โรคโบทูลินั่ม Botulism
โรคโบทูลินั่ม Botulism เป็นโรคที่เกิดจาก toxin ของเชื้อ Clostridium botulinum นอกจากนั้นอาจจะเกิดจากเชื้อClostridium butyricum และ Clostridium baratii. เชื้อพวกนี้เป็นเชื้อที่พบในดินเป็นเชื้อที่ไม่ใช้ออกซิเจน หมายถึงว่าเมื่อเชื้อสัมผ้สออกซิเจนเชื้อจะตาย toxin จากเชื้อนี้มีความรุนแรงมาก ปริมาณ toxin เพียง 1 กรัมก็สามารถฆ่าคนได้เป็นล้านคน
การจำแนกโรค Botulism
โรค Botulism จะจำแนกโรคโดยวิธีการเกิดโรคแบ่งเป็น
ภาพคนที่หนังตาตก
- Food born Botulism หมายถึงโรคที่เกิดจากเรารับประทานอาหารที่มี Toxin โดยที่ไม่ได้ผลิตอย่างถูกต้องพบได้ปีละประมาณ 900 ราย ประทศทางยุโรปเกิดจาก Toxin ชนิด B เกิดจากขบวนการเก็บเนื้อ ญี่ปุ่นและแคนาดาเกิดจาก Toxin ชนิด E เกิดจากการถนอมอาหารทะเล ส่วนประเทศจีนเกิดจาก Toxin ชนิด Aเกิดจากการหมักถั่วเหลือง ความรุนแรงของ Toxin เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ A,B,E
แผลที่เกิดจากเชื้อ
- Wound botulism เป็นโรค Botulismที่เกิดจาก toxin มาจากแผล แผลนี้อาจจะเป็นแผลที่ได้รับอุบัติเหตุหรือ แผลผ่าตัด แผลจากการฉีดเฮโรอิน หรือไซนัสอักเสบจากการดูดโคเคน
เด็กที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- Infantile botulism หรือ Intestinal botulism เป็นโรคที่เกิดจากลำไส้ของเด็กทารกหรือการผ่าตัด หรือลำไส้อักเสบไม่สามารถสร้างเชื้อโรค ที่เป็นเชื้อประจำถิ่นได้มากพอ เกิดในเด็กอายุ 1 สัปดาห์ถึง 11 เดือนอายุที่พบมากคือ 2-4 เดือนปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดได้แก่ การดื่มน้ำผึ้ง เด็กตัวโต เด็กที่ถ่ายน้อยกว่า 1 ครั้งต่อวันเป้นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 2 เดือน การให้ดื่มนมแม่ช้า
- Inhalation botulism เป็นโรค botulism ที่เกิดจาก toxin ได้มาจากการหายใจ คาดการว่าจะเป็นวิธีการนำมาใช้เป็นอาวุธชีวภาพ
Toxin ที่เกิดจากเชื้อโรคนี้มีกี่ชนิด
Toxin ที่เกิดเชื้อนี้มีทั้งหมอ 7 ชนิดคือ A,B,C,D,E,F,G,H Toxin ชนิด A,B,D เป็นชนิดที่เกิดโรคในคน ชนิด C,D เป็นชนิดที่เกิดโรคในสัตว์ เช่นนกและปลา
กลไกการเกิดโรค botulism
เชื้อ Clostridium botulinum พบได้ในดิน น้ำสะอาด น้ำทะเล ฝุ่นบ้าน หรือแม้กระทั่งอาหาร เมื่อร่างกายได้รับ Toxin ไม่ว่าทางอาหาร แผลหรือทางการหายใจ Toxin จะไปจับกับปลายประสาทอย่างถาวรซึ่งหมายความว่า ปลายประสาทนั้นจะไม่ทำงานทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างถาวร อ่านที่นี่
การดำเนินของโรคbotulism
- สำหรับ Food born Botulism ที่มีอาการเร็วคือเกิดอาการภายใน 36 ชั่วโมงหลังจากได้รับToxin ,ผู้ป่วยรายแรกๆ,ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะป่วยนานกว่าคนทั่วๆไป
- ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 2 สัปดาห์หลังจากมีอาการเนื่องจากการติดเชื้อ ผู้ป่วยมักจะต้องใช้เครือ่งช่วยหายใจเฉลี่ยนาน 6-8 สัปดาห์แต่อาจจะนานถึง 7 เดือน
- ความรุนแรงของโรคที่เกิดจาก Food born Botulism ขึ้นกับชนิดของ Toxin ที่ผู้ป่วยได้รับ ชนิด A ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจร้อยละ 67 ชนิดB ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจร้อยละ 52 ชนิดC ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจร้อยละ39 นอกจากนั้น ชนิด A ยังมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าชนิดอื่น และยังต้องอยู่โรงพยาบาลนานกว่าชนิดอื่น
- อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 7.5 ส่วนผู้สูงอายุอัตราการเสียชีวิตร้อยละ30
- สำหรับ Infantile botulism โรคจะดำเนินใน 1-2 สัปดาห์และอาการคงที่ใน 2-3สัปดาห์ ส่วนใหญ่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 1 เดือนอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 1.3
การวินิจฉัยbotulism
ประวัติ
- การวินิจฉัยจะต้องอาศัย ประวัติ การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจร่างกายระบบประสาท ส่วนการวินิจฉัยที่ถูกต้องต้องอาศัยการเจาะเลือด ประวัติที่สำคัญได้แก่
- ประวัติการรับประทานอาหาร
- ประวัติการฉีดยาเสพติด
- ประวัติการเกิดแผล
- ประวัติเกียวกับโรคทางเดินอาหาร
ลักษณที่สำคัญของโรคนี้
Food born Botulism อาการที่สำคัญอ่านที่นี่
- ลักษณสำคัญที่ทำให้เรานึกถึงโรคนี้ได้แก่
- ผู้ป่วยไม่มีไข้ หากมีไข้อาจจะเกิดจากโรคแทรกซ้อน
- ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงเหมือกันทั้งซ้ายและขวา
- ผู้ป่วยยังรู้ตัวดี
- ผู้ป่วยจะมีหัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตปกติ
- ความรู้สึกปกติ
- โรคจะดำเนินจากศรีษะลงมากล่าวคือจะเริ่มต้นอ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า การกลืน การหายใจ คอ แขน และขาตามลำดับ
- ผู้ป่วยจะหายใจลำบากเนื่องจากกล้ามเนื้อกำบังลมอ่อนแรงและมีการอุดกลั้นของทางเดินหายใจ
- เห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัด ปากแห้ง อาการเหล่านี้จะเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด
- อาการอื่นที่อาจจะพบได้แก่ หนังตาตก กลืนลำบาก ไม่มีเสียง ลำไส้ไม่เคลื่อนไหว ท้องผูก
- ม่านตาจะโตและไม่หดตัวเมื่อถูกแสง
- อาการทางระบบประสาทจะเกิดหลังจากได้ Toxin 6-10 ชั่วโมง
- อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนก่อนเกิดอาการทางระบบประสาท
Infantile botulism
- ความรุนแรงของโรคมีตั้งแต่ไม่เกิดอาการจนกระทั่งเสียชีวิต
- อาการที่สำคัญคืออาการท้องผูก(ไม่ถ่ายอุจาระ 3 วัน)อาการอื่นๆได้แก่ ดูดนมลำบาก ร้องไห้ไม่มีเสียง มีน้ำลายมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง คอไม่ตั้ง
- การตรวจร่างกายที่สำคัญคือ หนังตาตก ม่านตาตา หูรูดหย่อน
- ผู้ป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจร้อยละ 50
- ระยะฟักตัว 3-30 วัน
Wound botulism
- อาการเหมือนกับโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหาร
- แผลที่เกิดโรคจะไม่รุนแรง แต่หากมีการติดเชื้อชนิดอื่นแผลจะมีการอักเสบมาก
- ระยะฟักตัวประมาณ 10 วัน
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ลักษณะเชื้อโรค
หลักการตรวจทางห้องปฎิบัติการที่สำคัญได้แก่
- ก่อนให้การรักษาต้องเจาะเลือด เก็บอุจาระ และเก็บน้ำจากในกระเพาะเก็บไว้ในตู้เย็น
- การตรวจจะตรวจหาระดับ Toxin และการเพาะเชื้อ
Food born Botulism
- จะพบ Toxin ในเลือดและอุจาระได้ร้อยละ 39,24 ตามลำดับ
- เพาะเชื้อจากอุจาระได้ร้อยละ 55
Infantile botulism
- การวินิจฉัยจะได้จากอุจาระ ในเลือดมักจะตรวจไม่พบ Toxin
- บางท่านอาจจะเอาน้ำผึ้งและนมมาเพาะเชื้อ
Wound botulism
- การวินิจฉัยทำได้โดยการพบ toxin และเพาะเชื้อที่แผล
การรักษาbotulism
การดูแลทั่วไป
- สำหรับผู้ที่อาการไม่มากต้องเฝ้าดูการดำเนินของระบบประสาทโดยเฉพาะเรื่องการหายใจ หากหากใจลำบากต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
- สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารที่สงสัยไปไม่นานอาจจะใส่สายล้างท้องพร้อมทั้งให้ยาระบายเพื่อขับเชื้อและToxin ให้ออกจากร่างกายให้มากที่สุด
- สำหรับผู้ที่สงสัยว่าจะเกิดจากแผลต้องทำความสะอาดแผลแม้ว่าแผลจะหายดีแล้วก็ตาม
- ใช้ hydrogenperoxide ฟอกแผล
การรักษาโดยการให้ Antitoxin
- ใช้ขนาด 10000 ยูนิตฉีด Antitoxinจะต้านtoxin A,B,E ก่อนฉีดต้องทดสอบว่าแพ้หรือไม่
เอกสารอ้างอิง
- http://www.emedicine.com/emerg/byname/cbrne---botulism.htm