เชื้อดื้อยาเชื้อ


เชื้อดื้อยาหมายถึงเชื้อโรคที่พบมีการดื้อต่อยาที่เราใช้รักาษาเมื่อเราติดเชื้อดื้อยาจะทำให้ไม่มียาสำหรับรักษา

เชื้อที่เป็นสาเหตุ

เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่เชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งสามารถพบได้ที่ผิวหนัง และเยื่อบุของร่างกาย เช่น เยื่อบุจมูก โดยที่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่หากกลไกป้องกันโรคของคนเราเสียหาย เช่นมีแผลที่ผิวหนัง หรือคนที่ฉีดยาเข้าเส้นโดยที่ไม่ได้ทำความสะอาด เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย และทำให้เกิดโรคได้หลายระบบ เช่น ฝี ปอดอักเสบ ผิวหนังอักเสบ เชื้อนี้อาจจะเข้ากระแสโลหิตทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจอักเสบ ซึ่งมักจะมีอาการุนแรง จนอาจจะทำให้คนติดเชื้อเสียชีวิต

เชื้อนี้ฬนธรรมชาติจะไม่ดื้อต่อยา ยาที่เราใช้ได้แก่ Methicillin หากดื้อต่อยาตัวนี้เราเรียก Methicillin resistan


โรคที่เกิดจากเชื้อ Staphyllococcus

เชื้อนี้สามารถทำให้เกิดโรคที่ไม่รุนแรงหรืออาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิตตำแหน่งหรือโรคที่เกิดโรคได้แก่

  • ผิวหนังอาจจะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ ฝี
  • ระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ โดยรับประทานอาหารที่ไม่ได้เข้าตู้เย็นเกิน 2 ชั่วโมงและไม่ได้ทำให้สุก
  • ปอด อาจจะเกิดปอดบวม หนองในช่องหุ้มปอด
  • หัวใจ สำหรับผู้ที่ฉีดยาเข้าเส้นอาจจะทำให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบ
  • ข้อ ข้อติดเชื้อ
  • เชื้อเข้ากระแสโลหิตไปทั่วร่างกายซึ่งอัตราการเสียชีวิตสูง

การรักษาการติดเชื้อ Staphyllococcus

เชื้อที่พบในธรรมชาติมักจะไม่ดื้อยา เราสามารถใช้ยาได้หลายชนิด เช่นกลุ่ม penicillin erythromycinซึ่งผลการรักษาจะขึ้นกับความรุนแรงของการติดเชื้อ

การติดเชื้อ Methicillin resistant Staphyllococcus aureus

เชื้อตัวนี้มักจะพบในโรงพยาบาลซึ่งเกิดจากตัวเชื้อมีการพัฒนาสายพันธ์ และเกิดการดื้ อยาทำให้การรักษาลำบากยิ่งขึ้นเพราะลำพังตัวเชื้อที่ไม่ดื้อยาอัตราการเสียชีวิตก็สูงอยู่แล้ว การรักษาต้องเลือกยาที่ใช้ได้ผลซึ่งมีราคาแพง

ใครที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ MRSA

เนื่องจากเชื้อนี้มักจะติดในโรงพยาบาล ผู้ที่ติดเชื้อมักจะได้จากในโรงพยาบาลโดยมากมักเป็นผู้ป่วยที่

  • นอน ICU
  • ผู้ป่วยที่ผ่าตัด
  • ผู้ที่ผ่าตัดทางโรคกระดูก
  • ผู้ที่ต้องล้างไต
  • ผู้ที่ติดยาเสพติด
  • เราจะทราบอย่างไรว่าติดเชื้อนี้

หากมีไข้แพทย์จะเจาะเลือดหรือนำสารคัดหลังที่สงสัยว่าจะเป็นแหล่งติดเชื้อนั้นไปเพาะเชื้อ และหาความไวของเชื้อโรคต่อยา หากพบว่าดื้อต่อMethicillin จึงจะเรียกว่า MRSA

หากท่านติดเชื้อนี้จะส่งผลอย่างไรกับท่าน

เนื่องจากเชื้อนี้จะดื้อต่อยาหลายชนิด ทางโรงพยาบาลจะต้องพยายามป้องกันมิให้เชื้อนี้แพร่ไปสู่คนอื่นหรือออกนอกโรงพยาบาล

  • แพทย์จะแยกท่านออกจากผู้ป่วยอื่น
  • จะติดป้ายหน้าห้องว่ามีการติดเชื้อนี้เพื่อเตือนให้เจ้าหน้าที่และคนที่มาเยี่ยมต้องระมัดระวังการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  • ผู้ที่เข้ามาดูแลจะต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย ชุดคลุม ล้างมือทำความสะอาดทั้งก่อนและหลังรักษา

เมื่อท่านกลับบ้านโรคนี้จะติดต่อคนอื่นหรือไม่

โดยทั่วไปมักจะไม่ติดต่อคนอื่น แต่ต้องระวังผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่มีแผลที่ผิวหนังซึ่งอาจจะติดเชื้อได้ง่าย

การป้องการติดเชื้อดื้อยาสำหรับผู้ใหญ่

  • ถามแพทย์ประจำตัวของท่านว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคบางชนิด เช่นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดบวมเพื่อที่จะลดการเจ็บป่วยทำให้ลดการนอนโรงพยาบาล
  • เมื่อเข้าโรงพยาบาลต้องถามแพทย์ถึงมาตรการป้องกันโรงติดเชื้อ และแจ้งต่อแพทย์ว่ากังวลเรื่องนี้มาก
  • แน่ใจว่าแพทย์และพยาบาลล้างมือก่อนที่จะไปตรวจท่าน
  • ให้ข้อมูลการเจ็บป่วย รวมทั้งการใช้ยาทุกชนิดแก่แพทย์เพื่อที่แพทย์จะใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาให้ยาอย่างเหมาะสม
  • หากคุณรับประทานยาปฏิชีวนะ ควรจะรับประทานยาจนครบตามแพทย์สั่ง
  • ติดตามอาการต่างๆ เช่นไข้หนาวสั่น หรือมีหนองไหลหากพบให้แจ้งแพทย์

การป้องการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยล้างไต

  • ถามแพทย์ประจำตัวของท่านว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคบางชนิด เช่นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดบวมเพื่อที่จะลดการเจ็บป่วยทำให้ลดการนอนโรงพยาบาล
  • เมื่อเข้าโรงพยาบาลต้องถามแพทย์ถึงมาตรการป้องกันโรงติดเชื้อ และแจ้งต่อแพทย์ว่ากังวลเรื่องนี้มาก
  • แน่ใจว่าแพทย์และพยาบาลล้างมือก่อนที่จะไปตรวจท่าน
  • ล้างมือด้วยสบู่หลังจากเข้าห้องน้ำ และฟอกมือก่อนที่จะสายต่างๆ
  • อาบน้ำและฟอกสบู่ก่อนที่จะไปฟอกเลือด
  • แจ้งแพทย์เรื่องยาที่รับประทานพร้อมทั้งคำแนะนำเรื่องการรับประทานยาก่อนและหลังการฟอกเลือด
  • ถามข้อมูลว่าเมื่อไรจะต้องสวมถุงมือ
  • เรียนรู้วิธีดูแลสายต่างๆที่ติดอยู่ตัวท่าน
  • เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเรื่องปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น เช่นสายหลวม
  • เฝ้าติดตามอาการไข้ หนาวสั่น มีหนองไหล
  • อย่ารับประทานยาปฏิชีวนะโดยที่ไม่จำเป็น
  • เมื่อรับยาปฏิชีวนะให้รับประทานจนหมด

การป้องกันการติดเชื้อระหว่างผ่าตัด

  • ถามแพทย์ประจำตัวของท่านว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคบางชนิด เช่นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดบวมเพื่อที่จะลดการเจ็บป่วยทำให้ลดการนอนโรงพยาบาล
  • เมื่อเข้าโรงพยาบาลต้องถามแพทย์ถึงมาตรการป้องกันโรงติดเชื้อ และแจ้งต่อแพทย์ว่ากังวลเรื่องนี้มาก
  • แน่ใจว่าแพทย์และพยาบาลล้างมือก่อนที่จะไปตรวจท่าน
  • หากคุณเป็นโรคเบาหวานต้องปรึกษาแพทย์ว่าจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลเท่าใด และคุมอย่างไร
  • หากคุณอ้วนต้องลดน้ำหนักลง เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ /li>
  • ให้หยุดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดได้ง่าย
  • จ้งแพทย์เรื่องยาที่รับประทานอยู่ทั้งหมด

การปฏิบัติขณะอยู่ในโรงพยาบาล

  • ฟอกมือทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ
  • แจ้งพยาบาลทุกครั้งที่ชุดหรือที่นอนของท่านปนเปื้อนอุจาระ
  • แจ้งพยาบาลและแพทย์ให้ล้างมือก่อนที่จะตรวจท่าน
  • ตำแหน่งที่ให้น้ำเกลือต้องแห้งอยู่ตลอดเวลา หากเปียกน้ำต้องแจ้งพยาบาลให้ทราบ
  • หากผ้าปิดแผลเปียกต้องแจ้งพยาบาลให้ทราบ
  • หากสายต่างๆ เช่นสายน้ำเกลือ สายสวนปัสสาวะ ฯลฯหลุดหรือหลวมต้องแจ้งพยาบาลทันที
  • ห้ามญาติมาเยี่ยมหากกำลังเจ็บป่วย
  • ทุกครั้งที่รับประทานยาต้องตรวจดูทุกครั้ง หากไม่ทราบว่ารับเพื่ออะไรต้องถามเภสัชกร

การปฏิบัติเมื่อออกจากโรงพยาบาล

  • ถามเรื่องยาที่จะต้องรับประทานเมื่อออกจากโรงพยาบาล
  • ให้เภสัชอธิบายวิธีการใช้ยา
  • เฝ้าติดตามอาการไขหนาวสั่น หนองไหล