ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

 

ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

อายุมากขึ้นความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมก็เพิ่มขึ้น

อายุของคุณ โอกาสเกิดมะเร็งเต้านมใน 10 ปีข้างหน้า หรือ 1 ใน
20 0.05% 2,152
30 0.40% 251
40 1.45% 69
50 2.78% 36
60 3.81% 26
70 4.31% 23
  1. โอกาศเกิดมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะหากอายุมากกว่า 50 ปี
  2. พันธุกรรม มีข้อมูลบ่งชี้ว่า ปัจจัยพันธุกรรม เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่
  • มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง เช่น แม่ พี่ น้อง
  • มีประวัติเป็นมะเร็งในญาติพี่น้องหลายคน
  • ประวัติการเกิดมะเร็งตั้งแต่อายุน้อยในครอบครัว
  • การเกิดมะเร็งเต้านมทั้งสองข้าง

ดังนั้นหากท่านมีก้อนที่เต้านมและมีประวัติครอบครัวดังกล่าวโอกาสเกิดมะเร็งก็สูงขึ้น

  1. ปัจจัยเกี่ยวกับฮอร์โมน ที่พบว่าอาจจะมีความสัมพันธ์ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงขึ้นได้แก่
  • การมีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว (Early menachy) คือมีครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
  • หมดประจำเดือนช้ากว่าปกติคือหมดหลังอายุ 55 ปี
  • ไม่เคยมีบุตร
  • ไม่เคยมีน้ำนมหรือไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง
  • เคยได้รับฮอร์โมนจากภายนอกเช่น ยาคุมกำเนิดมากกว่า 10 ปี ได้รับการเสริมด้วยฮอร์ดมนเอสโตรเจน หรือ diethylstilbestrol หรือได้รับฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้มีการเจริญพันธ์
  • ได้รับฮอร์โมนทดแทนวัยทองมากกว่า 5 ปี
  1. ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นการได้รับรังสีที่ทรวงอกตั้งแต่เด็ก การดื่มสุราการบริโภคอาหารมัน หรือเนื้อแดง เป็นต้น
  2. ประวัติโรคอื่นๆที่เคยเป็น ได้แก่
  • เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
  • มีโรคที่เต้านมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะกลายมาเป็นมะเร็งเต้านมได้แก่ lobular carcinoma in situ, atypical hyperplasia, proliferative fibrocystic disease, มะเร็งรังไข่ และมดลูก(ovarian and endometrial cancer)
  • เคยตรวจ mamogram พบความเข้มของเนื้อเยื่อมากกว่า 75 %
  • การสูบบุหรี่
  • คนอ้วน
  • ดื่มสุรา

การประเมินว่าผู้หญิงคนใดจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยประวัติครอบครัว และหากประเมินแล้วความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเท่ากับประชาชน การเริ่มการตรวจคัดกรองจะเริ่มที่อายุ 50 ปี ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมจะแบ่งความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมเป็นสองระดับคือ

  • ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมปานกลาง
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูง

ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมปานกลาง

 

หลังจากประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมว่ามีโอกาศเกิดมะเร็งอยู่ในระดับปานกลาง ท่านจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจ mamogram โดยตรจปีละครั้ง สำหรับเกณฑ์ในการประเมินได้แก่

  • มีญาติสายตรงหนึ่งคนเป็นมะเร็งเต้านมอายุก่อน40 ปี(เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง)
  • มีญาติสายตรง 2 คนเป็นมะเร็งเต้านม อายุที่เป็นมะเร็งเต้านมหลัง 50 ปี
  • มีญาติสายตรงที่เริ่มเป็นมะเร็งเต้านมหลังอายุ 60 ปีจำนวน 3 คน

ควางเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูง

สำหรับผู้ที่มีประวัติครอบครัวที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะกล่าวต่อไปจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูง แต่ต้องเน้นว่า จำนวนผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมีเพียงน้อยกว่าร้อยละ1ที่จะเป็นมะเร็ง แต่เนื่องจากความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปจึงต้องติดตามใกล้ชิด

  • มีญาติสายตรง(พ่อ แม่ พี่ น้อง)หรือญาติสายรอง (ปู้ ย่า ตา ยาย อา น้า ป้า ลุง หลาน ลูกพี่ลูกน้อง)เป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 50 ปี
  • มีญาติสายตรงหรือสายรองจำนวน 3 คนที่เป็นมะเร็งเต้านมหลังอายุ 60 ปี(อย่างน้อยต้องมีสายตรง 1 คน)
  • มีญาติ 4 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
  • มีญาติสายตรงที่เป็นมะเร็งเต้านมทั้งสองข้าง และเกิดก่อนอายุ 50 ปี
  • มีญาติสายตรงหรือสายรอง 1 คนที่เป็นมะเร็งรังไข่ และมีญาติสายตรงหรือสายรอง 1 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม
  • มีญาติสายตรงหรือสายรองสองคนที่เป็นโรคมะเร็งรังไข

ปัจจัยอื่นๆที่อาจจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น

  • มีญาติที่เป็นมะเร็งเต้านมทั้งสองข้าง
  • มีญาติที่เป็นผู้ชายและเป็นมะเร็งเต้านม
  • มีญาติทางสายพันธ์ทางพ่อหรือแม่ที่มีทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่
  • เป็นชนชาติยิว
  • มีประวัติครอบครัวที่เด็กเป็นมะเร็งที่หายาก

คำแนะนำในการคัดกรองสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง

  • ผู้ที่อายุ 30-39 ควรตรวจคลำเต้านมตัวเองและอาจจะปรึกษาแพทย์ตรวจ
  • ผู้ที่อายุ40-49 ควารจะได้รับการตรวจ mamogram ปีละครั้ง
  • ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า50ปีให้ตรวจ mamogram ทุก 3 ปี เนื่องจากในกลุมอายุนี้สามารถตรวจมะเร็งได้ง่ายและการเติบโตของมะเร็งในกลุ่มอายุนี้โตช้า

กลับหน้าเดิม

เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม การคัดกรองมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เนื้องอกเต้านม ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม การคัดกรองมะเร็งเต้านม อาการของมะเร็งเต้านม การประเมินก่อนการรักษา ระยะของมะเร็งเต้านม การรักษามะเร็งเต้านม