งูกะปะ [Malayan pit viper ]
สารบัญ
งูกะปะเป็นงูพิษพบได้ทั่วประเทศ ลักษณะหัวเป็นรูปสามเหลี่ยมคอเล็ก ลำตัวอ้วน หางเรียวสั้น มีลายเป็นรูปเหมือนหลังคาบ้านอยู่ด้านข้างตลอดลำตัว ชอบออกหากินเวลาเย็นและกลางคืน ชอบอาศัยในดินปนทรายตามสวนไร่เหมืองแร่เมื่อกัดคนแล้วมักไม่เลื้อยไปไหนจนกระทั่งมีคนมาทุบตีมัน พิษงูกะปะจัดเป็นพวกมีพิษทางโลหิต hemotoxinทำให้เกิดอาการแสดงคล้ายงูแมวเซาแต่รุนแรงน้อยกว่า
อาการงูกะปะกัด
อาการเฉพาะที่
- อาการปวดมีน้อย
- ภายใน 10 นาทีหลังงกะปะกัดูกัด บริเวณรอบแผลจะบวมขึ้นย่างรวดเร็วจนกระทั่งแขนหรือขาข้างนั้นบวมไปหมดภายใน 1 ชั่วโมง
- รอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลตลอดเวลา
- บริเวณแขนขาที่บวมจะมีสีเขียวคล้ำ ผิวหนังเกิดพองตอนแรกมีน้ำใสต่อมาภายหลังมีเลือด
- ภายหลังถูกกัดไม่กี่วันรอยเขี้ยวจะเกิดการเน่า

![]() |
- อาการปวดมีน้อย
- ภายใน 10 นาทีหลังงูกัดบริเวณรอบแผลจะบวมขึ้นย่างรวดเร็วจนกระทั่งแขนหรือขาข้างนั้นบวมไปหมดภายใน 1 ชั่วโมง
- รอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลตลอดเวลา
- บริเวณแขนขาที่บวมจะมีสีเขียวคล้ำ ผิวหนังเกิดพองตอนแรกมีน้ำใสต่อมาภายหลังมีเลือด
- ภายหลังถูกกัดไม่กี่วันรอยเขี้ยวจะเกิดการเน่า
อาการทั่วไปของงูกะปะกัด
มีโลหิตตามอวัยวะต่างๆในราว 3 ชั่วโมง ผิวหนังมีเลือดออกเป็นรอยคล้ำ เลือดออกทางเดินอาหาร เลือดออกตามไรฟัน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากความดันโลหิตต่ำ
การรักษางูกะปะกัด
การรักษา
- ทำความสะอาดแผลเหมือนงูเห่า
- การให้ serum แก้พิษงู จะให้ในกรณีต่อไปนี้
- มีเลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกทางเดินอาหาร
- ควรเจาะเลือดทุกวันเป็นเวลา 72 ชั่วโมง เพื่อดูการแข็งตัวของเลือด
- ค่าการแข็งตัวของเลือดผิดปกติvenous clotting time มากกว่า30 นาที
- เกล็ดเลือดน้อยกว่า 100000
ดูการรักษางูเขียวหางไหม้กัด
หน้าหลัก ชนิดของู พิษของงู การดูแลเบื้องต้น การประเมินความรุนแรง การรักษา การให้เซรุ่ม งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ รายละเอียดงูพิษกัด
ทบทวนวันที่ 15/62554
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว