โรคฝีดาษ Smallpox
โรคฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก poxvirus มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศ อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี 2504องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี ค.ศ 1970แต่ที่มีความกังวลว่า จะมีการนำเชื้อนี้มาใช้ในสงคราม ประเทศรัสเซียได้มีการพัฒนาเชื้อชนิดนี้ไว้ใช้ในสงคราม เมื่อประเทศรัสเซียล่มสลายคาดว่าจะมีการเล็ดรอดของเชื้อนี้ไปยังประเทศอื่น
โรคฝีดาษกำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างแพร่หลาย เนื่องโรคนี้ได้ถูกนำมาใช้ในสงครามเชื้อโรค จนกระทั่งประเทศอเมริกาได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนแก่ประชานสำหรับประเทศไทยแม้ว่ายังห่างไกลจากแหล่งที่คาดว่าจะมีการนำเชื้อนี้มาใช้ แต่ก็ไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท เนื่องปัจจุบันการเดินทางของคนไม่มีขอบเขตจำกัดทำให้อาจจะมีการระบาดมาถึงประเทศไทย จึงควรที่จะเรียนรู้รู้นี้ไว้
สาเหตุโรคฝีดาษ
เป็นไวรัส DNA เชื้อที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษมี 2 ชนิดคือ variolar majorทำให้เกิดโรคฝีดาษซึ่งมีอาการรุนแรงและมีอัตราการตายสูงประมาณ1ใน3 variolar minor ทำให้เกิดโรค alastrim ซึ่งอาการไม่รุนแรงเท่า และอัตราการตายต่ำ เชื้ออยู่ในสะเก็ดได้เป็นปี เชื้อถูกฆ่าตายที่อุณหภูมิ 60 องศา.ซ นาน 10 นาที
การติดต่อโรคฝีดาษ
เป็นโรคติดต่อร้ายแรง แต่การติดต่อไม่ง่ายเท่าในโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ มักจะต้องมีการสัมผัสใกล้ชิด ผู้ป่วยจะไอ จาม หรือแม้ขณะพูดจะมีเชื้อแพร่ออกมาทางอากาศ และผู้ติดโรคจะหายใจเอาเชื้อเข้าไป นอกจากนี้อาจจะติดต่อโดยการได้รับเชื้อซึ่งอยู่ในเสื้อผ้าหรือที่นอน ผ้าห่ม เสื้อผ้าของผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคนี้สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีผื่น
อาการของโรค
ระยะฟักตัวค่อนข้างจะคงที่ จากการติดเชื้อจนมีอาการกินเวลา 7-17วันและเริ่มมีผื่นขึ้น 14 วัน แต่อาจจะเร็วถึง 9 วันหรือนานถึง 21 วันหลังจากระยะฟักตัวก็จะเกิด
อาการนำโรคฝีดาษ คลิกดูภาพ
เริ่มด้วยปวดศีรษะ สะท้าน ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้จะขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว สูงไดถึง 41-41.5องศา ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีผื่นแดงเกิดขึ้นใน 2 วันแรก ผื่นมักจะขึ้นบริเวณแขนหรือขา
ระยะออกผื่น
ประมาณวันที่ 3 หลังมีไข้ ผื่นที่แท้จริงของฝีดาษจะเริ่มปรากฏขึ้นจะเริ่มที่หน้าหน้า แล้วไปที่แขน หลัง และขา ผื่นมักเป็นมากบริเวณที่ผิวหนังตึง เช่นที่ข้อมือ โหนกแก้ม สะบัก เป็นต้น ผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน ไข้จะเริ่มลงในวันที่ 2-3 หลังผื่นขึ้น และอาการต่างๆจะดีขึ้น ลักษณะผื่น จะเริ่มเป็นผื่นขนาดหัวเข็มหมุด และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในวันที่2 และกลายเป็นตุ่มน้ำในวันที่ 3 ใส ในวันที่ 5 จะเป็นตุ่มน้ำขุ่น การเปลี่ยนแปลงของผื่นจะเป็นไปพร้อมกันทั้งตัว ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้งโดยเริ่มที่หน้าก่อน ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดในวันที่12-13
โรคแทรกซ้อนโรคฝีดาษ คลิกดูภาพ
- ผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
- ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
- กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
- ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
- ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค
การวินิจฉัยโรคฝีดาษ คลิกดูภาพ
การวินิจฉัยโรคอาศัยทั้งประวัติและการตรวจร่างกาย
- ลักษณะทางคลินิกและระบาดวิทยา ในรายที่อาการตรงไปตรงมา
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การวินิจฉัยทางไวรัสวิทยา
การรักษาโรคฝีดาษ
- ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ใช้รักษาโรค
- ต้องแยกนอนโรงพยาบาลที่รับเฉพาะโรคติดต่อ
- การรักษาประคับประคองและรักษาตามอาการ
- ให้ผู้ป่วยนอนพักในที่นอนที่สะอาด และทำความสะอาดที่นอนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
- แก้ไขภาวะขาดน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่
- ระวังรอยโรคที่ปากและตา โดยทำความสะอาดอวัยวะทั้งสองบ่อยๆ
- ไม่ควรอาบน้ำหรือใช้น้ำยาใดๆทาเคลือบผิวหนัง
การป้องกันโรคฝีดาษ
การปลูกฝี
วัคซีนทำจากไวรัสชื่อ vaccinia เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในวัวที่ยังมีชีวิตแต่ทำให้อ่อนแรง เชื้ออาจะกระจายจากตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนไปยังตำแหน่งอื่นได้ ต้องระวังการรักษาความสะอาดการปลูกฝีสามารถป้องกันโรคฝีดาษ และค่อยข้างปลอดภัย แต่อาจจะมีผลข้างเคียงตั้งแต่น้อยจนมาก หลังการฉีดวัคซีนจะมีภูมิอยู่ได้ 3-5 ปีหากได้รับการกระตุ้นภูมิจะอยู่นานขึ้น
การปลูกฝีจะใช้เข็มซึ่งมีเชื้อโรคอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดแผลเชื้อจะเข้าสู่แผล รูปภาพข้างล่างจะแสดงการเปลี่ยนแปลงของแผลหลังฉีดวัคซีน
ภาพแสดงลักษณะของแผลภายหลังการฉีดวัคซีน

ผลข้างเคียงเล็กน้อย
- แขนที่ได้รับการปลูกฝีจะแดง บวม และมีอาการปวด
- ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โต
- ไข้ต่ำๆ
- บางคนมีอาการมากจนกระทั่งหยุดเรียน
ผลข้างเคียงที่รุนแรง พบได้ 1000 รายใน 1000000 ราย
- ผื่นอาจจะลามจากบริเวณที่ฉีดยาไปที่อื่น เช่น ตา หน้า อวัยวะเพศ
- อาจจะเกิดผื่นขึ้นทั้งตัวเนื่องจากฉีดวัคซีนเข้ากระแสเลือด
- แพ้วัคซีนทำให้เกิดแพ้วัคซีน
ผลข้างเคียงที่อาจจะทำให้เสียชีวิต
- ฉีดวัคซีนในผู้ป่วยที่เป็น eczema ทำให้มีการกระจายของผื่นทั่วร่างกาย Eczema vaccinatum
- หลังการปลูกฝีเกิดการติดเชื้อของผิวหนัง
- สมองอักเสบ Postvaccinal encephalitis
ผู้ที่ไม่ควรได้รับการปลูกฝี
- ผู้ป่วยที่เป็นผื่นแพ้ eczema,atropic eczema
- ผู้ที่มีโรคผิวหนังเช่น แผลไฟไหม้ งูสวัด เรื้อนกวาง
- กำลังให้นม
- เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
- คนที่ตั้งครรภ์
- ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันเช่นผู้ที่เปลี่ยนไต หรือได้รับยาsteroid
- โรคเอดส์
- ผู้ป่วยแพ้วัคซีน
การดูแลตำแหน่งที่ปลูกฝี
- ใช้ผ้าหรือเทปปิดแผลเพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อ แล้วใช้เทปกันน้ำปิดแผล
- สามารถใส่เสื้อเพื่อป้องกันเชื้อแพร่สู่คนอื่น
- เปลี่ยนผ้าปิดแผลทุก 2 วัน
- ล้างมือด้วยสบู่หลังจากทำความสะอาดแผล
- ทิ้งผ้าทำแผลลงในถุงแยกต่างหากแล้วน้ำไปเผา
- เสื้อที่ใส่นำไปต้มและซัก
ข้อห้าม
- ห้ามใช้เทปที่ไม่สามารถระบายอากาศ
- อย่าแกะสะเก็ดแผล
- อย่าทายาใดๆทั้งสิ้น