หน้าหลัก | สุขภาพดี
| สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ยาต้นการแข็งตัวของเลือด warfarin
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา
- ยานี้ใช้เพื่อป้องกันการเกิดและการขยายตัวของลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
- ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในผู้ที่มีปัญหาหัวใจเต้นแบบสั่นพริ้ว Atrial fibrillation หรือมีภาวะหัวใจวาย
- หรือใช้เพื่อป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (venous thrombosis) หรือภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดที่ปอด (pulmonary embolism)
วิธีใช้ยา
- โดยทั่วไปรับประทานวันละ 1 ครั้งหากไม่แน่ใจวิธีรับประทานยา ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หรือให้ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
- รับประทานยานี้ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แต่ควรรับประทานยาให้ตรงเวลาทุกครั้ง
- หากจะต้องทำฟันต้องแจ้งทันตแพทย์ว่ารับประทานยานี้ และห้ามหยุดนี้ก่อนที่จะปรึกษาแพทย์ที่รักษาท่านอยู่
- แพทย์อาจปรับขนาดยาตามผลการตรวจเลือด ดังนั้นควรถามแพทย์ทุกครั้งว่ามีการเปลี่ยนยาหรือไม่ หรือเมื่อรับยาแล้วหากมีการเปลี่ยนชนิดของยา หรือวิธีรับประทานยาโดยที่แพทย์ไม่ได้แจ้ง ต้องกลับไปถามแพทย์ทุกครั้ง
- โดยทั่วไปแพทย์จะใช้ยาชื่อการค้าเดียวกัน แต่ในบางกรณีที่จะต้องใช้ยาสองชนิดหรือสองขนาด ดังนั้นควรจะเข้าใจวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง
- ไม่ควรซื้อยาอื่นๆมารับประทานโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในระหว่างที่รับประทานยานี้อยู่
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
- มีประวัติแพ้ยา warfarin หรือแพ้ยาอื่นๆ
- ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชเกี่ยวกับยา วิตามิน หรือสมุนไพรที่รับประทานอยู่ทุกชนิดแม้ว่าจะรับประทานยานั้นอยู่ก่อนเป็นเวลานาน โดยเฉพาะยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดเช่นกลุ่มยาแก้ปวด แอสไพริน
- ยาสมุนไพรเช่น bromelains, coenzyme Q10 (Ubidecarenone), cranberry, danshen, dong quai, กระเทียม, ใบแปะก๊วย,โสม,และ St. John's wort ยาเหล่านี้มีผลต่อยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ท่านต้องแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวเช่น โรคตับ ไต ต่อมไทรอยด์ ลำไส้อักเสบ diverculitis โรคเลือด โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน ลิ้นหัวใจอักเสบ ภาวะขาดโปรตีนหรือวิตามิน หรือ การผ่าตัดที่ผ่านมาไม่นาน
- ตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- หากต้องเข้ารับการผ่าตัด ทำฟัน หรือฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือยาฉีดอื่นๆที่ฉีดเข้ากล้าม ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการรักษา
- ประวัติการดื่มสุรา
ห้ามรับประทานอาหารอะไรบ้าง
ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรจะรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และให้หลีกเลี่ยงดังต่อไปนี้
- หากจะลดน้ำหนักโดยการเปลี่ยนแปลงอาหารต้องปรึกษาแพทย์และเภสัช
- หลีกเลี่ยงการรับประทานผักใบเขียวที่มากกว่าปกติ
- หลีกเลี่ยงอาหารมันที่ปรุงจากน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง canola เพราะน้ำมันเหล่านี้มีวิตามินเค สูง
- หลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของ cranberries
อาการที่บอกว่ามีผลข้างเคียงของยา
- ถ่ายอุจาระดำ หรือเป็นเลือด
- ไอเสมหะปนเลือด
- ประจำเดือนมามาก
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- อาเจียนเป็นเลือดหรือดำ
- ตุ่มเลือดใต้ผิวหนัง
- เกิดจ้ำเลือดได้ง่าย
- เลือดออกง่าย
หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ต้องหยุดยาและไปพบแพทย์ทันที
- ปวด บวม หรือมีการเปลี่ยนแปลงสีของผิวหนัง
- มีอาการปวดแบบปัจจุบันของเท้า เกิดแผลที่เท้า สีของนิ้วเท้าเป็นสีม่วง
- มีอาการปวดแบบปัจจุบัน และนิ้วมือหรือนิ้วเท้ามีการเปลี่ยนเป็นสีม่วง
- ปวดศีรษะมากแบบเฉียบพลัน หรือมีอ่อนแรง
- มีเลือดออกเช่น เลือดกำเดา ประจำเดือนมามาก ถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือด
ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยาหรือใช้ยา
- โดยทั่วไปถ้าลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปเลยโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า
- จดบันทึกวันที่ลืมรับประทานยา แล้วแจ้งให้แพทย์ทราบในการพบแพทย์ครั้งต่อไป
- ถ้าลืมรับประทานยานี้เป็นเวลา 2 วันหรือนานกว่านั้น ให้ปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อรับคำแนะนำ
อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
- อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันทีมีดังนี้
- ผื่นคัน ผื่นลมพิษ
- หายใจลำบาก หรือหายใจมีเสียงหวีด
- กลืนลำบาก หน้า ลำคอ ริมฝีปาก ลิ้น หรือตาบวม เสียงแหบ
- เจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มือ เท้า ข้อเท้า หรือขาส่วนล่างบวม
- มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดบริเวณท้องด้านขวาส่วนบน ตาหรือตัวเหลือง
- อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
- เคลื่อนไหวลำบาก ชา รู้สึกแสบหรือร้อนที่ผิว
- เลือดออกผิดปกติ เช่น หยุดไหลยาก เลือดออกในตา เหงือก หรือจมูก มีจุดแดงที่ผิว อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้ม อุจจาระเป็นเลือดหรือมีสีดำเข้ม
- ปวดหลัง เจ็บนิ้วเท้า หรือนิ้วปลายเปลี่ยนเป็นสีม่วง ตัวบวม หรือน้ำหนักขึ้นผิดปกติ เหนื่อย อ่อนเพลียผิดปกติ เจ็บบริเวณอวัยวะเพศชายเป็นเวลานานเมื่ออวัยวะเพศมีการแข็งตัว
- อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดระหว่างใช้ยา หากเป็นต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ มีดังนี้
- การรับรสอาหารเปลี่ยนไป เบื่ออาหาร ผมร่วง มีลมในกระเพาะอาหาร
การเก็บรักษายา
- เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
- เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณที่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
- ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ
- เก็บยานี้ในภาชนะที่ป้องกันแสงได้ เช่น ขวดหรือซองสีช