ภาวะปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
Incontinence
สมัยเด็กๆมักจะได้ยินคำว่าปัสสาวะราด
ซึ่งมักจะพบในผู้หญิงสูงอายุและมักจะมีบุตรหลายคน
ภาวะนี้เป็นภาวะที่ปัสสาวะออกโดยไม่ได้ตั้งใจหรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้นั้นเอง
บางท่านเวลาไอหรือจามก็มีปัสสาวะออกมา
บางท่านเข้าห้องน้ำไม่ทัน
เป็นปัญหาก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไม่กล้าเดินทาง
มีปัญหาเรื่องการจ้างงาน
และทางสังคม
นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดปัญหาโรคแทรกซ้อนเช่น
ผื่น ผิวหนังอักเสบ
ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
นอกจากนั้นยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายเรื่องผ้าอ้อม
น้ำหอม
กลไกการปัสสาวะ
ไตทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดของเสียดังกล่าวคือปัสสาวะนั้นเอง
ปัสสาวะจะไหลจากไตไปสู่ท่อไต
ureter ไปสู่กระเพาะปัสสาวะ bladder
กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เก็บปัสสาวะและบีบตัวไล่ปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะโดยมีวาล์วกั้นมิให้ปัสสาวะไหลกลับ
สาเหตุของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- สาเหตุการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ชนิดชั่วคราว
เมื่อรักษาสาเหตุอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ก็จะหายไป
สาเหตุได้แก่
- สาเหตุถาวรที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้แก่
- กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง
- กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรง
- หูรูดท่อปัสสาวะอ่อนแรง
- ต่อมลูกหมากโต
- ผลจากการขาดฮอร์โมน
- โรคทางระบบประสาทเช่นอัมพาตท่อนล่าง
การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีกี่ชนิด
- Stress incontinence
เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดมักจะพบในผู้ป่วยผู้หญิงที่มีอายุและมีบุตรหลายคนเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการยืดและอ่อนแรง
ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกเมื่อไอ
จาม หัวเราะ
หรือกิจกรรมที่เพิ่มความดันหน้าท้องเช่นการเป่าลูกโป่ง
- Urge incontinenceผู้ป่วยไม่สามารถอั้นปัสสาวะได้นานพอ
เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะจะถ่ายทันทีทำให้เข้าห้องน้ำไม่ทัน
อาจจะถ่ายปัสสาวะทุก 2
ชั่วโมง
- Mixed incontinence
เป็นภาวะเกิดร่วมทั้งสองอย่าง
- Overflow incontinence
ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาไม่สามารถปัสสาวะออกเช่นโรคต่อมลูกหมากโต
หรือโรคทางเส้นประสาทเช่นโรคเบาหวานผู้ป่วยมักจะมีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะรู้ได้โดยการคลำพบก้อนที่หัวเหน่า
ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะไหลกระปริดกระปอยผู้ป่วยจะปัสสาวะครั้งละไม่มาก
หลังปัสสาวะจะรู้สึกว่ายังปัสสาวะไม่หมด
ใช้เวลาปัสสาวะนานแต่ปัสสาวะออกน้อย
- Unconscious or reflex incontinence
มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาท
- Functional incontinence
ผู้ป่วยพวกนี้อาจจะมีโรคทำให้เคลื่อนไหวช้าเช่นข้อเสื่อมทำให้ไปห้องน้ำไม่ทัน
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยคงต้องอาศัยประวัติแยกให้ได้ว่าการกลั้นปัสสาวะเป็นชนิดใด และอาจจะต้องพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อประเมินและรักษา
การรักษาแบ่งได้เป็น
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
Behavioral
จะต้องสอนผู้ป่วยให้เปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง
- Bladder
training
เป็นฝึกกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะใช้กับผู้ป่วยที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ชนิด
Urge incontinence
ให้ผู้ป่วยปัสสาวะเป็นเวลาเช่นทุกหนึ่งชั่วโมงเมื่อทำได้ดีค่อยเพิ่มเวลาจนนานพอตามต้องการ
- ผู้ป่วยที่เป็น
stress incontinence ให้ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงทำวันละ
30-80 ครั้ง
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะ
เช่น กาแฟ สุรา
การรักษาวิธีนี้ไม่มีโรคแทรกซ้อน
- การใช้เครื่องมือ
องค์การอาหารและยาของสหรัฐได้รับรองเครื่องมือ
2 ชนิดในการรักษา stress incontinence
เป็นเครื่องมือที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งโดยสอดเครื่องมือเข้าไปในท่อปัสสาวะแล้วฉีดลมเข้าในท่อซึ่งจะป้องกันปัสสาวะเล็ดออกมา
เมื่อจะปัสสาวะก็เอาลมออกและปัสสาวะ
ข้อเสียคือมีการติดเชื้อบ่อย
- การรักษาด้วยยาใช้ได้กับชนิด
Urge incontinence โดยให้ยา anticholinergic
ข้อเสียคือปากแห้ง ตามัว
ท้องผูก
- การรักษาโดยการผ่าตัด
วิธีการผ่าตัดขึ้นกับชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ต่อมลูกหมากโตก็ผ่าตัดต่อมลูกหมาก
- stress incontinenceก็ผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน