siamhealth

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน | อาหารเพื่อสุขภาพ

มะเร็งเต้านม: รู้จักสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกันเพื่อสุขภาพของคุณ

โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งซึ่งอาจจะกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านมตัวเอง



มะเร็งเต้านม

เต้านม

 

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ จะมีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อน มะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว โดยหากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอ ตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอ ตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 และยังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาศรอดชีวิตสูง ก้อนขนาดเล็กก่อนที่จะรู้เรื่องมะเร็งท่านต้องทราบ

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับเต้านม

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม

สูบบุหรี่

ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกัน

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม ได้แก่:

  • เพศหญิง (พบในผู้ชายได้แต่ไม่บ่อย)
  • อายุ (เสี่ยงเพิ่มเมื่ออายุมากขึ้น)
  • ประวัติครอบครัว หรือพันธุกรรม (เช่น ยีน BRCA1/BRCA2)ประวัติการเกิดมะเร็งในครอบครัว และการเกิดมะเร็งเต้านมของตัวเอง
  • ฮอร์โมน เช่นอายุเริ่มต้นของการมีประจำเดือน อายุที่หมดประจำเดือน การมีบุตร การให้นมบุตร การใช้ยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานาน
  • วิถีชีวิต เช่น ความอ้วน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเคยได้รับการฉายรังสี ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือน้ำหนักเกิน

ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม

การตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะแรกเริ่ม

แมมโมแกรม

วิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง การตรวจหามะเร็งเต้านมมีหลายวิธีได้แก่

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

อาการของมะเร็งเต้านม

อาการแรกเริ่มของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมในระยะแรกอาจไม่มีอาการ แต่สามารถสังเกตได้จากความเปลี่ยนแปลงของเต้านม เช่น:

  • ก้อนที่เต้านมหรือรักแร้ ที่สัมผัสได้ มักไม่เจ็บปวดคลำได้ก้อนที่เต้านมหรือรักแร้
  • การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น ผิวบุ๋ม หนาขึ้น หรือคล้ายเปลือกส้ม
  • หัวนมผิดปกติ เช่น เจ็บ หรือหัวนมถูกดึงรั้ง หัวนมบอดหรือมีน้ำไหลออก (อาจเป็นเลือดหรือน้ำเหลือง)
  • ขนาดหรือรูปร่างเต้านมเปลี่ยน โดยไม่มีสาเหตุมีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านม
  • อาการเจ็บเต้านม แม้จะพบน้อยในระยะแรก

หากพบอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม โดยเฉพาะถ้ามีต่อเนื่องเกิน 2-3 สัปดาห์

อาการของโรคแทรกซ้อน

เมื่อมะเร็งเต้านมลุกลาม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น:

  • การแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น ปอด (หายใจลำบาก) กระดูก (ปวดกระดูก) หรือตับ (ดีซ่าน)
  • น้ำเหลืองอุดตัน (Lymphedema) ทำให้แขนบวมจากการผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง
  • แผลที่ผิวหนัง หากมะเร็งลุกลามถึงผิวชั้นนอก

 

ผิวหนังมะเร็งเต้านม

 

ก้อนที่เต้านม

การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม

การตรวจวินิจฉัยเริ่มจาก:

  1. การคลำเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self-Examination) เพื่อหาความผิดปกติ
  2. แมมโมแกรม (Mammogram) การถ่ายภาพรังสีเต้านมเพื่อหาจุดผิดปกติ
  3. อัลตราซาวด์ (Ultrasound) ใช้ตรวจก้อนว่าเป็นถุงน้ำหรือเนื้อแข็ง
  4. การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) นำเนื้อเยื่อไปตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
  5. MRI ใช้ในกรณีที่ต้องการภาพละเอียดเพิ่มเติม

การตรวจหลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง

การตรวจหลังจากทราบผลชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็งเต้านมจะเป็นการตรวจเพื่อประเมินว่ามะเร็งเต้านมอยู่ในระยะไหน มีการแพร่กระจายหรือยัง มะเร็งมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนหรือไม่ การตรวจเหล่านี้มีความสำคัญในการวางแผนการรักษา

การตรวจหลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง

ระยะของมะเร็งเต้านม

การประเมินระยะของมะเร็งเต้านมหมายถึงการประเมินว่าโรคมะเร็งมีการลุกลาม หรือมีแน้วโน้มที่จะลุกลามเร็วหรือไม่ การประเมินจะช่วยในการวางแผนการรักษา วิธีการประเมินมีด้วยกันสองวิธี

การประเมินระยะของมะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านม

การรักษาขึ้นอยู่กับระยะและชนิดของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพของผู้ป่วย วิธีหลัก ได้แก่:

  1. การผ่าตัด
    • ตัดก้อนมะเร็ง (Lumpectomy) หรือตัดเต้านมทั้งหมด (Mastectomy)
  2. รังสีรักษา (Radiation Therapy)
    • ใช้รังสีทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลือหลังผ่าตัด
  3. เคมีบำบัด (Chemotherapy)
    • ใช้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง เหมาะกับระยะที่ลุกลาม
  4. ฮอร์โมนบำบัด (Hormone Therapy)
    • ใช้ในมะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมน เช่น Tamoxifen
  5. การรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy)
    • เช่น Trastuzumab (Herceptin) สำหรับมะเร็งที่มี HER2-positive

 

การผ่าตัดมะเร็งเต้านม

 

การรักษาโรคมะเร็งเต้านม

มาป้องกันมะเร็งกันเถอะ

สาเหตุของมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่การปฎิบัติตัวที่ดีจะลดการเกิดมะเร็งเต้านม

 

การป้องกันมะเร็ง

เรื่องเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

ข้อคิดท้ายบท

มะเร็งเต้านมไม่ใช่เรื่องน่ากลัวหากตรวจพบเร็ว การตระหนักถึงความผิดปกติของร่างกายและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอคือกุญแจสำคัญที่ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลตัวเองและคนรอบข้างด้วยการเรียนรู้และปฏิบัติตามคำแนะนำง่ายๆ เหล่านี้ เพื่อให้เต้านมสุขภาพดีและชีวิตยืนยาว

มะเร็งเต้านม เนื้องอกเต้านม ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม การคัดกรองมะเร็งเต้านม อาการของมะเร็งเต้านม การประเมินก่อนการรักษา ระยะของมะเร็งเต้านม การรักษามะเร็งเต้านม