การตั้งครรภ์เดือนที่ 9
การเจริญและการพัฒนาของทารก
ช่วงนี้สมองเด็กจะเจริญเติบโตเร็วมาก เด็กจะเจริญอย่างรวดเร็ว ปอดเด็กเจริญเต็มที่พร้อมที่จะคลอด หัวเด็กจะกลับลงพร้อมคลอด ภูมิคุ้มกันจากแม่จะเข้าสู่ลูก เด็กจะเคลื่อนไหวมากขึ้น ปอดแข็งแรงมาก เด็กจะยาวประมาณ 20 นิ้ว หนัก 2.5-4 กิโลกรัมช่วงอายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์เด็กสามารถคลอดได้ตลอดเวลา ขนและไขตามตัวจะหลุดออกจากตัว เด็กจะกลืนน้ำคร่ำ และถ่ายออกมาดำที่เรียกว่า meconium
ระยะนี้คุณแม่ จะรู้สึกอึกอัดเพราะเด็กตัวโต และดันกระเพาะ และกำบังลมทำให้แน่นท้องหายใจตื้นและเร็ว อาจจะมีอาการจุกเสียดหน้าอก และท้องผูก
อาการคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 9 เดือน
อาการของคุณแม่ไม่ต่างจากการตั้งครรภ์ 8 เดือน
- อาการปวดหลังเนื่องจากขนาดมดลูกที่ใหญ่ขึ้น
- มีมูกสีขาวไหลออกมาทางช่องคลอด (Mucus Plug) โดยมักเริ่มไหลออกมาก่อนการคลอดประมาณ 2 สัปดาห
- ปวดจุกหัวเหน่าเนื่องจากเด็กเคลื่อนมาในช่องเชิงกราน
- คุณแม่จะหายใจสะดวกขึ้น เด็กดิ้นน้อยลงเนื่องจากเด็กเคลื่อนเข้มาในช่องเชิงกราน
- ข้อเท้าและเท้าบวม แต่หากสังเกตว่ามีอาการบวมอย่างฉับพลัน หรือบวมตำแหน่งอื่นร่วมด้วยอย่างมือ ใบหน้าและรอบดวงตา น้ำหนักขึ้นผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
- อ่อนเพลีย
- ท้องผูกเนื่องจากหัวเด็กกดลำไส้ใหญ่
- ปัสสาวะบ่อย
- อาการท้องลดหรือตำแหน่งหน้าท้องของคุณแม่ลดต่ำลง เนื่องจากทารกเริ่มเคลื่อนตัวลงมาใกล้บริเวณกระดูกเชิงกรานมากขึ้น คุณแม่จะเริ่มหายใจได้สะดวกขึ้น แต่อาจรู้สึกปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน รู้สึกถึงแรงกดที่บริเวณท้อง และปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ปวดท้องหลอก
- ปวดหลัง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ และฝันร้ายจากความวิตกกังวลในช่วงใกล้คลอด
อาการเตือนใกล้คลอด
ในระยะนี้เด็กพร้อมที่จะคลอดได้ตลอดเวลา คุณแม่ต้องจดเบอร์โทรศัพท์ของแพทย์ที่ดูแลท่านไว้ให้ใกล้โทรศัพท์ หรือในตำแหน่งที่หยิบง่าย และอาจจะต้องจดเบอร์โทรของโรงพยาบาลที่ใกล้ คุณแม่ต้องของคำแนะนำจากแพทย์ว่าเมื่อไรจึงจะต้องรีบเข้าโรงพยาบาล เกิดอาการอะไรบ้างที่ต้องแจ้งแพทย์ ช่วงนี้อาจจะมีอาการปวดท้องเตือนซึ่งจะแตกต่างจากอาการปวดท้องคลอดจริงดังนี้
- อาการปวดท้องจะสม่ำเสมอ วิธีการตรวจคือเมื่อเริ่มปวดท้องให้คุณนับหรือจับเวลาตั้งแต่เริ่มปวดท้องจนปวดท้องครั้งต่อไป จะพบว่าอาการปวดจะมาอย่างสม่ำเสมอ
- ในหนึ่งชั่วโมงปวดมากกว่า 5 ครั้ง
- แต่ละครั้งปวดนาน 30-70 วินาที
- หากคุณเคลื่อนไหวจะปวดมากขึ้น
หากมีอาการดังกล่าวให้รีบแจ้งแพทย์
สำหรับท่านที่มีอาการปวดท้องเตือน ท่านต้องเฝ้าดูอาการดังต่อไปนี้
- เลือด หรือน้ำออกจากช่องคลอดหรือไม่
- มดลูกหดเกร็งตลอดเวลา
- ปวดหลังตลอดเวลาไม่หาย
- รู้สึกว่าเด็กไหลลงช่องคลอด
- มีไข้
- ปวดศีรษะ
- ตาพร่ามัว
หากคุณแม่ไม่แน่ใจ ให้โทรปรึกษาแพทย์ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะได้อธิบายอาการได้อย่างถูกต้อง และรับฟังคำแนะนำ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ตั้งครรภ์
ระยะนี้แพทย์จะนัดตรวจทุกสัปดาห์ วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะ ตรวจภายในวัดขนาดของมดลูก ความสูงของมดลูก และตรวจว่าปากมดลูกเปิดหรือยัง แพทย์จะถามเรื่องความถี่และความแรงของอาการมดลูกบีบตัว
การคลอดใช้เวลานานเท่าไร
ครรภ์แรกจะใช้เวลาประมาณ 15 ชั่วโมงแต่อาจจะนานถึง 20 ชั่วโมง กระบวนการคลอดแบ่งออกเป็นสามระยะ
- ระยะที่1เริ่มตั้งแต่เริ่มปวดท้องคลอดจนกระทั่งปากมดลูกเปิดเต็มที่และปากมดลูกบาง
- ระยะที่2เริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิดเต็มที่จนกระทั่งตัวเด็กโผล่ออกมา ใช้เวลาเป็นนาทีจนเป็นชั่วโมง
- ระยะที่3เริ่มตั้งแต่ตัวเด็กคลอดออกมาจนกระทั่งรกคลอดออกมา
เตรียมเรื่องห้องและเครื่องแต่งตัว
ควรจะเตรียมเรื่องที่นอน ห้อง เสื้อผ้า
เครื่องใช้สำหรับเด็กให้เรียบร้อย สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมอาจจะถามแพทย์ พยาบาล
หรือคนที่มีประสบการณ์จะได้ไม่ตกหล่น
- ซื้อหรือยืมเสื้อผ้าเด็กเตรียมไว้ก่อน และควรจะมีเสื้อผ้าที่ซักสะอาดพร้อมใช้ซัก 2-3 ชุด
- เตรียมตะกร้าเก็บผ้าเด็กสัก 2-3 ใบ
- เตรียมซื้อผ้าอ้อมสำหรับเด็กสัก 1-2โหลควรจะใช้ขนาดใหญ่
- เตรียมซื้อผ้าอ้อมที่ใช้แล้วทิ้งซัก 1-2 กล่อง ต้องเลือกซื้อขนาดสำหรับทารก
- ที่นอนเด็ก บางคนอาจจะเลือกเบาะธรรมดา บางคนเลือกเตียงสำหรับเด็ก แล้วแต่ความชอบหรือถนัด
- ผ้าห่ม
- แป้งทาตัวเด็ก
- สำลีสำหรับเช็ดทำความสะอาดก้น และควรจะมีกระปุกสำหรับใส่สำลี
- cotton bud สำหรับทำความสะอาดหู
- กรรไกรตัดเล็บเด็ก ถุงมือเด็ก
- อ่างสำหรับอาบน้ำ
- สบู่ แชมพู
- แอลกอฮอล์สำหรับเช็ดรอบสะดือ
- ขวดนม ควรจะมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
- หัวนมมีทั้งขนาด s-l ต้องเลือกให้เหมาะกับวัย เด็กโตก็ใช้เบอร์l
- แปรงล้างขวดนม น้ำยาล้างขวดนม
- เครื่องนึ่งทำความสะอาดขวดนม
การเตรียมตัวเข้าโรงพยาบาล
ให้เตรียมกระเป๋าก่อนครบวันคลอดสัก 2
สัปดาห์ซึ่งต้องมีอุปกรณ์ดังนี้
- ชุดนอน
- ชุดใส่กลับบ้าน
- ชุดชั้นใน
- แปรสีฟัน ยาสีฟัน หวี แป้ง
- ชุดเด็กสำหรับใส่กลับบ้าน
การตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 33 34 35 36 37 38 39 40