หน้าหลัก | สุขภาพดี
| สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27
การเปลี่ยนแปลงตัวคุณแม่
- ขนาดมดลูกจะโตขึ้น โดยยอกมดลูกอยู่ใกล้กับชายโครงจะทำให้คุณแม่รู้สึกหายใจลำบาก
- คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยง่าย และง่วงนอนเนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การหายใจเร็ว การอดหลับอดนอนทำให้อยากนอนเวลาทำงาน
- คุณแม่จะอุ้ยอ้ายมากขึ้น เดินแบบเป็ด อึดอัด
- ถ่ายไม่สะดวก มีริดสีดวงทวารเกิดขึ้น
- เจ็บท้องเป็นบางครั้ง เป็นการเจ็บเตือนเป็นการบีบตัวของมดลูกเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดที่เรียกว่า Braxton-Hicks contraction
- บางคนมีอาการคัดจมูก ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมน ที่หลั่งในกระบวนการตั้งครรภ์
- เจ็บคัดเต้านมเนื่องจากเต้านมมีขนาดเพิ่มขึ้น
- คุณแม่อาจจะเกิดอารมณ์กังวลไปต่างๆนาๆ เรื่องการคลอด หน้าตารูปร่างของทารก การดูแลทารก การทำงานหลังคลอด
- มือเท้าจะบวมเนื่องจากมีการสร้างเลือดเพิ่มขึ้น และมดลูกกดหลอดเลือดดำใหญ่ เมื่อเท้าบวม หาม้านั่งเตี้ยๆ มาวางเอาไว้ใต้โต๊ะ วางเท้าบนม้านั่ง ยกเท้าให้สูงเอาไว้ อาการบวมที่ข้อเท้าจะทุเลาลงค่ะ ถ้าอยู่บ้านก็นั่งเก้าอี้โยก โยกช้าๆ เป็นการออกกำลังกาย ข้อเท้า และขาจะล้าท่านจะต้องเลือกรองเท้าให้เหมาะกับขนาดเท้าที่เพิ่มขึ้น สำหรับท่านที่ต้องเดินทางไกลๆควรจะแวะพักระหว่างทาง และเดินยืดเส้นยืดสาย
- ขี้ร้อน
- ปวดหลังแล้ว
- คุณแม่อาจจะเป็นตะคริวที่ขาได้ง่ายกว่าปกติ และมักจะเป็นตะคริวช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวันเวลาเกิดตะคริวให้เหยียดขาให้ตึงตั้งแต่ขา จนถึงปลายนิ้วเท้าให้มากที่สุด หลังจากนั้นก็อาจจะเปลี่ยนมาเป็นเดินให้เลือดหมุนเวียนขึ้น แล้วก็ นวดเบาๆ หรือประคบด้วยความร้อน อ่านเรื่องตะคริว
- มีเส้นเลือดขอด หรือริดสีดวงทวาร
- ทารกเริ่มจะหลับและตื่นเป็นเวลา เมื่อตื่นทารกก็จะมีการเตะซึ่งจะทำให้คุณแม่นอนไม่หลับ
- สำหรับท่านจะเดินทางช่วงนี้ท่านยังสามารถเดินทางได้โดยเฉพาะทางเครื่องบินซึ่งยังไม่ต้องใช้ใบรับรอง (หากอายุครรภ์มากกว่า36สัปดาห์จะต้องใช้ใบรับรอง)
อาการของคุณแม่
- มีก๊ายในท้องมาก เนื่องจากมดลูกกดลำไส้ใหญ่ และผลจากฮอร์โมนทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวลดลงจึงทำให้ท้องอืดมีก๊าซมาก แนวทางแก้ไขให้แบ่งรับประทานหกมื้อ
- มีอาการแสบท้องจุกแน่นบริเวณปี่ หรือที่หน้าอกระหว่างตั้งครรภ์ (Heartburn) สาเหตุมาจากกรดไหลย้อน กรดที่หลั่งออกมามักไหลย้อนขึ้นมาที่บริเวณทรวงอกเมื่อนอนราบกับพื้น แนวทางแก้ไขมีดังนี้
- รับประทานอาหารมื้อเย็นเร็วขึ้นกว่าเดิม และอย่ารับประทานอาหารทุกชนิดก่อนเข้านอน 2-3 ชั่วโมง
- ดื่มนมสักแก้วก่อนนอน
- พยายามนอนยกหัวให้สูงหรือใช้หมอนหนุนโดยอาจใช้หมอน2-3 ใบหนุนหลังและคอของคุณ
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- และอย่ารับประทานยารักษาอาการอาหารไม่ย่อยใดๆ โดยไม่ได้ปรึกษากับสูติแพทย์
- หน้ามืดเป็นลม เนื่องจากมดลูกกดหลอดเลือดดำใหญ่ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองไม่พอ แก้ไขโดยการดื่มน้ำให้เพียงพอ
- คัดจมูก เนื่องจากฮอร์โมน estrogen และ progesterone ระดับสูงทำให้เกิดอาการคัดจมูกโดยเฉพาะเวลานอน
- มีอาการปวดขาโดยเฉพาะเวลานอน แก้ไขโดยการออกกำลังโดยการยืดเส้น หรือโยคะ
- ปวดหัวเหน่า Symphysis pubis dysfunction (SPD) เนื่องจากฮอร์โมนทำให้เอ็นมีการหย่อนซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวด ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่าน
- เลือดออกตามไรฟันพบบ่อยเนื่องจากฮอร์โมนทำให้เหงือกบวมเลือดออกง่าย และติดเชื้อได้ง่าย เวลาแปรงฟันต้องแปรงลิ้นด้วยเพื่อลดเชื้อแบคทีเรีย
- การเปลี่ยนแปลงผิวหนัง ขน และผม
- ผิวคุณแม่จะคล้ำขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นโดยจะเริ่มจากฝ้า กระ ไฝ หน้าท้อง อาการดังกล่าวจะหายไปหลังคลอด
ลูกในท้อง
- ลืมตา หลับตา ทารกลืมตาได้มากขึ้น สามารถมองเห็นแสงที่ผ่านมาทางหน้าท้องคุณแม่
- ลูกจะดูดนิ้ว ทารกฝึกการดูดเป็นการฝึกเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูดนมแม่หลังคลอด
- ทารกยาว 36 เซนติเมตร หนัก 800 กรัม
- ผิวหนังสีชมพู แต่ยังเหี่ยวย่น เพราะว่ามีไขมันใต้ผิวหนังน้อย ผิวหนังจะถูกเคลือบด้วยไขมันที่เรียกว่า Vernix ซึ่งทำหน้าที่เป็นชั้นกั้นน้ำคร่ำ
- ทารกในครรภ์ จะตัวใหญ่ ดิ้น แตะ ยืดตัว จนบางครั้งเห็นเป็นก้อนนูนแหลม เคลื่อนไหวที่หน้าท้องแม่
- กระดูกของลูกจะแข็งแกร่งขึ้น รูปร่างของทารกยังคงไม่ได้สัดส่วนอยู่เพราะศีรษะยังคงเล็กกว่าตัว
- สมองของทารกจะสั่งให้หายใจ รูจมูกของทารกเปิดแล้ว
- ลูกน้อยของคุณจะเริ่มได้รับภูมิต้านทานโรคจากภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดผ่านสายสะดือ ภูมิต้านทานโรคนี้จะได้รับการกระตุ้นจากการให้ลูกกินนมแม่และสามารถคุ้มกันโรคจนลูกน้อยมีอายุ 2-3 เดือน
- ช่วงนี้หน้าตาของเจ้าตัวเล็กจะเริ่มคล้ายกับหลังคลอดมาก
- สมองเด็กจะมีการพัฒนามากในช่วงนี้ สมองเริ่มมีรอยยัก
- ระบบหายใจของทารกมีการพัฒนาสมบูรณ์ขึ้นกล่าวคือมีถุงลม หลอดเลือดไปเลี้ยงถุงลม และสมองสามารถควบคุมการหายใจ ทารกทารกจะสะอึกเนื่องจากเด็กหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าปอด และหายใจเอาน้ำคร่ำออกจากปอด
การปฏิบัติตัวของคุณแม่
- ช่วงนี้คุณแม่ต้องขยันไปพบคุณหมอหน่อยนะคะ เพราะช่วงนี้เป็นเดือนที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดสูง และใครที่ยังไม่ได้วางแผนการคลอดก็ต้องเริ่มสนใจได้แล้วค่ะ อาจจะขอความคิดเห็นจากคุณหมอ เป็นส่วนประกอบด้วยก็ได้ค่ะ
- เรื่องของอุบัติเหตุเป็นเรื่องใหญ่ต้องระวังในสัปดาห์นี้ เพราะคุณแม่อายุครรภ์ช่วงนี้ จะมีปัญหาเกี่ยวกับการหกล้มได้บ่อยครั้ง เนื่องจากเสียสมดุลในการทรงตัว ร่วมกับภาวะข้อต่อหลวมกว่าปกติ การหกล้มมักจะเป็นการล้มแบบเอาหน้าลง เนื่องจากน้ำหนักมดลูกที่ค่อนข้างมากจะถ่วงให้ล้มไปทางด้านหน้า รู้อย่างนี้แล้ว เวลาจะลุกจะนั่งก็ต้องระวังตัวเป็นพิเศษนะคะ
- สำหรับท่านที่มีรถจะต้องเลือก car seat สำหรับทารก
- เราก็ยิ่งคิดฝันวางแผนว่าถ้าคลอดเขาออกมาแล้วจะใช้ชีวิต กันแบบไหนดี จะเลี้ยงดูเขาแบบไหน เราสามคนพ่อแม่ลูกจะเป็นอย่างไร หรือบางคนอาจคิดว่าถ้า จะมีเจ้าตัวเล็กคนเดียวจะทำหมันไปเลยดีมั้ย ถ้าคิดจะทำจะได้ปรึกษาคุณหมอตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้ วางแผนกันต่อว่าจะทำหมันตอนไหนได
- ท่านจะต้องเรียนรู้การคลอดอาการเตือนว่าอาจจะมีการคลอดกำหนด การดูแลทารก
- เตรียมห้องพักสำหรับทารก อุปกรณ์ที่จำเป็นเช่น เตียงนอน ผ้าอ้อม สำลี เตียงนอน อุปกรณ์สำหรับทารก