ครรภ์เป็นพิษ Preeclamsia

ครรภ์เป็นพิษคืออะไร

ครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะที่ผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด ซึ่งส่งผลต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ ภาวะนี้พบได้ประมาณร้อยละ 5-8 ของการตั้งครรภ์ หากเกิดครรภ์เป็นพิษจะเกิดความดันโลหิตสูง หลังเท้าบวม ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ อาการมีทั้งเป็นน้อยจนกระทั่งในรายรุนแรงทำให้เกิดปัญหากับแม่ ซึ่งอาจจะเสียชีวิตได้ ภาวะนี้มักจะเกิดหลังการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด การฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ทราบโรคนี้ตั้งแต่เริ่มเป็น


ครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษเกิดได้อย่างไร

ยังไม่ทราบสาเหตุแต่พบว่ามักเกิดในคนที่ตั้งท้องแรก โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งครรภ์แผด หรือมีโรคอยู่เช่นโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง โรคไตโรคเบาหวาน

สาเหตุของครรภ์เป็นพิษ

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ เท่าที่มีหลักฐานเชื่อว่าเกิดจากรกมีการสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดของแม่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ

สาเหตุครรภ์เป็นพิษ

อาการของครรภ์เป็นพิษ

ในรายที่เป็นไม่มากอาจจะไม่มีอาการแพทย์จะให้การวินิจฉัยเมื่อตรวจพบว่า

  1. ความดันโลหิตสูง
  2. บวมที่หลังเท้าหรือหน้า
  3. ตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะ

อาการของครรภ์เป็นพิษมีอะไรบ้าง

  • ไม่มีอาการ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
  • บวมหลังเท้า
  • น้ำหนักขึ้นอย่างเร็ว
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้องหรือปวดไหล่
  • ปวดเอว
  • ปวดศีรษะ
  • ตามัว
  • Hyperrefexia
  • อาการอื่นๆ

อาการครรภ์เป็นพิษ

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษได้แก่

  • สตรีตั้งครรภ์แรกหรือตั้งครรภ์แรกกับคู่สมรสใหม่
  • สตรีตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
  • ระยะห่างของการตั้งครรภ์ ห่างจากครรภ์ก่อนมากกว่า 10 ปี

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ

การวินิจฉัยโรคครรภ์เป็นพิษ

การวินิจฉัยไม่ยากเพียงแค่พบ

  • ความดันโลหิตสูง
  • หลังเท้าบวม
  • ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ

เมื่อวินิจฉัยได้จะต้องมีการตรวจพิเศษเพื่อติดตามโรคอ่านการวินิจฉัยโรคครรภ์เป็นพิษ

การรักษา

  • แพทย์จะให้ท่านพักผ่อน เวลานอนจะให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อมิให้มดลูกกดเส้นเลือดใหญ่
  • แพทย์จะนัดตรวจบ่อยขึ้น
  • ถ้าอาการเป็นมากแพทย์จะแนะนำให้นอนโรงพยาบาล และให้ยาลดความดันโลหิต
  • ในรายที่รุนแรงแพทย์อาจจะยุติการตั้งครรภ์

อาการอะไรบ้างที่ต้องรีบไปพบแพทย์

  • ตามัว
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง
  • น้ำหนักเกินอย่างรวดเร็ว

การรักษาโรคครรภ์เป็นพิษ

โรคแทรกซ้อนของครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษมีภาวะแทรกซ้อนทั้งมารดาและทารก ทางด้านมารดาอาจจะทำให้เกิด เสียชีวิต มักเกิดจากมีเลือดออกในสมองจากหลอดเลือดในสมองแตก เกิดอาการชัก ตาบอด อาจเป็นชั่วคราว ด้านทารกอาจจะเกิด มีภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ มีภาวะน้ำคร่ำน้อย ส่งผลให้ทารกถูกกดเบียดทับจากน้ำหนักมารดา ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตผิดปกติได้ มีการคลอดก่อนกำหนด

โรคแทรกซ้อนครรภ์เป็นพิษ

การป้องกันความดันโลหิตสูงในคนตั้งครรภ์

่เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ หรือเมื่อเตรียมตั้งครรภ์ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้โดยมีวิธีการดังน

  • งดอาหารเค็ม
  • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
  • งดสุรา งดกาแฟ
  • ยกเท้าสูงเวลานั่งหรือนอน
  • รับประทานอาหารเพื่อคุณภาพโดยลดมัน เพิ่มโปรตีน
  • ฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์

ครรภ์เป็นพิษแบ่งออกเป็นกี่ชนิด? อะไรบ้าง?

ครรภ์เป็นพิษแบ่งตามความรุนแรงเป็น 2 ชนิด คือ

  1. ชนิดรุนแรงน้อย คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษโดยมีความดันโลหิตสูงไม่เกิน 160/110 มม.ปรอท หรือมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน หรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น เกล็ดเลือดต่ำ ไตวาย และทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
  2. ชนิดรุนแรงมาก คือ ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 160/110 มม.ปรอท หรือมีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 2 กรัมต่อวัน หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ไตวาย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักขณะตั้งครรภ์โดยที่ไม่เคยมีอาการชักมาก่อนตั้งครรภ์ (Eclampsia) และอาจเกิดภาวะเลือดออกในสมองจนมีอันตรายต่อชีวิตได้

เพิ่มเพื่อน