การตั้งครรภ์เดือนที่ 8 อาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์ 8 อาการ

การตั้งครรภ์เดือนที่8 จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ อาหารที่คุณแม่ต้องรับประทาน อาหารที่ต้องหลีกเลี่ยง อาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์ 8 อาการ อาการเตือนการคลอดก่อนกำหนด สิ่งที่ต้องระวัง

เนื้อหาในหน้านี้

  1. การพัฒนาการของทารก
  2. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่
  3. อาหารที่คุณแม่ต้องรับประทาน
  4. อาหารที่ต้องหลีกเลี่ยง
  5. อาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์ 8 อาการ
  6. อาการเตือนการคลอดก่อนกำหนด
  7. สิ่งที่ต้องระวังระหว่างตั้งครรภ์8เดือน

การเจริญและการพัฒนาของทารกเดือนที่ 8

การตั้งครรภ์เดือนที่ 8 ร่างกายของทารกยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกระดูก ผิวหนัง สมอง ตับ ไต หัวใจ และปอด เด็กยังคงเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว กระดูกแข็งแรงขึ้น ผิวจะเจริญเหมือนคนปกติ สมองพัฒนาเต็มที่ เส้นประสาททำงานได้เต็มที่ ตุ่มรับรสเริ่มทำงาน เด็กจะรับแสง เสียง และความเจ็บปวด ถ้าเป็นเด็กชายอัณฑะจะ เคลื่อนจากช่องท้องลงถุงอัณฑะ เด็กช่วงนี้จะยาว 35 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม

ตั้งครรภ์8เดือน

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงเดือนนี้ คือ ทารกจะกลับหัว ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญว่าทารกกำลังพร้อมที่จะออกมาดูโลกแล้ว

สิ่งที่สำคัญ คือ คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจครรภ์จากแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ตั้งครรภ์เดือนที่ 8

ในช่วงนี้คุณแม่อาจยังต้องเผชิญกับอาการคนท้องเหมือนในช่วงเดือนก่อนหรืออาจพบอาการบางอย่างเพิ่มมากขึ้น

เช่น อาการปวดหัว รู้สึกร้อนตามร่างกาย อ่อนเพลีย ท้องผูก กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก ปวดสะโพก ปัสสาวะบ่อย ปัญหาด้านการนอนหลับ และอาการเจ็บครรภ์เตือน ในช่วงท้ายของเดือนอาจเริ่มพบว่ามูกใสบริเวณช่องคลอดมีปริมาณมากขึ้น ร่วมกับอาการเท้าและข้อเท้าบวม ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป

 

การเปลี่ยนแปลงร่างกายของคุณแม่ในช่วงท้อง 8 เดือน

ใกล้คลอดแล้ว ขนาดมดลูกก็มีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้เกิดอาการต่างๆในช่วงการตั้งครรภ์ 8 เดือน

  • หายใจลำบาก เนื่องจากขนาดมดลูกที่ใหญ่จะดันกำบังลมทำให้หายใจลึกๆลำบาก แก้ไขโดยการนอนหัวสูง
  • ริดสีดวงทวาร เนื่องจากมีปริมาณเลือดมากทำให้หลอดเลือดที่ทวารโป่งพอง นอกจากนั้นขนาดมดลูกที่ใหญ่ก็กดหลอดเลือดทำให้เลือดไหวเวียนกลับน้อยลงเกิดริดสีดวงทวาร การแก้ไขให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมากเช่นผัก ดื่มน้ำให้พอ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ประคบน้ำอุ่น
  • เส้นเลือดขอดที่เท้าซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดน่อง วิธีแก้ไข ให้นอนยกเท้าสูง ไม่นั่งไขว่ห้าง หรือใส่ซับพอต
  • ตะคริวที่น่องซึ่งมักจะเกิดไตรมาศของการตั้งครรภ์ การป้องกันให้มีการยืดกล้ามเนื้อก่อนเข้านอน
  • อ่อนเพลีย เดือนนี้คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อย เนื่องจากขนาดของมดลูก การพักผ่อนไม่พอ การแก้ไขให้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และออกกำลังกายซึ่งจะทำให้การนอนหลับดีขึ้น
  • ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากศีรษะเด็กกดทับกระเพาะปัสสาวะ
  • ความเครียด จะมีความกังวลเรื่องการคลอด วิธีชีวิตหลังคลอด การเลี่ยงทารก การแก้ไขต้องปรึกษากับผู้ใหญ่ และเรียนรู้วิธีการดูแลทารกระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาล
  • การเจ็บท้องหลอกอาการท้องแข็งหรืออาการเจ็บครรภ์เตือนหรือที่เรียกว่าBraxton Hicks contractions

    เป็นอาการที่ทำให้เกิดอาการเกร็งที่ท้องและทำให้ท้องแข็ง พบได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์และจะเกิดบ่อยขึ้นในไตรมาสที่ 3 ทำให้คุณแม่เข้าใจผิดและตกใจว่าตนเองกำลังจะคลอดจึงรีบไปพบแพทย์จึงต้องแยกแตกต่างระหว่างเจ็บครรภ์เตือน และเจ็บครรภ์คลอดหากมีอาการเจ็บท้องแบบสม่ำเสมอและรุนแรงขึ้นแสดงว่าอาจจะมีการคลอดก่อนกำหนด

  • อาการบวม เนื่องจากการไหลเวียนไม่ดี หรือเกิดจากมีการคั่งของน้ำและเกลือ หากมีอาการบวมจะต้องปรึกษาแพทย์
  • มีอาการตกขาวเป็นมูกขาวๆเพิ่มเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
  • คุณแม่บางคนอาจจะมีน้ำนมไหลออกมา หัวนมจะคล้ำขึ้น
  • ผิวหน้าท้องมีรอยแตกท้องลาย


ในภาพรวมของช่วงท้อง 8 เดือน น้ำหนักตัวคุณแม่จะมากขึ้นก่อนการตั้งครรภ์ราว 10‒15 กิโลกรัมตามสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้น และช่วงเดือนนี้เองจะเป็นช่วงที่ท้องของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ที่สุดในการตั้งครรภ์ เพราะปริมาณน้ำคร่ำที่สูงขึ้น

แต่หลังสัปดาห์ที่ 34 คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าท้องอาจดูคล้อยลง ซึ่งเป็นสัญญาณว่าทารกเริ่มเคลื่อนตัวเข้ามาในช่องเชิงกราน คุณแม่อาจหายใจได้สะดวกขึ้นเนื่องจากทารกเคลื่อนตัวเข้าช่องเชิงกราน

การตรวจครรภ์ในเดือนที่ 8 แพทย์จะตรวจสุขภาพของทั้งทารกและคุณแม่ สำหรับทารก แพทย์จะประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์และขั้นตอนอื่น ๆ เพื่อตรวจการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อ อัตราการเต้นของหัวใจ และพัฒนาการอื่น ๆ

สำหรับคุณแม่ แพทย์จะตรวจสุขภาพทั่วไปและจะตรวจหาเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสกรุ๊ปบี (Group B Strep) ซึ่งเป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจแพร่ไปสู่ทารกเมื่อคลอดออกมาได้

ท้อง 8 เดือน คุณแม่ควรดูแลตนเองอย่างไรบ้าง?

เชื่อว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาคุณแม่ดูแลตนเองและลูกน้อยครรภ์มาเป็นอย่างดี สำหรับการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 8 อาจมีวิธีการดูแลตนเองบางอย่างที่คุณแม่ควรโฟกัสมากขึ้น เช่น

อาหารที่คนตั้งครรภ์8เดือนควรจะรับประทาน

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 8 เดือนจะต้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารดังต่อไปนี้

  • แคลเซี่ยม เพื่อให้กระดูกเด็กแข็งแรงโดยแนะนำให้รับประทานแคลเซี่ยมวันละ 1000 มิลิกรัมต่อวัน โดยเพื่มอาหารผักใบเขียว ขนมปัง นมสด
  • รับประทานกรดโฟลิกวันละ 600 mcg เพื่อป้องกันพิการทางสมอง อาหารที่มีกรดโฟลิกมากได้แก่ ผักใบเขียว ถั่ว ผลไม้รสเปรี้ยว
  • ฐาตุเหล็กเพื่อให้เด็กไปสร้างเม็ดเลือดแดงแนะนำให้รับประทานวันละ 27 มิลิกรัมต่อวัน อาหารที่มีฐาตุเหล็กมากได้แก่ ธัญพืช ผักใบเขียวผลไม้ ถั่วปลาซาร์ดีน เนื้อแดง
  • ส้ม ผักสีเหลืองเช่น แครอท ผักใบเขียว ตับ นม เพื่อให้วิตามินเอ ปกติทารกต้องการวันละ 770mcg
  • ปลาแซลม่อน และนม เพื่อวิตามินดี เพื่อความแข็งแรงของกระดูกทารกจะต้องการแคลเซี่ยมวันละ 600IU
  • โปรตีน เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ และสมองโดยให้รับประทานเนื้อแดง ไก่ เป็ด นม อาหารทะเล ถั่ว นม
  • วิตามินซี เพื่อฟัน เหงือกที่แข็งแรงซึ่งพบในอาหารผลไม้หวาน มะเขือเทศ ผัก

อาหารที่คนตั้งครรภ์8เดือนควรจะหลีกเลี่ยง

  • อาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก เช่นปลาดิบ ลาบ น้ำตก เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ไม่ควรดื่มกาแฟเกินวันละ 200-300 mgต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงปลาที่มีสารตะกั่วได้แก่ swordfish, tilefish, mackerel,และฉลาม
  • หลีกเลี่ยงนมและชีสที่ไม่ผ่านขบวนการ pasteurized
  • หลีกเลี่ยงอาหารทอดหรือรสจัดเพราะจะทำให้จุกเสียดท้อง

อาการต้องรีบปรึกษาแพทย์

  1. เลือดออกทางช่องคลอด
  2. ปวดท้อง
  3. มีไข้สูง
  4. ปัสสาวะสีเข้ม ปวดแสบเวลาปัสสาวะ
  5. อาเจียนมากหรือต่อเนื่อง
  6. เวียนศีรษะ
  7. เลือดกำเดาไหลไม่หยุด
  8. ปวดศีรษะรุนแรง
  9. ปวดน่องไม่หาย

อาการเตือนคลอดก่อนกำหนด

  • มีการบีบตัวของมดลูกมากกว่า 5ครั้งต่อชั่งโมง หรือบีบตัวทุก10นาที
  • มีอาการปวดท้องเหมือนปวดประจำเดือน
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีปริมาณตกขาวมากขึ้น
  • มีน้ำออกทางช่องคลอด
  • ปวดท้องดดยที่ไม่มีท้องร่วง
  • ปวดท้องน้อย

หากมีอาการดังกล่าวให้ปรึกษาแพทย์ อาการเตือนคลอดก่อนกำหนด

สิ่งที่ต้องระวังสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 8 เดือน

  • อย่ายืนเป็นเวลานาน
  • บันทึกการดิ้นของทารก หากไม่รู้สึกว่าทารกดิ้นให้ลองทดลองรับประทานของหวาน ของหวานจะกระตุ้นให้เด็กดิ้น
  • หยุดบุหรี่ และสุรา
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาความสะอาดของช่องปาก
  • รับประทานอาหารมื้อเล็ก
  • ไม่ควรยกของหนัก
  • ให้เดินออกกำลังกาย และบริหารช่องเชิงกราน
  • ไม่ซื้อยารับประทานเอง
  • เลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย เลือกรองเท้าส้นเตี้ยและใส่สบาย
  • ไม่เลี้ยงแมวเพราะจะทำให้เกิดโรค toxoplasmosis
  • หลีกเลี่ยงสารเคมี

การตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 30 31 32

เดือนที่7 เดือนที่9