หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การรักษาโรคมะเร็งรังไข่มีหลายวิธีขึ้นกับระยะของโรค สภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบไปด้วยแพทย์หลายแผนก เช่น สูตินรีแพทย์ แพทย์ทางรังสีรักษา แพทย์ทางเคมีบำบัด
เหตุผลของการผ่าตัด
การผ่าตัดผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่มีเหตุผลคือ
แพทย์จะผ่าตัดเอา มดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ ออก เรียกการผ่าตัดว่า hysterectomy with bilateral salpingo-oophorectomy และตัดต่อมน้ำเหลืองไปตรวจ ระหว่างการผ่าแพทย์จะส่งชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลือง และน้ำในช่องท้องไปตรวจเพื่อจะได้ทราบระยะของโรค หากพบว่ามะเร็งเริ่มแพร่กระจายในท้อง แพทย์จะผ่าเอาส่วนที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งออกให้มากที่สุดเพื่อที่จะให้การรักษาด้วยรัสีหรือเคมีได้ผลดีขึ้น
ผลเสียของการรักษาโดยการผ่าตัดในระยะแรกก็อาจจะปวดแผลบ้างแต่ก็บรรเทาโดยยาแก้ปวด ในระยะต่อมาเมื่อรังไข่ถูกตัดก็ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศ(estrogen,progesterone) ก็ทำให้ช่องคลอดแห้ง ร้อนตามตัวเกิดอาการของคนวัยทอง
คือการให้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งซึ่งยานี้ก็มีผลต่อเซลล์ปกติของร่างกาย
การให้เคมีบำบัดมีด้วยกัน 2 วิธีกล่าวคือ
ยาเคมีมีทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดซึ่งส่วนใหญ่ใช้ชนิดฉีด แต่ก็มีการให้เคมีเข้าช่องท้องซึ่งอยู่ในช่วงการทดลอง
หลังจากให้เคมีบำบัดแพทย์อาจจะผ่าเข้าช่องท้องเพื่อดูว่ามะเร็งถูกทำลายมากน้อยแค่ไหน หากมีมะเร็งหลงเหลือแพทย์จะผ่าตัดเอามะเร็งส่วนที่เหลือออก
ผลเสียของรักษาด้วยวิธีนี้ขึ้นกับชนิดของยา และปริมาณยา ผลข้างเคียงที่พบได้คือ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง เบื่ออาหาร ผมร่วง
แพทย์จะใช้รังสีฉายไปยังส่วนที่เป็นมะเร็งเพื่อทำลายมะเร็ง ผลเสียคืออ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ปัสสาวะลำบาก การให้รังสีรักษามีสองวิธีคือ
แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้รังสีในการรักษามะเร็งรังไข่
มะเร็งรังไข่ สาเหตุมะเร็ง อาการมะเร็งรังไข่ การรักษามะเร็งรังไข่