไขมันอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต
- ไตอักเสบ
- การติดเชื้อ
- โรค SLE
- ยาที่ใช้รักษา เช่นการให้เคมีบำบัด ยาปฏิชีวนะบางชนิด การฉีดสีสำหรับการตรวจพิเศษ
- โรคหนังแข็ง
- สารพิษ เช่นสุรา โลหะหนัก
- กล้ามเนื้อสลาย rhabdomyolysis
มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
มีการอุดหรือขวางทางเดินปัสสาวะ เช่นมะเร็งมีการแพร่กระจายอุดท่อไต
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไตวาย
โรคไตวายเฉียบพลันมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเช่น
โรคแทรกซ้อนของไตวายเฉียบพลัน
- เมื่อไตวายจะมีการคั่งของน้ำซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมปอด ผู้ป่วยจะหายใจหอบ เหนื่อย
- แน่นหน้าอกเนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากเกลือแร่เสียสมดุล
- ไตวายเรื้อรัง
- เสียชีวิต
การป้องกันไตวายเฉียบพลัน
- การซื้อยารับประทาน เช่น aspirin, ibuprofen ,naproxen sodium,พาราเซต โดยเฉพาคนที่มีโรคไตอยู่ หรือคนที่เป็นโรคเบาหวาน
- รักษาโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดไตวายเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ออกกำลังกาย ทานอาหารสุขภาพ
การวินิจฉัยโรคไตวายเฉียบพลัน
- การตวงปริมาตรของปัสสาวะใน 24 ชั่วโมงเพื่อติดตามปริมาณปัสสาวะ
- การตรวจปัสสาวะเพื่อหาความผิดปกติ
- การตรวจเลือดเพื่อหาค่า BUN Creatinin
- การตรวจทางรัสี เช่น การตรวจ ultrasound CT scan
- ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องเจาะชิ้นเนื้อไตตรวจ
การรักษาไตวายเฉียบพลัน
ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันจะต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลซึ่งมีหลักการรักษาดังนี้
- รักษาโรคที่เป็นสาเหตุของไตวายเฉียบพลัน
- รักษาโรคแทรกซ้อนจนกระทั่งไตกลับสู่ปกติ โรคแทรกซ้อนที่พบได้แก่
- รักษาน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย หากไตวายเนื่องจากสูญเสียน้ำ การรักษาจะต้องเติมน้ำเกลือ หากเสียเลือดจะต้องเติมเลือด แต่ต้องระวังภาวะน้ำเกินเนื่องจากไตวายเฉียบพลันอาจจะมีการคั่งของน้ำ หากให้มากไปหรือเร็วเกินไปอาจจะเกิดน้ำท่วมปอด
- หากเกลือโปแตสเซี่ยมสูงจะต้องให้ยา
- รักษาภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ
- การล้างไตเพื่อล้างเอาของเสียออกจากร่างกาย
การปรับวิถีชีวิต
หากผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะไตวายเฉียบพลันไตก็จะเริ่มกลับสู่สภาพที่เคยเป็น ในระยะนี้แพทย์จะแนะนำการรับประทานอาหารเพื่อลดการทำงานของไต
- เลือกอาหารที่มีเกลือโปแตสเซี่ยมต่ำเช่น แอปเปิล ดอกกระหล่ำ องุ่น สตอเบอร์รี่ อาหารที่มีเกลือโปแตสเซี่ยมสูงได้แก่ กล้วย ส้ม มะเขือเทศ มันฝรั่ง
- งดอาหารเค็ม
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงเช่น ธัญพืชถั่ว
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว