การรักษาโรคเก๊าต์
การรักษาโรคเกาต์จะต้องประกอบไปด้วยการดูแลตัวเองเพื่อมิให้กรดยูริกขึ้น เช่น การลดอาหารเนื้อสัตว์ ลดสุรา และการใช้ยาลดกรดยูริก เรามีวิธีปฏิบัติเมื่อเจาะเลือดแล้วพบว่ากรดยูริกในเลือดสูงAsymptomatic Hyperuricemia
เจาะเลือดพบว่ากรดยูริกสูงแต่ไม่มีอาการอะไร ยังไม่จำเป็นต้องให้ยาเพียงแนะนำให้ลดอาหารที่มี purine ดื่มน้ำมากๆ การจะให้ยาลดกรดยูริกจะให้ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไต
Acute Gouty Arthritis
การรักษาช่วงที่มีการอักเสบของข้อโดยใช้ยาแก้ปวด และยาลดการอักเสบ
- ในช่วงที่มีอาการปวดอาจจะรับประทานยาแก้ปวด paracetamol หรือยาแก้ปวดอื่น
- ช่วงที่มีการอักเสบของข้อให้ใช้ยา
colchicine 0.5 mg ทุก 2
ชั่วโมงจนอาการปวดดีขึ้นหรือเกิดอาเจียน
และถ่ายเหลว
- และอาจให้ยาแก้ปวด NSAID เช่น aspirin,indomethacin,ibuprofen,naproxyn,piroxicam ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือปวดท้องและเลือดออกทางเดินอาหารได้
- ช่วงที่ปวดให้พักและดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยูริก
- ให้นอนพัก
ยกเท้าสูง
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน
การป้องกันข้ออักเสบ
เป็นการรักษาเพื่อมิให้มีการอักเสบของข้อเรื้อรัง
- ให้ colchicine 0.6 mg วันละ 1-4
เม็ด
ถ้าเริ่มมีอาการของข้ออักเสบให้เพิ่มได้อีก วันละ 1-2 เม็ด
- การลดกรด
uric ในกรณีที่กรด uric >9 mg%และยังมีการอักเสบของข้อ หรือไตเริ่มมีอาการเสื่อมโดยให้allopurinol 200-600 mg/วัน เช่น probenecid 500 mg
ให้ครึ่งเม็ดวันละ2
ครั้งค่อยๆเพิ่มเนื่องจากยานี้จะเพิ่มการขับกรดยูริกทางปัสสาวะ ดังนั้นไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีนิ่วในไตและควรแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ยานี้ควรระวังในผู้ป่วยที่ไตเสื่อมเนื่องจากอาจจะเกิดอาการผื่นและแพ้ยาได้
ยากลุ่มนี้ไม่ควรให้ขณะที่มีการอักเสบของข้อเพราะจะทำให้ข้ออักเสบเพิ่มขึ้น
- ให้ดื่มน้ำมากกว่า
3 ลิตร/วัน
การรักษาเพื่อป้องกันมิให้โรคเกาต์กำเริบโดยการลดน้ำหนัก
ควบคุมอาหาร งดสุรา
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์
- รรมพันธุ์ ผู้ชายจะเริ่มอายุ 35-40 ปีส่วนผู้หญิงเริ่ม 45 ปีไปแล้ว
- อ้วน ถ้าน้ำหนักเกิน จะส่งผลให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้นด้วย
- อาหารที่มี purine สูง
- อาหารที่มีไขมันสูง
- โรคความดันโลหิตสูง
- ยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงจะลดการขับกรดยูริก ยา aspirin ยารักษาวัณโรค เช่น pyrazinamide and ethambutol
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะกระตุ้นให้มีการสร้างกรดยูริกเพิ่ม
- ไตเสื่อม
- โรคที่ทำให้กรดยูริกสูงเช่นโรคมะเร็ง โรคเม็ดเลือดแดงแตก
- ภาวะขาดน้ำ
- การไดรับอุบัติเหตุที่ข้อ
- ได้ยาลดกรดยูริก
ระดับ
purine ในอาหารชนิดต่างๆ
- มี purine สูงควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เป็ด ไก่ เครื่องใน ปลาดุก ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ไข่ปลา กุ้ง หอย กะปิ เบียร์ ขนมปัง เห็ด กระถิน ชะอม ขี้เหล็ก ถั่วดำ ถั่วแระ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
- อาหารที่มี purine ปานกลาง ควรรับประทานให้น้อยลงได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง สะตอ ถั่วลันเตา ข้าวโอต หน่อไม้ กระหล่ำดอก ผักโขม
- อาหารที่มี
purine
ต่ำรับประทานได้โดยไม่จำกัด
ได้แก่ แตงกวา ข้าวโพด ผลไม้
ขนมหวาน นม ไข่
กลับหน้าแรก