เมือ่ไรผู้ป่วยไตวายะจะไปพบแพทย์


ผู้ป่วยโรคไตที่เริ่มเป็นมักจะไม่มีอาการอะไร หากมีอาการแสดงว่าอาจจะเริ่มเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งหากเกิดอาการจะต้องไปพบแพทย์ อาการไตวายดังกล่าวได้แก่

  • รู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • บวมเท้า บวมรอบขอบตา
  • หายใจหอบ เหนื่อยง่าย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มึนศีรษะ มึนงงบ่อยๆ
  • ปวดกระดูก ปวดข้อ
  • เกิดจ้ำเขียวง่าย
  • คันตามตัว

สำหรับท่านที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต ท่านจะต้องเฝ้าสังเกตว่ามีอาการดังกล่าวหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวควรจะไปพบแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ หากท่านเกิดอาการข่างล่างนี้ต้องรีบพบแพทย์เพราะอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนของโรคไตวาย

  • มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึก เช่น ซึมลง ปลุกตื่นยาก นอนมากไม่ยอมตื่นหรือพูดสับสน
  • เป็นลม
  • แน่หน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • คลื่นใส้อาเจียนอย่างมาก
  • เลือดออกง่าย
  • อ่อนเพลียอย่างมาก


เมื่อไรจึงจะต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

ควรส่งปรึกษาหรือส่งต่อผู้ป่วยพบอายุรแพทย์ เมื่อ

  • ผู้ป่วยมีอัตรากรองของไต( eGFR) 30-59 mL/min/1.73m2 ร่วมกับมีการเสื่อมของไตไม่มากกว่า 7 mL/min/1.73m2ต่อปี
  1. ควรส่งปรึกษาหรือส่งต่อผู้ป่วยพบอายุรแพทย์โรคไต เมื่อ
  • ผู้ป่วยมีอัตรากรองของไต( eGFR) 30-59 mL/min/1.73m2 ร่วมกับมีการเสื่อม ของไตมากกว่า 7 mL/min/1.73m2 ต่อปี หรือมีภาวะความ ดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
  • ผู้ป่วยมี eGFR น้อยกว่า 30 mL/min/1.73m2
  • ผู้ป่วยมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะมากกว่า 1,000 mg ต่อวัน หรือ spot urine protein/creatinine ratio มากกว่า 1,000
    mg/g creatinine หลังได้รับการควบคุมความดันโลหิตได้ ตามเป้าหมายแล้ว
การป้องกันโรคไต