ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีใครทราบ
แต่เท่าที่วิจัยได้พบว่าความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่
- อายุ
ผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปีมีโอกาศเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยมาก มะเร็งต่อมลูกหมากพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า
50ปีขึ้นไป
อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปีพบว่า 2ใน3ของผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี
- ประวัติครอบครัว
พบว่าชายที่มีพ่อ
หรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนทั่วไป และความเสี่ยงจะสูงมากขึ้นหากมีญาติเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหลายคนโดยเฉพาะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่อายุน้อย
- เชื้อชาติ
พบไม่บ่อยในชาวเอเชียแต่พบบ่อยในเชื้อสายอัฟริกันอเมริกา
- มะเร็งต่อมลูกหมากจะพบในผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย หมู่เกาะแคริเบี้ยน ยุโรปตอนเหนือ สาเหตุไม่ทราบ แต่เชื่อว่าเกิดจากความแตกต่างด้านพฤติกรรม เช่นเรื่องอาหาร
- พันธุกรรม ผู้ที่มียีน BRCA1 หรือ BRCA2 genes จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
ปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
- อาหาร
พบว่าผู้ที่บริโภคเนื้อสัตว์สีแดง และไขมันจากสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ส่วนผู้ที่บริโภคผักและผลไม้จะลดโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนั้นผู้ที่รับประทานแคลเซี่ยมมากเช่น วิตามินหรืออาหาร หรือผลิตภัณฑ์จากนมก็มีการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูง แต่จากการศึกษาถึงอาหารชนืดอื่นที่มีแคลเซี่ยมพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
- โรคอ้วน จากการศึกษาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งต่อมลูกหมาก
- การสูบบุหรี่พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากเล็กน้อยซึ่งต้องศึกษาต่อ
- มีการศึกษาว่าต่อมลูกหมากอักเสบจะเพิ่มโอกาศการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติม
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ และหนองในเทียบ ก้ไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
- การทำหมันชาย ก่อนหน้านี้พบว่าผู้ที่ทำหมันก่อนอายุ 35 ปีมีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่การศึกษาปัจจุบันไม่พบความเสี่ยงดังกล่าว
ยังไม่พบหลักฐานว่าการทำหมันชายทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมากขึ้นขณะนี้กำลังศึกษาว่า
ต่อมลูกหมากโต คนอ้วน
การขาดการออกกำลังกาย
การสูบบุหรี่ การเจอรังสี
การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
เท่าที่มีหลักฐานยังไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว
มะเร็งต่อมลูกหมาก | การตรวจทั่วๆไป | การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกเริ่ม | ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก | การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก | อาหารป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก