jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

ภาวะกรดยูริกสูง

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเกิดขึ้นได้อย่างไร

1จากการสร้างกรดยูริกมากเกินไป

กรดยูริกเป็นผลจากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกายซึ่งสารพิวรินเกิดจากการสลายโปรตีนของร่างกาย ผู้ที่มีกรดยูริกสูงเกิดจากความผิดปรกติของยีนในการสลายสารพิวรีน และยังเกิดจาก

2มีการขับยูริกออกน้อยเกินไป

ร่างกายมีขบวนกำจัดกรดยูริกอย่างไร

ภาวะกรดยูริกในเลือดเท่าไรจึงจะเรียกว่าสูง

ระดับกรดยูริกในเลือดของเด็กจะมีค่าประมาณ 3.5-4.0 มก./ดล.  ในเพศชายเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นระดับกรดยูริกจะมีค่าสูงขึ้น 1-2 มก./ดล. แต่ในเพศหญิงวัยมีประจำเดือนระดับกรดยูริกจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนเร่งการขับกรดยูริกออกทางไต เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนระดับกรดยูริกจะมีค่าสูงขึ้นจนมีระดับเท่าในผู้ชาย
โดยทั่วไปจะถือว่าระดับกรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ เมื่อมีค่ามากกว่า 7.0 มก./ดล. ในเพศชาย และ 6.0 มก./ดล. ในเพศหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว

สาเหตุของกรดยูริกสูง

มีการเพิ่มขึ้นยูริก

สาเหตุ

อาหาร

เนื้อสัตว์, สุรา, รับประทานน้ำตาล Fructose

โรคเลือด

โรคมะเร็ง โรคเลือด

ยา

สุรา ยารักษามะเร็ง

อื่นๆ

โรคอ้วน โรคสะเก็ดเงิน ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง, hypertriglyceridemia

มีการขับออกทางไตลดลง

สาเหตุ

ยา

สุรา ยา cyclosporine (Sandimmune),ยาขับปัสสาวะ thiazides, furosemide (Lasix) ยารักษาวัณโรค ethambutol pyrazinamide, ยา aspirin (low-dose), ยารักษาพาร์กินสัน levodopa (Larodopa), ยา nicotinic acid

ไต

ความดันโลหิตสูง , โรคไต

โรคต่อมไร้ท่อe

ขาดน้ำn,ภาวะกรดในเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย หรือเป็นพิษ

อื่นๆ

อ้วน,ครรภ์เป็นพิษ

อาหารที่มีสารพิวรีนสูง

อาหารที่มีพิวรีนสูง ให้หลีกเลี่ยง

ตับ ไต, kidney,กุ้ง, ปลา sardines, ปลา herring, หอย, เบคอน ปลา codfish, ปลา trout, เนื้อลูกวัว , เนื้อกวาง, ไก่งวง, เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล

อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ให้รับประทานบางครั้ง

หน่อไม้ฝรั่ง เนื้อวัว น้ำซุปเนื้อ ไก่ ปู แฮม มะม่วงหิมพานต์ ถั่ว เห็ด กุ้ง หอยนางรม เนื้อหมู ผักขม,

อาหารที่มีพิวรีนน้อย ให้รับประทานได้

น้ำอัดลม กาแฟ ขนมปัง ธัญพืช macaroni, cheese,ไข่ นม น้ำตาล มะเขือเทศ ผักใบเขียว

ลักษณะอาการทางคลินิกของโรคเกาต์

อาการของโรคกรดยูริกสูงเป็นอย่างไร

ลักษณะทางคลินิกที่สำคัญของโรคเกาต์จะมีอาการแสดงใน 2 ระบบ คือ ระบบข้อ และระบบไต

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงกับความผิดปกติทางโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคร่วมที่พบในโรคเกาต์

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเกาต์มักจะพบร่วมกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในโลหิตสูง รวมทั้งโรคหลอดเลือดในหัวใจ และกลุ่มอาการเมตะบอลิค ดังนั้นในการดูแลผู้ป่วยโรคเกาต์ แพทย์ผู้ดูแลรักษาจำต้องมองหา และให้การรักษาโรคร่วมเหล่านี้ด้วยเสมอ

การวินิจฉัยโรคเกาต์

การวินิจฉัยโรคเกาต์ที่ดีที่สุดคือ

ในสถานที่ที่ไม่มีกล้องจุลทรรศน์โพราไรซ์ ก็สามารถให้การวินิจฉัยโรคเกาต์ด้วยการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา เนื่องจากการตรวจดูด้วยผู้ชำนาญจะสามารถให้การวินิจฉัยได้ด้วยความไวและความจำเพาะถึงร้อยละ 96.2-100.0 และ 97.1-100.0 ตามลำดับ ดังนั้นในกรณีที่สงสัยโรคเกาต์และผู้ป่วยมีข้ออักเสบจึงควรทำการเจาะตรวจน้ำไขข้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยเสมอ

การรักษาโรคเกาต์

การรักษาโรคเกาต์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา การรักษาด้วยวิธีการใช้ยา การรักษาโรคร่วม และการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา

ถึงแม้ว่าโรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง และในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงก็ตาม แต่การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก็ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่ได้ละเลยความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ไป

อ่านเรื่องการรักษากรดยูริกโดยไม่ต้องใช้ยา

การรักษาด้วยวิธีการที่ใช้ยา

การรักษาด้วยวิธีการที่ใช้ยา จะขึ้นกับจุดประสงค์ในการรักษาเป็นหลัก โดยทั่วไปการรักษาด้วยวิธีการที่ใข้ยาจะขึ้นกับระยะของโรคเกาต์ ได้แก่

การรักษาโรคร่วม

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ผู้ป่วยโรคเกาต์มักจะมีโรคร่วมหลายประการ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไขมันในโรหิตเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มอาการเมตะบอลิค เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะไตทำงานบกพร่อง รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง จากการศึกาที่พบว่าภาวะกรดยูริกในเลือดสูงสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต รวมทั้งหลอดเลือดสมองและหัวใจ ดังนั้นเมื่อให้การวินิจฉัยโรคเกาต์ แพทย์ผู้ให้การวินิจฉัยจำเป็นต้องมองหาโรคร่วมเหล่านี้ รวมทั้งมองหาโรคหรือภาวะที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูง เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมด้วยทุกครั้ง

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาโรคร่วมจะทำให้การควบคุมเก๊าท์ทำได้ดีขึ้นก็ตาม แต่จากการที่พบว่าโรคร่วมที่พบบ่อย ซึ่งได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในโลหิตสูง ล้วนแต่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะไตวาย ซึ่งในปัจจุบันก็มีข้อมูลที่สนับสนุนว่าภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งภาวะไตวายด้วยเช่นกัน จึงควรทำการรักาได้ด้วยกัน

การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

โดยปกติแล้วโรคเกาต์เป็นโรคที่รักษาด้วยยา แต่มีบางกรณีที่มีภาวะที่จำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดแก้ไข เช่น ในกรณีที่ก้อนโทฟัสโตมากและกดเส้นประสาทหรือไขสันหลัง หรืออยู่บริเวณข้อและทำให้ข้อไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ หรือก้อนอาจไปกดเส้นเอ็นและทำให้เส้นเอ้นขาดได้ เป็นต้น กรณีการผ่าตัดแก้ไขก็จะมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมความผิดปกติต่าง ๆ ให้กลับมาดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การจะผ่าตัดจำเป็นที่แพทย์ต้องเตรียมผู้ป่วยให้ดี เพื่อป้องกันการอักเสบกำเริบหลังการผ่าตัดด้วยเสมอ

สรุป

โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากรดยูริกในเลือดสูงเกิดค่าจุดอิ่มตัว จะมีอาการ

การรักษาโรคเกาต์ประกอบไปด้วย