โรคลมแดด

โรคลมแดดหมายภึงโรคที่เกิดจากภาวะอุณหภูมิในร่างกายสูง และร่างกายปรับตัวไม่ได้ โลกเรากำลังเผชิญกับ ภาวะเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิของโลก เพิ่มขึ้น น้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลก มีการละลายเพิ่มขึ้น รวมทั้งระดับน้ำในทะเล ก็สูงขึ้นทำให้โลกร้อนขึ้น มีโอกาสที่จะเกิดโรคลมแดด เพิ่มขึ้น เป็นภาวะที่เกิดจากอากาศร้อนที่มีความรุนแรงกว่าเพลียแดด เป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมักจะเกิดจากปัจจัยต่างๆได้แก่

  1. ตัวผู้ป่วยมีภาวะหรือได้รับยาที่ทำให้ระบบระบายความร้อนของร่างกายผิดปกติ
  2. คนที่แข็งแรงเมื่ออกกำลังกายในสภาพที่มีอากาศร้อนเป็นเวลานาน
  3. เด็กและคนชราจะมีโอกาศเกิดภาวะดังกล่าวสูง โดยเฉพาะหากได้รับยาแก้แพ้หรือยาลดความดันโลหิต

อาการและอาการแสดง

จะมีอาการและอาการแสดงเหมือนกับ heat Heat Exhaustion

  • ผู้ป่วยจะตัวแดง ตัวร้อน เหงื่อจะออกมากในช่วงแรก ตอนหลังผิวจะแห้งเหงื่อออกน้อย เมื่อมีไข้ร่างกายจะขับเหงื่อออกมาเพื่อลดความร้อน หากร่างกายขาดน้ำเหงื่อก็ออกน้อยทำให้ไข้จะสูง
  • มึนงง สับสน หรืออาจจะไม่รู้สึกตัว สับสนและกระวนกระวาย
  • หายใจไวหายใจลำบากซึ่งอาจจะเกิดจากอวัยวะภายในเริ่มมีปัญหา
  • ชีพขจรเร็ว ชีพขจรจะเร็วเนื่องจากไข้ และร่างกายขาดน้ำ
  • ความดันโลหิตอาจจะสูงเล็กน้อยในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อร่างกายขาดน้ำมากความดันจะต่ำลง
  • ในรายที่เป็นมากระบการแข็งตัวของเลือดจะผิดปกติ เลือดออกง่าย ไอเป็นเลือด ถ่ายดำ ปัสสาวะเป็นเลือด หรืออาจจะรุนแรงจนเลือดออกในสมอง
  • อุณหภูมิมักจะมากกว่า 41 องศา ซึ่งหมายถึงร่างกายไม่สามารถจัดการกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น
  • คลื่นไส้ซึ่งเป็นผลมาจากไข้ขึ้น
  • ปวดศีรษะเนื่องจากร่างกายขาดน้ำและไข้ขึ้นเร็ว
  • อ่อนเพลียจนไม่สามารถที่จะยืนได้
  • ตะคริวเนื่องจากเกลือแร่เสียสมดุล
  • มีภาพหลอน
  • ชักเนื่องจากไข้สูง

จะไปพบแพทย์เมื่อไร

ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นลมแดดหากมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบนำตัวไปพบแพทย์

  • สับสน ไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติ
  • ปวดท้องหรือแน่หน้าอก
  • ไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ
  • อุณหภูมิมากกว่า 104 องศาฟาร์เรนไฮด์
  • อุณหภูมิไม่ลดแม้ว่าจะให้การดูแลในเบื้องต้น
  • ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว

หากเราพบผู้ที่มีอาการดังกล่าวจะให้การปฐมพยาบาลอย่างไร

  • ให้น้ำดื่ม อาจจะเป็นน้ำเกลือแร่ก้ได้
  • นอนพัก
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หรืออาบน้ำ
  • นอนในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ
  • สวมเสื้อบางๆ
  • ห้ามใช้แอลกอฮอลล์เช็ดตัว

การรักษาโรคลมแดด

  • แพทย์จะลดอุณหภูมิของร่างกายอย่างรวดเร็ว
  • แพทย์อาจจะนำผ้าชุบน้ำเย็นมาลดความร้อนบริเวณขาหนีบ หรือรักแร้ และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามตัว
  • ให้ยาเพื่อลดอาการหนาวสั่น
  • แพทย์จะวัดปริมาตรของปัสสาวะ

 


ภาวะอุณหภูมิในร่างกายสูง

ร่างกายเราขับความร้อนออกจากร่างกายได้อย่างไร

เรื่องเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่น่าสนใจ

ร่างกายของคนเราได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อม และจากการสร้างความร้อของร่างกายเช่น ในขณะพักร่างกายเราสามารถสร้างความร้อนและมีอุณหภูมิเพิ่ม 1.1 องศาเซ้นติเกรดต่อชั่วโมง ในขณะที่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะสร้างความร้อนได้ 15 เท่าในขณะที่พัก แต่ร่างกายของเราสามารถปรับอุณหภูมิให้คงที่(Core Temperature) ที่ 37 องศาเซ็นติเกรด(98.6 f) โดยอาศัยกระบวนการดังนี้

  1. Conduction คือการนำความร้อนออกจากร่างกาย โดยจะต้องมีสื่อการมาสัมผัส เช่น น้ำ ร่างกายจะใช้กลไกนี้ในการขับความร้อนได้เพียงร้อยละ2-3 ของความร้อนที่ร่างกายผลิตได้
  2. Convection คือการกระจายความร้อนของร่างกายสู่สิ่งแวดล้อมรอบตัว ร่างกายเราใช้กระบวนการนี้ขับความร้อนได้ร้อยละ 10 ของความร้อนที่ผลิตได้ แต่หากอุณหภูมิอากาศสูงกว่าร่างกายของเรา ก็ไม่สามารถใช้กระบวนการนี้ในการขับความร้อนออกจากร่างกาย
  3. Radiation คือการที่ร่างกายขับความร้อนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ร่างกายเราใช้กระบวนการนี้ขับความร้อนได้ถึงร้อยละ65 ของความร้อนที่ผลิตได้ แต่หากอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้นก็จะขับความร้อนได้น้อยลง
  4. Evaporation ร่างกายเราขับความร้อนโดยผ่านทางเหงื่อ น้ำลาย สามารถขับความร้อนได้ร้อยละ30 ของความร้อนที่ผลิตได้

จะเห็นได้ว่าร่างกายเราจะขับความร้อนส่วนใหญ่คือวิธีที่3และ4 แต่เมื่ออุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น ร่างกายเราจะเหลือวิธีการขับความร้อนโดยทางเหงื่อและทางหายใจได้อย่างเดียว


การปรับตัวกับความร้อน

ความสามารถในการปรับตัวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นกับ สุขภาพ อายุ และสภาพแวดล้อมซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวเป็นวันหรือสัปดาห์โดยจะมีการปรับตัวดังนี้ เหงื่อจะออกเร็วขึ้นและมีปริมาณมากขึ้น ปริมาณเกลือในเหงื่อจะน้อยลง หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น มีการสร้างฮอร์โมนเพื่อเก็บน้ำและเกลือเพิ่มขึ้น

เมื่ออุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นจะกระตุ้นสมองส่วน hypothalamus และสมองส่วนปลายทำให้เลือดไหลไปผิวหนังเพิ่มขึ้น เหงื่อออกมากขึ้น หายใจเร็วขึ้นเพื่อขับความร้อนออกจากร่างกาย สำหรับผู้สูงอายุหรือคนป่วยความสามารถเหล่านี้จะเสียไปทำให้อุณหภูมิร่างกายสูง


ร่างกายเราจะทนกับอุณหภูมิได้แค่ไหน

ร่างกายเราสามารถทนกับอุณหภูมิที่ 42 องศาได้ 45 นาทีถึง 8 ชั่วโมงเซลล์ของร่างกายจะสร้าง heat-shock proteins ซึ่งจะทำให้เซลล์มีความทนต่อความร้อน ทนต่อการขาดเลือดหรือแม้กระทั่งการขาดออกซิเจน ทำให้เซลล์ตายช้าลง


ความรุนแรงของโรคลมแดด

สาเหตุของหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคลมแดด

  • โรคประจำตัว
    • โรคหัวใจ
    • โรคผิวหนัง (eg, scleroderma, ectodermal hyperplasia)
    • ไฟไหม้ผิวหนัง
    • ร่างกายขาดน้ำ (เช่น อาเจียน ท้องร่วง)
    • โรคต่อมไร้ท่อ (เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ, เบาหวาน, pheochromocytoma)
    • โรคระบบประสาท(เช่น, autonomic neuropathies, parkinsonism, dystonias)
    • สมองเสื่อม
    • ไข้
  • พฤติกรรม
    • ออกกำลังกายหรือทำงานในสภาพอากาศร้อนจัด
    • ระบบระบายอากาศไม่ดี
    • ใส่เสื้อผ้าหนาหรือกันการระเหยของเหงื่อ
    • ดื่มน้ำน้อย
  • ยาหรือสารพิษ
    • ยาลดความดันโลหิต Beta-blockers
    • Anticholinergics
    • ยาขับปัสสาวะ Diuretics
    • สุรา Ethanol
    • ยาแก้แพ้ Antihistamines
    • ยาต้านการซึมเศร้า Cyclic antidepressants
    • Sympathomimetics (eg, cocaine, amphetamines)
    • Phenothiazines
    • Lithium
    • Salicylates
  • ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น
  • ขาดน้ำและเกลือแร่ Salt or water depletion
  • อ้วน Obesity
  • อยู่คนเดียว Living alone
  • ผู้ป่วยนอนบนเตียงช่วยตัวเองไม่ได้ Confined to bed
  • สูงอายุExtremities of age

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


ลมแดด2

ภาวะขาดน้ำ

การออกกำลัง | เมื่อไร่ต้องปรึกษาแพทย์ | ตะคริว | คำนิยาม | ออกกำลังแค่ไหนถึงพอ | ออกกำลังอย่างปลอดภัย | วิธีออกกำลัง | การประเมินการออกกำลัง | จะออกกำลังนานแค่ไหน | การอุ่นร่างกาย | ทำไมต้องออกกำลัง | การดื่มน้ำก่อนออกกำลังกาย | ออกกำลังกายมากไป

ลมแดด2 ตะคริว