ภาวะเกลือโซเดี่ยมในเลือดต่ำ
เป็นภาวะที่มีเกลือโซเดี่ยม Sodium ในเลือดน้อยกว่า 135 mEq/L ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ภาวะที่มีเกลือโซเดี่ยม ในเลือดต่ำยังทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่นแรงเป็นตะคริว ภาวะที่มีเกลือโซเดี่ยม ในเลือดต่ำยังทำให้เกิดอาการทางสมองได้แก่ซึม ชัก หรือหมดสติ
ภาวะเกลือโซเดี่ยมในเลือดต่ำ
เป็นภาวะที่มีปริมาณ Sodium น้อยเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ ค่าปรกติของ Sodium เท่ากับ 135-145 mEq/L หากเจาะเลือดแล้วต่ำกว่า 135 mEq/L จะถือว่ามี Sodium ต่ำกว่าปรกติ
- อาจกินโซเดียม หรือกินอาหารเค็มน้อยเกินไป ซึ่งตามปกติมักเกิดในกรณีนี้ได้น้อยมาก
- อาจเกิดโรค Addison's disease มีต้นเหตุจากต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมน "aldosterone" และฮอร์โมน "corticosteroid" ไม่เพียงพอ ก็จะมีผลต่อมาทำให้ไตดูดกลับโซเดียมไม่ได้เต็มที่ จนทำให้โซเดียมสูญเสียไปกับน้ำปัสสาวะ ทำให้ปรากฏพบค่าโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
- อาจเกิดจากอาการอาเจียน หรือท้องร่วงติดต่อกันนาน ทำให้โซเดียมสูญเสียไปกับของเหลว
- อาจเกิดจากการกินยาขับปัสสาวะ (ยาเพื่อลดความดันเลือดสูง)
- อาจมีเหตุสำคัญ หรือโรคของไตเอง ที่ดูดกลับโซเดียมไม่ได้อย่างที่ควรกระทำ
อาการของผู้ที่มโซเดี่ยมในเลือดต่ำ
อาการที่สำคัญของโซเดี่ยม Sodium ในเลือดต่ำที่สำคัญได้แก่
- คลื่นไส้อาเจียน
- ปวดศีรษะ
- สับสน
- ไม่มีเรี่ยวแรง
- อ่อนเพลียง่าย
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ชัก
- ไม่รู้สึกตัว
สาเหตุของโซเดี่ยมในเลือดต่ำ
- ยาบางชนิดทำให้เกลือ Sodium ในเลือดต่ำ
- โรคตับแข็ง
- ยาที่ทำให้เกลือกโซเดี่ยมต่ำ
- ยาขับปัสสาวะ
- ยากันชัก Carbamazepine (Tegretol)
- ยาโรคจิตเวช Chlorpromazine (Thorazine)
- Vasopressin analogs
- ยาลดความดันโลหิต Indapamide (Natrilix)
- ยาแก้ซึมเศร้า Selective serotonin reuptake inhibitors
- ยาแก้โรคหอบ Theophylline
- ยาแก้หัวใจเต้นผิดปกติ Amiodarone (Cordarone)
- Ecstasy (3,4-methylenedioxymethamphetamine)
- Hyponatremiaโรตไตที่ไม่สามารถขับน้ำออกจากร่างกาย
- โรคหัวใจวายมีการคั่งของน้ำ และเกลือแร่
- Syndrome of inappropriate anti-diuretic hormone (SIADH) ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนนี้มากทำให้มีการคั่งของน้ำ
- ดื่มน้ำมากในขณะออกกำลังกาย เนื่องจากขณะออกกำลังกายจะเสียเกลือมากกว่าน้ำ ดังนั้นหากดื่มน้ำมากจะทำให้เกลือในเลือดต่ำ
- ต่อมหมวกไตทำงานน้อย (Addison's disease)ทำให้สร้างฮอร์โมนออกมาน้อย
- ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyroidism)
- ผู้ที่มีอาการอาเจียน หรือถ่ายเหลวเรื้อรัง
- ร่างกายขาดน้ำอย่างมาก
- รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำเกินไป
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะโซเดี่ยมในเลือดต่ำ
- อายุ พบว่าผู้ที่มีเกลือต่ำมักจะเป็นผู้สูงอายุ
- ผู้ที่รับประทานยาโดยเฉพาะยาที่ทำให้เกิดเกลือต่ำ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาแก้ปวด
- โรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคตับ โรคหัวใจวาย
- อาหาร หากรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำประจำ
- ออกกำลังกายมากเกินไป
- สภาพอากาศที่ร้อนมาก
โรคแทรกซ้อน
ขึ้นกับระยะเวลาที่เกิดอาการ หากเกิดภาวะเกลือโซเดี่ยมในเลือดต่ำแบบเฉียบพลันอาจจะทำให้เกิดสมองบวม มีอาการชัก และเสียชีวิตได้ ส่วนรายที่เป็นเรื้อรังเกลือค่อยๆลด กลุ่มนี้โรคแทรกซ้อนไม่มาก
การวินิจฉัยโรคนี้
เจาะเลือดหาระดับโซเดี่ยมในเลือด
การรักษา
การรักษาโดยมากจะเริ่มต้นที่สาเหตุ และแก้ที่ต้นเหตุ เช่นหากรับประทานเกลือน้อยเกินไปก็อาจจะเพิ่มเกลือในอาหาร หรือหากเกิดจากยาก็ต้องลดหรือหยุดยา แต่หากเกลือ Sodium ในเลือดต่ำมาก(น้อยกว่า 120 )และเกิดอาการก็จำเป็นต้องรักษา
- การให้น้ำเกลือที่มีเกลือโซเดี่ยม
- การให้ยารักษาอาการ เช่น อาการปวดศีรษะ อาการคลื่นไส้อาเจียน
- การให้ฮอร์โมนทดแทนในกรณีที่ขาดฮอร์โมน
เกลือ ภาวะโซเดี่ยมต่ำ ภาวะโซเดี่ยมสูง