มะเร็งต่อมลูกหมาก prostate cancer
ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างน้ำเลี้ยงเชื้ออสุจิ คนอายุมากขึ้นต่อมก็อาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น มะเร็งเกิดจากเซลล์ที่เติมโตนอกเหนือการควบคุม มะเร็งต่อมลูหมากเป็นมะเร็งที่พบในผู้ชาย มะเร็งต่อมลูกหมากพบได้ในวัยสูงอายุผู้ป่วยมักจะมีอาการปัสสาวะไม่ออก

ตำแหน่งและหน้าที่ของต่อมลูกหมากคลิกดูได้ที่นี่
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากควรตรวจอะไรบ้าง
สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรจะปรึกษาแพทย์ว่าเมื่อไรจึงจะตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก แม้ว่าจะไม่มีอาการ จะตรวจอะไรบ้าง และตรวจถี่แค่ไหน แพทย์จะแนะนำให้ตรวจดังที่จะแสดงข้างล่าง แต่การตรวจดังกล่าวเป็นการตรวจว่ามีความผิดปกติที่ต่อมลูกหมากหรือไม่มิใช่บ่งว่าเป็นมะเร็ง
หากการตรวจดังกล่าวพบว่าผิดปกติก็จะต้องตรวจเพิ่มเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมากแรกเริ่มจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะเกิดอาการเหล่านี้
อาการต่างๆเหล่านี้อาจจะเกิดในผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตหรือต่อมลูกหมากอักเสบ
การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
เมื่อผู้ป่วยที่การตรวจเบื้องต้นสงสัยว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากแพทย์ทั่วไปจะปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อการวินิจฉัยต่อไปโดยทั่วไปนิยมตรวจ
เมื่อสงสัยเป็นมะเร็งแพทย์จะใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจทางพยาธิถ้าเป็นต่อมลูกหมากโตก็จะรักษาตามขั้นตอน
ชนิดของมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะเป็นชนิด adenocarcinomas ซึ่งเป็นเซลล์ที่สร้างน้ำเลี้ยงอสุจินอกจากนั้นก็อาจจะพบชนิดอื่นๆ
- Sarcomas
- Small cell carcinomas
- Neuroendocrine tumors
- Transitional cell carcinomas
มะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะโตช้า แต่มีบางชนิดที่โตเร็วและแพร่กระจายเร็ว
เซลล์ที่อาจจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
- เมื่อผลผ่าตัดชิ้นเนื้อแพทย์อาจจะรายงานผลออกมาเป็น Prostatic intraepithelial neoplasia (PIN) เป็นเซลล์ที่ผิดปกติแต่ไม่ลูกลามแบ่งออกเป็น
- Low-grade PIN:รูปร่างของเซลล์ส่วนใหญ่จะปกติ เซลล์ชนิดนี้อัตราการเกิดมะเร็งไม่
- High-grade PIN:เซลล์ต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะผิดปกติมีโอกาศที่จะเป็นมะเร็งร้อยละ 20
- เซลล์ชนิด Proliferative inflammatory atrophy (PIA) เซลล์จะมีขนาดเล็กและมีการอักเสบโดยรอบ เซลล์ไม่เป็นมะเร็งแต่จะกลายเป็นเซลล์ชนิดที่ 1
ระยะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
การวางแผนการรักษาจะต้องรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายหรือยังหรือยังอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก โดยจะต้องมีการตรวจเพิ่มเช่นการตัดชิ้นเนื้อจากทวารหนัก การ x-ray พิเศษ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ 1-4 หรือ A-D
การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมาก | การตรวจทั่วๆไป | การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกเริ่ม | ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก | การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก | อาหารป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก