งูพิษกัด

ท่านผู้อ่านบางท่านคงเคยถูกสัตว์กัดโดยที่มองไม่เห็นตัวมัน อาจจะถูกกัดในพงหญ้า ถูกกัดเวลากลางคืน ถูกกัดบริเวณสวน กอไม้เก่าๆ เป็นต้นดังนั้นเมื่อถูกสัตว์ไม่ทราบชนิดกัด ท่านต้องหาทางให้ทราบว่า

งูพิษเมืองไทยมีกี่ชนิด

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนมีทั้งพื้นที่ลุ่ม ป่า และภูเขาจึงทำให้มีงูชุกชุม ส่วนใหญ่เป็นงูไม่มีพิษ งูพิษที่มีความสำคัญทางการแพทย์เพราะมีคนถูกพวกมันกัดบ่อยๆ มีอยู่ 7 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

ถูกงูพิษกัดจริงหรือไม่

การจะพิจารณาว่าถูกงูกัดหรือไม่จะแบ่งพิจารณาเป็น3หัวข้อ

รอยเขี้ยวงูและรอยเลือดออก

  1. ไม่เห็นสัตว์ที่กัด
  2. เห็นว่าเป็นงูแต่ไม่ทราบชนิดงู
  3. สามารถตีงูได้

กรณีไม่เห็นสัตว์ที่กัด

กรณีเช่นนี้จะเป็นปัญหาในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา การพิจารณาคงต้องอาศัยประวัติช่วย เช่นถ้าถูกกัดบริเวณกิ่งไม้ให้สงสัยว่าจะเป็นงูเขียวหางไหม้ ถ้าถูกกัดตามทุ่งนาให้สงสัยว่าเป็นงูเห่า ถูกกัดบริเวณซอกไม้อาจเป็นงูหรือตะขาบ แมงป่อง ถ้าถูกกัดตามพงหญ้าโดยมากเป็นงูกัด นอกจากนั้นยังต้องดูแผลที่ถูกกัดด้วย ถ้าถูกงูพิษกัดจะต้องมีรอยเขี้ยว 1-2 แผลเสมอมีเลือดออกซึมๆ ถ้าดูแผลแล้วไม่พบรอยเขี้ยวแสดงว่าไม่ใช่งูพิษ

เห็นว่าเป็นงูแต่ไม่ทราบชนิดงู

กรณีนี้ต้องแยกว่าเป็นงูพิษหรืองูไม่มีพิษ โดยอาศัยรอยเขี้ยวถ้ามีรอยเขี้ยวแสดงว่าเป็นงูพิษ แต่ถ้าไม่มีรอยเขี้ยวเป็นงูไม่มีพิษ ต้องถามรายละเอียดลายและสีของงูเพื่อแยกชนิดงู

สามารถตีงูได้

การตีงูให้ตีบริเวณต้นคอแรงๆ จะได้เก็บส่านหัวงูไว้ตรวจว่าเป็นงูชนิดใด การพิจารณาว่าเป็นงูชนิดใดให้ดูจากลายและสีของงู ถ้าเป็นงูพิษจะต้องมีเขี้ยว งูไม่มีพิษจะมีแต่ฟัน

เพื่อความปลอดภัยควรรีบไปพบแพทย์

TOP


ถ้าถูกงูพิษกัดจริง ได้รับพิษมากหรือน้อย และเป็นงูพิษชนิดใด

การยืนยันว่าถูกงูพิษกัดจริงได้แก่ นำงูพิษนั้นมาด้วยหรือรู้จักงูพิษนั้นอย่างดี และหรือมีอาการและอาการแสดงของการถูกงูพิษกัดอย่างใดอย่างหนึ่ง การถูกงูพิษกัดไม่จำเป็นต้องเกิดอาการรุนรงเสมอไป ประมาณ 50%ของผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัดไม่มีอาการอะไรเลย มีเพียง 25%ที่เกิดอาการพิษของงู โดยทั่วไปเราจำแนกพิษของงูได้เป็น 4 ประเภทดังนี้

  1. พิษต่อระบบประสาท [Neurotoxin]ได้แก่พิษของงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม ผู้ที่ได้รับพิษจะทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ลืมตาไม่ได้ กลืนลำบาก  และที่สำคัญคือทำให้หยุดหายใจเสียชีวิตได้
  2. พิษต่อโลหิต [Hemotoxin ] ได้แก่พิษของงูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ ทำให้มีเลือดออกตามที่ต่างๆ ตามผิวหนัง เหงือก อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
  3. พิษต่อกล้ามเนื้อ [Myotoxin] ได้แกพิษงูทะเลทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อมาก ปัสสาวะสีดำเนื่องจากกล้ามเนื้อถูกทำลายเกิด myoglobinuria
  4. พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ [Cardiotoxin] ได้แก่พิษงูเห่า งูจงอาง

 การพิจารณาว่าได้รับพิษจากงูหรือไม่ เป็นพิษชนิดใด และรุนแรงแค่ไหน ต้องอาศัยอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย อาการที่บอกว่าได้รับพิษงูคือ มีรอยเขี้ยวงู ปวด และบวม

  • ถ้าถูกกัดแล้วเกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและเกิดทันที แผลบวมขึ้นรอบแผลมีสีเขียวและมีเลือดออกให้สงสัยว่าเกิดจากงูแมวเซา,งูกะปะ,งูเขียวหางไหม้
  • ถ้าอาการปวดไม่มาก อีก 2-3 ชั่วโมงจึงมีอาการบวมบริเวณแผล ตามด้วยหนังตาตก กลืนลำบากให้คิดถึงงูเห่า
  • ถ้าปวดกล้ามเนื้อมากและเป็นชาวประมง ให้สงสัยเป็นงูทะเล
  • หลังจากถูกกัด 2 ชั่วโมงถ้าแผลไม่บวมและไม่มีอาการอื่นแสดงว่าพิษของงูไม่ได้เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย

TOP

การประเมินความรุนแรง

การดูแลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยและญาติ

แนวทางการรักษา

ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จาก case series และเป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียน
ผู้ป่วยที่ถูกงูกัดเกือบทั้งหมดจะมาตรวจที่ห้องฉุกเฉิน เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล ให้การ
ดูแลรักษาเบื้องต้น ดังนี้
1. ประเมิน ABC และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น : A (Airway), B (Breathing), C
(Circulation)
2. ถ้าผู้ป่วยเอาเชือกรัดเหนือแผลมา ควรคลายเชือกหรือที่รัดออกก่อน
3. อธิบายให้ผู้ป่วยหรือญาติคลายความกังวล
4. ทํ าความสะอาดบริเวณแผลที่ถูกงูกัด ด้วยแอลกอฮอล์หรือ povidine iodine

การป้องกันไม่ให้ถูกงูกัด

เนื่องจากประเทศเรามีงูชุกชุม เราควรเรียนรู้นิสัยบางอย่างของงูเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น วิธีหลีกเลี่ยงมีดังนี้

  1. งูมีพิษไว้ล่าสัตว์ไว้เป็นอาหาร และกลัวคนมากกว่าคนกลัวงูเสียอีก ถ้าไม่บังเอิญไปเหยียบ หรือเข้าใกล้ตัวมัน มันมักจะเลี้ยวหนีไปเอง
  2. พยายามอย่าเดินทางในที่รกมีหญ้าสูงถ้าจำเป็นต้องเดินผ่านควรใส่รองเท้าหุ้มข้อเท้า ใส่กางเกงขายาวและควรมีไม้ตีหญ้าข้างหน้าไว้ด้วย
  3. หลีกเลี่ยงการเดินทางในป่าหรือทุ่งนาเวลากลางคืน หากจำเป็นต้องเตรียมไฟฉายไปด้วย
  4. งูมักจะซ่อนตามซอกแคบๆ ในถ้ำหรือโพรงไม้ เราควรระวังบริเวณเหล่านี้เป็นพิเศษ
  5. อย่าเดินในซอกหินแคบ เพราะงูไม่มีทางหนี
  6. ถ้าต้องพักแรมในป่าอย่านอนกับพื้น
  7. อย่ายกหิน กองเสื้อผ้าเก่าๆ หรือกองหญ้า เพราะเป็นที่ๆงูชอบ

หน้าหลัก ชนิดของู พิษของงู การดูแลเบื้องต้น การประเมินความรุนแรง การรักษา การให้เซรุ่ม งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้