ท่าการฝึกโยคะหรืออาสนะ


ท่าการฝึกโยคะ

การออกกำลังกายเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงในปัจจุบัน อาจจะอาศัยการออกกำลังโดยการวิ่งหรือว่ายน้ำ

การออกกำลังบางชนิดก็อาศัยเครื่องมือช่วยเช่นการใช้รถจักรยาน การวิ่งบนสายพานเป็นต้น แต่การออกกำลังกายของโยคะ หมายถึงการบริหารให้กล้ามเนื้อแข็งแรงแล้วยังเป็นการบริหารจิตใจ และจิตวิญาณให้มีพลัง

การฝึกท่าโยคะเรียก Asanas เป็นการฝึกท่าโยคะและค้างท่านั้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง การฝึกโยคะจะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงประสาทไขสันหลังเพิ่ม การฝึกโยคะจะทำให้การทำงานของต่อมต่างๆรวมทั้งต่อมไร้ท่อทำงานดีขึ้น

ท่าของการฝึกโยคะเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะ และมีการสอดคล้องกับการหายใจเป็นการรวมกายและจิตร่วมกัน การฝึกท่าโยคะจะเป็นการฝึกประสาท ความยืดหยุ่น ความแข็งแรง การทรงตัว ลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ สุขภาพจิตและสุขภาพกายดีขึ้น ท่าที่ใช้สำหรับการฝึกโยคะมีมากมาย แต่จะแบ่งท่าการฝึกดังนี้ ท่าที่เป็นหลักในการฝึกโยคะมีดังนี้

 

  1. Corpse Pose (shava-âsana)—
  2. Forward Bend (pashcîmottâna-âsana)
  3.  Back Bend or Cobra (bhujanga-âsana)
  4. Sitting Twist (mâtsyendra-âsana)
  5. Mountain Pose (pârvata-âsana)—for cultivating stability
  6. Tree Pose (vriksha-âsana)—an excellent exercise for improving your sense of balance
  7. Standing Forward Bend (pâda-hasta-âsana)
  8. Standing Side Bend or Triangle (trikona-âsana)
  9. Warrior's Pose (vîra-bhadra-âsana)
  10. Shoulder stand (sarvânga-âsana)
  11. Plough (hala-âsana)
  12. Adept's Pose (siddha-âsana)—a favorite posture for meditation

ท่ายืน

คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการยืน บางคนลงน้ำหนักส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้า แอ่นพุ่งไปข้างหน้า หลังโก่งทำให้เสียทรวดทรง การฝึกโยคะในท่ายืนจะช่วยลดอาการปวดหลัง และทำให้ทรวดทรงดีขึ้น คลิกอ่านที่นี่

ท่ากลับศีรษะลง เท้าชี้ขึ้น

การฝึกท่านี้จะทำให้เลือดไปเลี้ยงศีรษะเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องระวังในคนที่อ้วน ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน การฝึกท่าเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ผู้ที่มีความดันสูงหรือต่ำ ผู้ที่เป็นต้อกระจกไม่ควรฝึกท่าเหล่านี้ คลิกอ่านที่นี่

ท่านั่ง

การฝึกท่านั่งมีด้วยกันหลายท่า มีตั้งแต่ง่ายจนยาก ท่านไม่จำเป็นต้องทำทุกท่า ควรจะเลือกท่าที่เหมาะสมกับตัวเอง คลิกอ่านที่นี่

ท่านอนหงาย

ท่านอนหงายเป็นท่าทำได้ไม่ยาก การฝึกจะทำให้ได้ผลดีต่อร่างกาย กระตุ้นอวัยวะในช่องท้อง ลดอาการปวดประจำเดือน ลดอาการปวดหลัง อ่านที่นี่

ท่านอนคว่ำ

ท่านอนคว่ำมีวิธีเริ่มต้นอาจจะแตกต่างกัน บางท่าเริ่มจากนอนคว่ำ บางท่าเริ่มจากการคลาน แต่โดยรวมลำตัวต้องอยู่ในท่าคว่ำ คออาจจะเงย ก้มลงหรือขนานกับพื้น จะมีประโยชน์ในการทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งรง อ่านที่นี่