โรคกาฬโรค
โรคกาฬโรคเป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Yersinia pestis เกิดจากหมัดหนูที่มีเชื้อกัด เมื่อมีการระบาดของโรคหนูจะตายก่อน หมัดหนูจะกระโดดมายังสัตว์อื่น และกัดทำให้เกิดโรคขึ้นมา การดูแลเรื่องความสะอาด และควบคุมการแพร่พันธ์ของหนูทำให้โรคนี้มีการระบาดน้อยลง ในอดีตที่ผ่านมามีการระบาดใหญ่ของกาฬโรคสามครั้งที่ตะวันออกกลาง ถึงเมอร์ดิเตอร์เรเนียนในช่วงปีศตวรรษที่5-6 ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณร้อยละ 50 ครั้งที่สองระบาดที่ยุโรปศตวรรษที่8-14 มีผู้เสียชีวิตร้อยละ 40 ครั้งสุดท้ายระบาดที่ประเทศจีนปี 1855
อาการของโรคกาฬโรคเป็นอย่างไร
โรคกาฬโรคแบ่งออกตามกลุ่มอาการได้สามแบบคือ
- Bubonic plague เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด อาการจะแสดงออกหลังจากถูกหมัดหนูกัดแล้ว 2-8 วัน เชื้อโรคจะเคลื่อนไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้ที่สุด จะทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขนาด 1-10 ซม ลักษณะต่อมน้ำเหลืองจะ บวม แดง กดเจ็บ ซึ่งอาจจะปวดมากจนขยับแขนหรือขาไม่ได้ ตำแหน่งที่เกิดมักจะเป็นบริเวณขาหนีบ หรือรักแร้อาการที่สำคัญได้แก่
- ต่อมน้ำเหลืองโต กดเจ็บ แดง
- ไข้สูงหนาวสั่น
- ปวดศีรษะ
- ปวดกล้ามเนื้อ
คลิกดูภาพ
- Septicemic plague เป็นชนิดที่เชื้อเข้ากระแสเลือด ภาวะนี้มักจะเป็นโรคแทรกซ้อนจากชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ อาการที่สำคัญได้แก่
- ไข้สูง หนาวสั่น
- ปวดท้อง คลื่นไส้ และท้องเสีย
- เลือดออกในปาก จมูก ก้น
- เกิดภาวะช็อก shock
- มักจะมีการเน่าของนิ้วที่เกิดจากการขาดเลือด
คลิกดูภาพ
- Pneumonic plague เป็นชนิดที่พบได้น้อยที่สุด เกิดจากการที่เราสูดเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศ เป็นชนิดที่รุนแรงและอาจจะเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว อาการที่สำคัญ
- ไข้สูง
- อ่อนแรง
- ไอ มีเสมหะ เหนื่อย เจ็บหน้าอก
- คลื่นไส้อาเจียน
การรักษา
- เมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้จะต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่น และแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ทราบ
- รีบทำการเพาะเชื้อจากเลือด และหนองที่ต่อมน้ำเหลือง
- ให้ยาปฏิชีวนะก่อนที่จะทราบผลเพาะเชื้อ
- สำหรับผู้ที่สำผัสกับผู้ป่วยจะต้องกักตัวไว้สังเกตอาการ และให้ยาปฏิชีวนะป้องกัน
เมื่อไรจะสงสัยว่าเป็นโรคกาฬโรค
- สัมผัสกับสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระต่าย กระรอก แมวที่คิดว่าเสียชีวิตจากโรคนี้
- ถูกหมัดหนุกัด
- อยู่ในพื้นที่มีการระบาดของโรค
- สัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ หรือคนที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอด
- ท่องเที่ยวไปในพื้นที่ที่มีการระบาด
สาเหตุของโรค
เกิดจากหมัดหนู ที่มีเชื้อโรคนี้กัดและปล่อยเชื้อเข้าสู่ผู้ที่ถูกกัด
การติดต่อ
เชื้อนี้สามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่สัตว์ หรือจากสัตว์ไปสู่คนได้โดยการติดต่อโดยการที่หมัดหนูมีเชื้อโรคกัดคน อ่านที่นี่ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อทางหายใจจากคนหรือสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอด
ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ
- การระบาดมักจะเกิดในที่แออัด และสุขอนามัยไม่ดี มีหนู้หรือขยะมาก
- มักจะระบาดในช่วงพฤษภาคมถึงตุลาคมเนื่องจากหนูในช่วงนี้จะขยันออกหาอาหาร และคนออกนอกบ้านกันมาก
- การสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรค เช่น หนู กระแต กระรอก หรือแมว
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
- นิ้วมือนิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือดเนื่องจากลิ่มเลือดอุดตัน คลิกที่นี่
- เกิดภาวะช็อกอย่ารุนแรง
- เกิดปอดบวมและหายใจล้มเหลว
- เกิดโลหิตเป็นพิษ
- เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- เสียชีวิต
การรักษา
หากแพทย์สงสัยว่าคุณเป็นกาฬโรคแพทย์จะรับตัวไว้ในห้องแยกโรค และให้ยาปฏิชีวนะอย่างแรงประมาณ 7- 10 วัน
การป้องกัน
โรคนี้ไม่มีวัคซีน แต่การให้ยาสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ หากคุณมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังนี้
- ใกล้ชิดกับคนป่วยหรือสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคนี้
- ถูกหมัดกัดในพื้นที่มีการระบาดของโรค
- เมื่อคุณเดินทางเข้าหล่งระบาด
การป้องกันอื่นๆ
การปรับสิ่งแวดล้อม
การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมจะช่วยไม่ให้คนถูกหมัดหนูกัด การปรับที่สำคัญได้แก่
- มีแหล่งที่ทิ้งขยะและมีฝาปิดมิดชิด และมีระบบทำลายขยะ ไม่มีการกองขยะซึ่งเป็นแหล่งอาหารของหนู
- หนูมักจะพักตามตลาดสด จะต้องไม่ทิ้งขยะ และกำจัดแหล่งที่พักของหนู
- ไม่สัมผัสสัตว์ป่วยหรือสัตว์ตาย หากจำเป็นให้สวมถุงมือยาว
- กำจัดหนู กำจัดแหน่งที่พักของหนู ทิ้งขยะให้เรียบร้อย
- หากมีสัตว์เลี้ยงต้องใช้ยาฆ่าหมัดเป็นระยะ
- ระวังเด็ก หรือผู้ใหญ่เมื่อออกนอกบ้านโดยเฉพาะในแหล่งที่มีการระบาดไม่ใกล้ชิดกับสัตว์ฟันแทะทั้งหลาย และทายากันหวัด
การให้ความรู้ประชาชน
- ชุมชนต้องร่วมมือในระบบการดูแลสิ่งแวดล้อม กำจัดแหล่งอาหารและที่พักของหนูรอบบ้านหรือที่ทำงาน กำจัดพุ่มไม้ กองหิน กองฟืน อาหารของสัตว์เลี้ยงต้องเก็บให้ดี
- เมื่อต้องเข้าไปในแหล่งระบาดให้ฉีดสารเมีป้องกันหมัดที่เสื้อ และสวมถุงมือเมื่อต้องสัมผัสสัตว์ตาย
- หากท่านอาศัยในถิ่นระบาด สัตว์เลี้ยงของท่านต้องได้รับยาฆ่าหมัด
- พ่นยาฆ่าหมัดหนูในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
- วิธีการจัดการกับอุจาระหรือรังหนู
- ปล่อยให้อากาศถ่ายเทก่อนเข้าไปทำความสะอาด
- ฉีดยาฆ่าหมัดหนูก่อนทำความสะอาด
- เก็บขยะ ขี้หนูใส่ถงและนำไปทำลาย
- ไม่กวาด หรือดูดฝุ่น ต้องทำให้บริเวณดังกล่าวชื้นเพื่อป้องกันการพุ้งกระจาย
- ใส่ถุงมือขณะทำความสะอาด และล้างมือเมื่อเสร็จงาน
หมัดหนู เชื้อที่เป็นสาเหตุ นิ้วมือขาดเลือด การติดต่อ