หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การประเมินความรุนแรงไม่ได้กําหนดเกณฑ์ที่แน่นอน แตกต่างกันในแต่ละรายงานประเมินจากอาการและอาการแสดง ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีเพียง 2 รายงานที่ แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความรุนแรงของลักษณะทางคลินิกกับระดับของพิษงูในเลือดความรุนแรงสามารถประเมินได้จากอาการ อาการแสดง และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ-การในกรณีงูแมวเซา ความรุนแรงยังขึ้นกับภาวะ disseminated intravascular coagulation และภาวะไตวายฉับพลัน
ตารางที่ 2 การประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยที่ถูกงูตระกูล Viperidae โดยเฉพาะงูกะปะและงูเขียวหางไหม้
ความรุนแรง | อาการและอาการแสดง | ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ | ||
อาการเฉพาะที่ | เลือดออกผิดปกติ | VCT | เกล็ดเลือด | |
น้อย | บวมเล็กน้อยอาการบวมไม่เกินระดับข้อศอกหรือข้อเข่า | ปกติ | ปกติ | ปกติ |
ปานกลาง | อาการบวมสูงกว่าระดับข้อศอกหรือข้อเข่าอาจพบถุงนํ้า (blister หรือ hemorrhagic bleb) เลือดออกใต้ชั้นผิวหนังหรือเนื้อตาย | ไม่มี | ยาว | ปกติหรือต่ำเล็กน้อย |
รุนแรง | เช่นเดียวกับความรุนแรงปานกลาง | มี | ยาว | ต่ำ |
ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่จะนํามาใช้ ประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยดัง
งูกัดคนอาจจะด้วยความตกใจ หรืออาจจะเป็นงูพิษที่มีขนาดเล็ก หรืออาจจะกัดหลังจากเพิ่งล่าเหยื่อทำให้พิษเข้าสู่ร่างกายน้อย ผลคืออาจจะไม่เกิดอาการเป็นพิษจากงูเลยก็ได้ การให้เซรุ่มจะพิจารณาว่าได้รับพิษงูเข้าไปมากจะเกิดอาการพิษของงู
ได้รับพิษน้อย บริเวณที่ถูกกัดจะมีอาการบวม แดง หรือมีเลือดออก ณ.ตำแหน่งที่มีถูกกัด ไม่มีอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต ผลการตรวจเลือดปกติ |
ได้รับพิษปานกลาง จะมีอาการบวม แดง และมีเลือดออกเพิ่มขึ้น อาจจะลามข้ามข้อ 1 ข้อ ชีพขจรอาจจะเร็ว ความดันอาจจะต่ำเล็กน้อย แต่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต ผลเลือดปกติ |
ได้รับพิษมาก มีอาการบวม แดงและเลือดออกทั้งอวัยวะส่วนนั้น เช่นทั้งแขนและขา ผู้ป่วยอาจจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ หายใจเร็ว หากเป็นงูที่มีพิษต่อระบบประสาทก็จะเกิดอาการทางประสาท ผลเลือดก้จะพบว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เกล็ดเลือดต่ำ(PT,PTT Prolong ) |
หน้าหลัก ชนิดของู พิษของงู การดูแลเบื้องต้น การประเมินความรุนแรง การรักษา การให้เซรุ่ม งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ รายละเอียดงูพิษกัด