หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ทารกจะมีความยาวประมาณ 35 เซ้นติเมตรหนักประมาณ 1.2 กิโลกรัม
ตอนนี้ทารกมีไขมันมาสะสมตามร่างกายมากขึ้นทำให้ดูตัวกลมขึ้น ผิวหนังถูกปกคลุมด้วยไขสีขาวที่ช่วยปกป้องผิวหนังจากน้ำคร่ำ ผมยาวขึ้น ขนตามตัวยาวขึ้น มีขนคิ้วและขนตาหากคลอดทารกในตอนนี้ ทารกยังมีโอกาสรอดชีวิตได้สูงภายใต้การดูแลพิเศษในโรงพยาบาล
สมองได้มีการพัฒนาขนาดโตตั้งแต่สัปดาห์ที่ 28 เริ่มมีรอยหยัก และมีชั้นไขมันที่ปกคลุมเส้นประสาททั้งหมดเอาไว้ สมองมีการพัฒนาส่วนที่จะใช้คิดคำนวณ และตอนนี้ทารกสามารถรู้สึกเจ็บ ร้องไห้ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยเสียง หรือแสง ทารกจะตอบสนองโดยการลืมตา
ปอดมีการพัฒนามีการสร้างสาร Surfactant ซึ่งเป็นสารหล่อลื่นมิให้ปอดแฟม สารนี้จะมีมากพอเมื่อคลอดครบกำหนด แต่หากคลอดก่อนกำหนดมากๆ สารดังกล่าวไม่เพียงพอเด็กที่เกิดมาจะมีอาการหายใจลำบาก
ทารกได้ยินเสียง แต่เสียงดัง เช่นโรงงานหรือเสียงดนตรีจะทำให้หัวใจเด็กเต้นเร็ว
เนื่องจากปริมาณน้ำคร่ำมีน้อยลง และเด็กตัวโตขึ้นทำให้เมื่อเด็กพลิกตัว หรือดิ้นจะทำให้คุณแม่รู้สึกได้ดีขึ้น
ยอดของมดลูกอยู่เหนือสะดือ 8 เซ็นติเมตร น้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มขึ้น 7-10 กิโลกรัมขนาดของมดลูกที่โตขึ้นจะดันกระเพาะอาหารขึ้นไป หากคุณแม่รับประทานอาหารแล้วแน่นท้องมาก ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆอีกครั้ง
อาการบวมตามมือและเท้าเกิดขึ้นเป็นปกติ เพราะร่างกายสะสมน้ำไว้มาก อาจจะสังเกตได้จากแหวนที่คับมากขึ้น เท้าที่ใหญ่ขึ้นอาจจะมีบวมหลังเท้า
ผิวหนังของคุณแม่เกิดอาการแพ้ง่าย เมื่อถูกแสงแดดมากๆจะเกิดฝ้า อาจมีผื่นขึ้น หรือเป็นสิว แต่ถ้าหากเป็นมากควรไปปรึกษาแพทย์ผิวหนัง
หัวใจคุณแม่ต้องทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี่ยงร่างกาย รก และทารก ทำให้หัวใจคุณแม่เต้นเร็วขึ้น 10-15 ครั้งต่อนาที
นมของคุณแม่ยังคงมีขนาดใหญ่ขึ้น อาจจะมีน้ำนมสีเหลืองไหลออกมาเล็กน้อย แต่ต้องระวังเพราะการกระตุ้นนมเพราะจะทำให้มดลูกบีบตัว และเกิดการคลอดก่อนกำหนด
อาการปวดหลังของคุณแม่จะเป็นมากขึ้นโดยเฉพาะการตั้งครรภ์เดือนหลังๆ ซึ่งอาจจะปวดร้าวลงขา บางครั้งอาจจะเกิดจากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ดังนั้นคุณแม่เมื่อเวลายกของต้องระวัง
การนอนให้นอนตะแคงจะทำให้รู้สึกสบายกว่านอนหงาย เพราะมดลูกไม่ได้กดหลอดเลือดในท้อง เมื่อคุณแม่จะเริ่มลุกจากเตียงลำบากขึ้น ให้นอนตะแคงก่อนแล้วใช้มือช่วยดันตัวขึ้นมา
สิ่งที่คุณแม่ต้องทราบ