หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ในการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีอาการ dyspepsia หรือไม่แพทย์จะอาศัยการวินิจฉัยโดยอาศัยอาการเป็นหลัก โดยจะต้องแยกโรคที่พบบ่อยเช่น
ออกจากภาวะนี้เนื่องจากแนวทางในการวินิจฉัยและรักษาโรคเหล่านี้แตกต่างไปจากภาวะ dyspepsia
ผู้ป่วย dyspepsia แยกจาก GERD อาจมีอาการแสบร้อนที่หน้าอกได้คล้าย GERD แต่มักมีอาการของ dyspepsia เป็นอาการเด่น ในขณะที่ผู้ป่วย GERD มักมีอาการแสบร้อนหน้าอก (heartburn) และอาการเรอเปรี้ยว (acid regurgitation) เป็นอาการเด่น ส่วนอาการอื่น ๆ ของ dyspepsia สามารถพบร่วมด้วยแต่มักไม่รุนแรง เท่าอาการของ heartburn และ acid regurgitation
Dyspepsia สามารถแยกจาก IBS ได้โดย IBS มักมีอาการของทางเดินอาหารส่วนล่าง หรือลำไส้ร่วมด้วย เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ปวดบริเวณท้องส่วนล่าง และอาการปวดท้อง หรืออึดอัดแน่นท้องนี้มักแย่ลงสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระที่เปลี่ยนไป อาการมักดีขึ้นหลังการถ่ายอุจจาระ
Dyspepsia แยกจากภาวะ biliary colic ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องรุนแรงบริเวณลิ้นปี่ หรือชายโครงขวา มีเพียงส่วนน้อยที่ปวดบริเวณชายโครงซ้าย อาจมีปวดร้าวไปหลังค้านขวา หรือหัวไหล่ข้างขวาได้ อาการปวดมักปวดตลอดเวลา ส่วนใหญ่มักปวดอยู่นาน เป็นชั่วโมง (1-4 ชั่วโมง) แต่ในบางรายอาจมีอาการปวดอยู่เพียงไม่กี่นาทีได้ ผู้ป่วยอาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องหลังจากรับประทานอาหารประมาณ 15 นาที -2 ชั่วโมง แต่ในบางรายอาการปวดท้องอาจไม่สัมพันธ์กับการรับประทานอาหารก็ได้
ในการวินิจฉัยภาวะ dyspepsia ผู้ป่วยที่ตรวจ ultrasound แล้วพบนิ่วในถุงน้ำดีไม่ได้หมายความว่าอาการ dyspepsia นั้นเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการของ biliary colic การตัดถุงน้ำดีออกในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักไม่ทำให้อาการ dyspepsia หายไป แต่จะทำให้ปัญหายุ่งยากมากขึ้นในการรักษาอาการ dyspepsia เนื่องจากผู้ป่วย dyspepsia มักมีปัญหา visceral hypersensitivity และ underlying psychiatric problem ทำให้มีปัญหา scar pain หรืออาการของ dyspepsia แย่ลง
Dyspepsia มักไม่ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง ยกเว้น มีภาวะแทรกซ้อนจากสาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดอาการ dyspepsia เช่น complicated peptic ulcer ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยปัญหาปวดท้องมาก โดยเฉพาะการมีอาการเป็นครั้งแรกควรคิดถึงสาเหตุของอาการปวดท้องที่เป็นสาเหตุของโรคปวดท้องเฉียบพลัน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์
การตรวจเพื่อวินิจฉัยแยกโรคจะต้องพิจารณาเป็นรายๆตามความเหมาะสม
อาการอาหารไม่ย่อย | การตรวจพิเศษ |