หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
โรคแอนแทรกซ์เป็นโรคที่พบมานานมักจะเกิดโรคในสัตว์ ไม่ค่อยพบในคน ประเทศไทยก็มีการระบาดของโรคแอนแทรกซ์เป็นระยะ มักจะเกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ตายจากโรคแอนแทรกซ์และปรุงไม่สุก แต่การพัฒนาเป็นอาวุธชีวภาพได้ทำกันมานาน 80 ปี ขณะนี้เชื่อว่าอย่างน้อย 17 ประเทศมีอาวุธนี้การจะพัฒนาเป็นอาวุธจะใช้ความรู้ชั้นสูงเกี่ยวกับทางชีวภาพ เคยมีหลักฐานถึงการแพร่เชื้อแอนแทรกซ์และ botulism ที่ญี่ปุ่นทั้งหมด 8 ครั้งแต่ไม่สามารถทำให้เกิดโรค
เคยเกิดการแพร่เชื้อแอนแทรกซ์ที่ประเทศ Sverdlovsk ในปี 1979 พบว่ามีการติดเชื้อ 79 รายเสียชีวิตไป 68 รายแสดงให้เห็นถึงอันตรายของเชื้อชนิดนี้ การแพร่spore ของแอนแทรกซ์จะไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า spore สามารถเคลื่อนไปได้ไกลหลายกิโลเมตร และการอยู่ในบ้านก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อชนิดนี้ และปัจจุบันก็ยังไม่มีเครื่องมือในการเตือนการระบาด
เคยมีการประเมินว่าหากมีการแพร่เชื้อจำนวน
50 กิโลกรับในชุมชนที่มีคน 5
ล้านคนพบว่าจะมีคนเสียชีวิต
250,000 คน โดยที่จะเสียชีวิต 100,000
คนโดยที่ไม่ได้รับการรักษา
โดยธรรมชาติเชื้อนี้จะพบการระบาดในสัตว์กินพืชเนื่องจากจะกิน spore ที่อยู่บนหญ้า หรืออาจจะเกิดการระบาดจาการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อปน
เชื้อนี้มีชื่อเรียกว่า Bacillus anthracis เป็นเชื้อที่ใช้ oxygen ย้อมติดสีน้ำเงิน สามารถสร้างspore ไม่เคลื่อนไหว
เมื่อ spore เข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์ที่มีอาหารเชื้อก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การที่เชื้อจะก่อให้เกิดโรคในคนจะต้องประกอบด้วยปัจจัยสองประการคือ
เชื้อนี้สามารถทำให้เกิดโรคในคนได้ 3 รูปแบบ
การวินิจฉัยจะค่อนข้างยากเนื่องจากไม่ใคร่ได้พบโรคนี้ ให้สงสัยในกรณีที่มีกลุ่มคนไข้ที่มีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่แล้วเสียชีวิตอย่างรวดเร็วในเวลา 24-48 ชั่วโมงเป็นจำนวนมาก
การวินิจฉัยผู้ป่วยแอนแทรกซ์ทางระบบหายใจให้สงสัยในรายที่มีอาการดังกล่าวร่วมกับภาพถ่ายรังสีทรวงอกดังรูป การตรวจเสมหะมักจะไม่พบเชื้อ การตรวจทางโลหิตหากนำเลือดไปปั่นแล้วย้อมก็อาจจะพบเชื้อในเลือด จะทำให้วินิจฉัยได้เร็วยิ่งขึ้นและให้การรักษาได้เร็วยิ่งขึ้น การเพาะเชื้อจากเลือดใช้เวลา 2-3 วันอาจจะไม่ทันการณ์ หากมีแผลที่ผิวหนังก็สามารถขูดที่ก้นแผลแล้วไปย้อมก็สามารถพบเชื้อได้เหมือนกัน
ภาพแสดงการย้อมเชื้อจากเลือด |
การรักษาเบื้องต้น | การรักษาหลังจากทราบผลเพาะเชื้อ | ระยะเวลารักษา(วัน) | |
ผู้ใหญ่ | Ciprofloxacin,400 mg ให้ทางเส้นเลือดทุก 12 ชั่วโมง | Penicillin G 4 ล้าน u ให้เข้าหลอดเลือดทุก 4 ชม Doxycyclin 100 mg ให้เข้หลอดเลือดทุก 12 ชม | 60 |
เด็ก | Ciprofloxacin 20-30 mg/kg แบ่งให้วันละ 2 ครั้งไม่เกิน 1 กรัม/วัน | อายุ<12ให้ penicillin G 5 แสนยูนิต/kg ทุก 6 ชั่วโมง อายุ>12 ให้ 4 ล้านu m6d 4 ชม | 60 |
คนท้อง | เหมือนผู้ใหญ่ | ||
คนที่มีภูมิคุ้มกัน บกพร่อง | เหมือนผู้ใหญ่ |
ยังไม่ได้กำหนอแนวทางชัดเจน การกำหนดต้องคำนึงถึง สถานที่ สภาพอากาศจำนวนคนที่ติดเชื้อ หากพิจารณาแล้วว่าต้องให้ยาปฏิชีวนะก็พิจารณาให้ยากลุ่มดังกล่าวมาแล้วโดยต้องให้ยานาน 60 วัน
การรักษาเริ่มต้น | การรักษาหลังจากทราบผลเพาะเชื้อ | ระยะเวลารักษา | |
ผู้ใหญ่ | Ciprofloxacin 500 mg วันละ 2 ครั้ง | Amoxicillin 500 mg วันละ 3 ครั้งหรือ Doxycyclin 100 mg วันละ 2 ครั้ง | 60 |
เด็ก | Ciprofloxacin 20-30 mg/kg /day วันละ 2ครั้ง | น้ำหนัก<20 kg ให้Amoxycillin 40 mg/kg วันละ 3 ครั้ง น้ำหนัก>20 kg ให้Amoxycillin 500 mg วันละ 3 ครั้ง | 60 |
คนท้อง | Ciprofloxacin 500 mg วันละ 2 ครั้ง | Amoxicillin 500 mg วันละ 3 ครั้งหรือ | |
คนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง | เหมือนผู้ใหญ่ |
การให้วัคซีน
ได้มีการผลิตวัคซีนตั้งแต่ปี 1970 โดยใช้การฉีดทั้งหมด 6 เข็มโดยให้ 3 เข็มห่างกันเข็มละ 2 สัปดาห์หลังจากนั้นกระตุ้นที่ 6 12 และ 18 เดือนมีการทดลองในลิงพบว่าการฉีด 2 เข็มก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโดยฉีดห่างกันสองสัปดาห์ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐแนะนำให้ฉีดในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่นผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับขนสัตว์ ปสุสัตว์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการณ์ และช่วงที่มีการใช้แอนแทรกซ์เป็นอาวุธสงครามโดยต้องร่วมกับการรับประทานยา
การให้ยาในเด็ก
หากมีการระบาดของเชื้อแอนแทรกซ์แนะนำให้ใช้ยา Ciprofloxacin เป็นยาชนิดแรกจนกระทั่งทราบผลการทดสอบว่าเชื้อไวต่อยา penicillinจึงพิจารณาเปลี่ยนเป็นยา penicillin ทั้งนี้เนื่องจากยา ciprofloxacin อาจจะก่อให้เกิดปัญหาโรคข้อในตอนโต ยาตัวที่สามคือ doxycyclin จะให้ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 9 ปีเนื่องจากหากให้ในอายุน้อยกว่านี้จะทำให้กระดูกไม่เจริญ
การให้ยาในคนท้อง
แนะนำให้ยา ciprofloxacin แก่คนท้อง ทันที่ที่ทราบผลการเจาะเชื้อว่าเชื้อไวต่อ penicillin ก็รีบเปลี่ยนเป็น penicillin เนื่องจากมีรายงานผลถึงผลเสียในการให้กับคนท้อง ยาตัวที่สามคือ doxycyclin ต้องให้ด้วยความระวังและต้องเจาะเลือดติดตามการทำงานของตับ
การควบคุมการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์
เชื้อนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือรับประทานยาป้องกัน นอกเสียจากว่าสงสัยว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันและกลัวว่าจะได้ spore ของเชื้อ
เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลง ต้องระวังการแพร่เชื้อจากศพ ต้องฝั่งหรือเผา การดองศพอาจจะเป็นแหล่งให้แพร่เชื้อ การทำลายเชื้อหรือ spore สามารถทำได้หลายวิธีคือ ต้มที่ 100 องศาเป็นเวลา 30 นาที หรือการเผา หรือการอบไอน้ำ steam sterilization การใช้สาร 0.05% hypochlorite solution (1 tbsp. bleach per gallon of water).ทำความสะอาด
โรคแอนแทรกซ์ | โรคแอนแทรกซ์ซ์2 | การป้องกัน | การรักษา