หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
โรคฝีคัณฑสูตร (Anal fistula หรือ Fistula-in-ano) คือ โรคที่ด้านในของทวารหนักเกิดมีรูขึ้นมา ซึ่งรูนี้เป็นเส้นทางที่จะไปเชื่อมต่อกับผิวหนังภายนอกบริเวณแก้มก้นและทวารหนัก สาเหตุหลักเกิดจากการเป็นฝีที่ทวารหนัก หรือแผลรอบทวารหนักมาก่อน พบว่าผู้ป่วยที่มีฝีที่ทวารหนักจะมีโรคฝีคัณฑสูตรประมาณร้อยละ50
โรคฝีคัณฑสูตรพบได้ในทุกเชื้อชาติ โดยอัตราการเกิดโรคประมาณ 9 คนต่อประชากร 1 แสนคน เพศชายพบมากกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยกลางคนไปถึงจนถึงผู้สูงอายุ
ฝีคัณฑสูตรเกิดได้อย่างไร
โรคฝีคัณฑสูตร คือ เกิดจากการติดเชื้อของต่อมภายในทวารหนัก ทำให้มีเชื้อแบคทีเรีย อุจาระ และของเสียหมักหมมเกิดเป็นฝีหนอง หนองที่มีปริมาณมากขึ้นก็จะค่อยๆเซาะไปตามชั้นของกล้ามเนื้อของทวารหนัก
ทะลุมาชั้นของผิวหนังที่อยู่บริเวณรอบๆทวารหนัก จนกระทั่งหนองแตกทะลุออกสู่ภายนอก กลายเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างช่องในทวารหนักกับผิวหนัง เรียกว่า Fistulaสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดเป็น Fistula นอกจากการเป็นฝีแล้ว ได้แก่
อาการของโรคฝีคัณฑสูตร
ผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตร จะมีอาการ
ช่องทางเชื่อมต่อนี้ บางครั้งอาจเกิดการอุดตันและติดเชื้อขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นฝีหนอง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการบวมและปวดมากที่บริเวณแก้มก้นหรือขอบรู/ปากทวารหนัก หรืออาจมีอาการปวดข้างในทวารหนัก มักมีไข้ร่วมด้วย ฝีหนองเหล่านี้ในที่สุดก็จะเซาะออกสู่ภายนอกผ่านทางผิวหนังบริเวณใกล้รูทวารหนัก ซึ่งอาจเป็นการเซาะมาตามรูเดิม หรือเซาะไปตามทางใหม่ก็ได้ ดังนั้นในผู้ป่วยบางคนอาจมีเส้นทางเชื่อมต่อออกสู่ภายนอกได้หลายทาง แต่ส่วนใหญ่จะมีรูเปิดด้านใน (ภายใน) ของทวารหนักเพียงรูเดียว
การแบ่งชนิด
การแบ่งชนิดของ fistula in ano มีความสำคัญต่อการเลือกการรักษา แต่ปัญหาก็คือการแบ่งชนิดจากคนไข้จริงไม่ได้ง่ายเหมือนในภาพวาด การแบ่งชนิดได้ดีต้องอาศัยประสบการณ์ของศัลยแพทย์ มากกว่าจะมีหลักการตายตัว วิธีที่เป็นที่ยอมรับคือวิธีของ Parks แบ่งเป็น 4 ชนิดดังนี้ Park classification
a and b=Intersphincteric fistula c=Transphincteric fistula d=Suprasphincteric fistula e=Extrasphincteric fistula |
---|
1.Intersphincteric fistula เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เริ่มต้นจากการอักเสบที่ต่อมผลิตเมือก แล้วกลายเป็นฝีหนอง abscess ที่บริเวณ intersphincteric space (คือบริเวณที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อหูรูดชั้นในและชั้นนอก) ถ้าเซาะลงล่างไปทางปากทวารหนัก หรือได้รับการเซาะของหนอง ก็จะเกิดเป็น fistula.ที่บริเวณใกล้ปากทวาร อาจคลำได้เป็น tract แข็งๆชี้เข้าไปทางรูเปิดด้านในด้วย ลักษณะของ fistula ชนิดนี้ ฝีคัณฑสูตรชนิดนี้สา มารถใช้นิ้วตรวจคลำหาได้ค่อนข้างง่าย
2.Transphincteric fistula พบบ่อยรองลงมาจากชนิด intersphincteric fistula ชนิดนี้หนองจะเซาะผ่านทั้ง internal และ external sphincter ก่อนจะแตกออกมาสู่ผิวหนังด้านนอก ความสูงของ tract ต่างๆกันจึงทำให้อาจคลำได้หรือคลำไม่ได้ tract จากทางด้านนอกก็ได้ การใช้นิ้วตรวจคลำหาเส้นทางของฝีชนิดนี้จะทำได้ค่อนข้างยาก
3.Suprasphincteric fistula พบได้น้อย fistula จะเซาะตาม intersphincteric space ขึ้นสูงไป supralevator space จากนั้น fistula tract จะกัดเซาะทะลุผ่าน levator ani ลงมาแตกออกที่ผิวหนังเป็น external opening ดังนั้น fistula ชนิดนี้จะ involve กล้ามเนื้อหูรูดทั้งหมดที่มีอยู่ การคลำตรวจหาเส้นทางของฝีชนิดนี้ทำได้ค่อนข้างยากเช่นกัน
4.Extrasphincteric fistula เป็นชนิดที่พบได้น้อย อาจเกิดจาก transphincteric fistula ที่กัดเซาะทะลุ levator ani ผ่าน supralevator space แล้วแตกเข้าสู่ rectum นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น traumta, rupture diverticulitis, inflammatory bowel disease เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคฝีคัณฑสูตร
ประวัติ:ผู้ที่เป็นโรคนี้จะให้ประวัติมีหนองหรือน้ำเหลืองไหล หรือเลือด หรืออุจาระ ออกมาที่ผิวหนังรอบทวารหนัก ทำให้เกิดอาการคัน รู้สึกระคายเคือง ปวดเวลาถ่ายอุจาระ
การตรวจ: ตรวจผิวหนังใกล้ๆกับทวารหนักเพื่อหาตุ่มนูน สีออกแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1 เซ้นติเมตร ซึ่งเป็นรูเปิด และอาจจะตรวจพบมีหนองหรือน้ำเหลืองไหลเมื่อบีบ ร่วมกับการสอดนิ้วมือเข้าไปตรวจในทวารหนัก เพื่อหารูเปิดภายในของทวารหนัก และทิศทางของช่องทางเชื่อมต่อ การกดและรูดช่องทวารหนักอาจจะช่วยให้น้ำเหลืองไหลซึมออกมาสังเกตุได้ง่ายขึ้น
การตรวจพิเศษ:
รักษาโรคฝีคัณฑสูตร
การรักษาโรคฝีคัณฑสูตร แบ่งออกเป็น
แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการต้องให้การรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งมีหลายเทคนิควิธี ได้แก่
โรคแทรกซ้อนของโรคฝีคัณฑสูตร
ความรุนแรงและผลข้างเคียงของฝีคัณฑสูตร คือ
ผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตรควรพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
ผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตรควรพบแพทย์เมื่อ
การป้องกันโรคฝีคัณฑสูตร คือ