ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือชาวบ้านเรียกยาละลายลิ่มเลือดเมื่อเกิดแผลหรือเลือดออกก็จะเกิดลิ่มเลือดทำให้เลือดหยุด แต่ในบางภาวะการเกิดลิ่มเลือดจะเกิดง่ายและเกิดผลเสีย เช่นหัวใจเต้นสั่นพริ้ว ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ลิ่มเลือดเกาะที่ลิ้นหัวใจ ลิ่มเลือดดังกล่าวจะไปอุดหลอดเลือดทำให้เกิดโรคเช่นอัมพาตเป็นต้น
ผลข้างเคียงยานี้อาจจะทำให้เลือดออกง่ายดังนั้นจะต้องปฏิบัติตามแพทย์
ยานี้มีปฏิกิริยากับยาหลายอย่างดังนั้นห้ามซื้อยารับประทานเอง
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
(oral anti-coagulant) coumadin
เมื่อไรจึงจะใช้ยาละลายลิ่มเลือด warfarin
Warfarin เป็นยาในกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดกิน (oral anti-coagulant) มีข้อบ่งใช้ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือดจนเกิดการอุดตันของหลอดเลือด ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว
อาการไม่พึงประสงค์
อาการไม่พึงประสงค์หลักของ warfarin ได้แก่ ภาวะเลือดออก ซึ่งอาการบ่งบอกว่ามีภาวะดังกล่าวได้แก่ อาการปวดท้อง ถ่ายดำ อาเจียนหรือไอเป็นเลือด พบจ้ำเลือดตามผิวหนัง เป็นต้น โดยความเสี่ยงของการเกิดเลือดออก จะเพิ่มสูงขึ้นในผู้ที่มีภาวะเหล่านี้
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่อง clotting factor,เกล็ดเลือดต่ำ thrombocytopenia,
- ผู้ป่วยที่ตับ และไตบกพร่อง,
- การใช้ร่วมกับยาในกลุ่มต้านเกล็ดเลือด antiplatelets เป็นต้น.
อาการผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
หากอาการดังกล่าวรุนแรง หรือไม่หายจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
- ลมพิษ
- ผื่นบริเวณผิวหนัง
- คันตามตัว
- กลืนอาหารหรือหายใจลำบาก
- หนังตา หน้า ลิมฝีปากบวม
- เสียงแหบ
- แน่นหน้าอก
- มือเท้าบวม
- ไข้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องร่วง
- ปวดท้องบริเวณกระเพาะอาหาร
- เบื่ออาหาร
- ผิวและตาเหลือง
- อาการเหมือนไข้หวัดใหญ่
- ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ
- ชา ปวดแสบร้อนผิวหนัง
- ปวดอวัยวะเพศเมื่อแข็งตัว
- มีก๊าซในท้องทำให้แน่นท้อง
- รับรสอาหารผิดไป
- ออ่นเพลีย
- ผิวซีด
- ผมร่วง
- รู้สึกหนาวสั่นเหมือนไม่มีไข้
ข้อสำคัญยาละลายลิ่มเลือดอาจจะทำให้เกิดผิวหนังตายจากการขาดเลือด ดังนั้นต้องหมั่นตรวจผิวหนังหากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงผิวหนัง มีแผล หรือมีอาการปวด ต้องรีบแจ้งแพทย์ รวมทั้งการเกิด purple toe syndrome และ skin necrosis
หากพบอาการดังกล่าวจะต้องหยุดยาและพบแพทยทันที อาการดังกล่าวได้แก่
- ถ่ายอุจารเป็นเลือดแดง หรือแดงดำ หรือถ่ายดำแบบยางมะตอย
- ไอเสมหะมีเลือดปน
- ประจำเดือนมามาก
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- ไอหรืออาเจียนสีคล้ำเหมือนน้ำโคก
- มีจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง
- เลือดไหลจากแผลตลอด
การตรวจติดตามความปลอดภัย
เนื่องจากยานี้หากได้มากไปจะเกิดเลือดออกดังนั้นจะต้องเจาะเลือดเพื่อความปลอดภัยโดยการเจาะ International Normalized Ratio (INR) ตลอดระยะเวลาที่ใช้ยา
โดยปกติค่าจะรักษาค่า INRจะมีค่าเท่าใด
- จะรักษาค่า INR มีเป้าหมายอยู่ที่ 2.0-3.0
- ยกเว้นในผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียมอาจมีเป้าหมายอยู่ที่ 2.5-3.5.
สิ่งหนึ่งที่พึงระลึกถึงในการติดตามค่า INR คือ ค่า INR จะอยู่ในระยะคงที่ (steady state) ภายหลังจากได้รับยาแล้วประมาณ 7-10 วัน. ดังนั้นความจะปรับยาหลังจากได้ยาอย่างน้อย 3 วันเพื่อมิให้เกิดปัญหาเลือดออก
- นอกจากนี้ภาวะของร่างกายบางอย่าง อาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา warfarin ได้เช่น การมีไข้ หรือภาวะ hyperthyroid ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีการทำลาย clotting factor มากขึ้น ทำให้ฤทธิ์ของยาเพิ่มขึ้น.
- ในทางตรงข้ามภาวะ hypothyroid จะทำให้การทำลาย clotting factor ต่างๆ ลดลง ดังนั้นจึงมีผลลดฤทธิ์ของยา warfarin ได้.
ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหารและกับยาด้วยกัน
ยาที่มีผลเพิ่มฤทธิ์ของวาร์ฟารินทำให้เลือดออกง่าย
การใช้ warfarin ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด (antiplatelet agents) เช่น ASA, clopidogrel รวมทั้งยากลุ่ม NSAIDs จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออก จึงต้องใช้ร่วมกันอย่างระมัดระวังเช่นเดียวกัน.
ยาที่มีผลลดฤทธิ์ของวาร์ฟาริน เช่น
- ยากันชัก บางตัว เช่น Carbamazepine, Phenytion, pheno barbitol,
- ยาฆ่าเชื้อ บางตัว เช่น Rifampin, Griseofulvin
- ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน หรือยาแผนโบราณอื่นๆ ก็อาจมีผลต่อระดับยาวาร์ฟาริน ได้เช่นกัน
- อาหาร อาหารบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยากับยาวาร์ฟารินได้ เช่นเดียวกับยา ได้แก่ อาหารที่มีวิตามิน เค สูง เช่น ผักใบเขียว
จะต้องรับประทานอาหารอย่างไร
เนื่องจาก warfarin เป็น vitamin K antagonists ดังนั้นอาหารที่มีวิตามินเคสูง เช่น ตับ ชาเขียว ผักใบเขียว (อาทิ ผักขม ผักกาดหอม กระหล่ำต่างๆ) น้ำมันจากพืช อาจมีผลต้านการออกฤทธิ์ของ warfarin ได้ ในทางปฏิบัติไม่ได้ห้ามผู้ป่วยกินอาหารดังกล่าว เพียงแต่แนะนำให้กินในปริมาณที่คงที่. การกินอาหารที่มีวิตามินเคสูง อย่างไม่สม่ำเสมอจะส่งผลกระทบถึงการปรับขนาดยาที่ไม่เหมาะสม จนผู้ป่วยอาจเกิดอันตรายได้.
ก่อนจะใช้ยานี้จะต้องแจ้งแพทย์เรื่องอะไรบ้าง
- หากเคยแพ้ยานี้จะต้องแจ้งแพทย์
- แจ้งแพทย์และเภสัชหากท่านรับยาอื่น เช่นยาที่ซื้อรับประทานเอง หรือยาที่รับจากโรงพยาบาลอื่น เช่น ยาปฏิชีวนะ แอสไพริน ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ,heparin,ยาคุมกำเนิด
- ต้องแจ้งแพทย์ยาวิตามินและสมุนไพรที่รับประทาน เช่น coenzyme Q10 โสม ใบแป๊ะก๊วย
- หากท่านมีโรคต่อมไทรอยด์ โรคเบาหวาน ท้องร่วง จะต้องแจ้งแพทย์
- แจ้งแพทย์หากท่านตั้งใจจะตั้งท้อง หรือท้องขณะรับยาละลายลิ่มเลือดจะต้องแจ้งทันที่ที่ทราบว่าตั้งท้อง
- หากให้นมบุตรต้องแจ้งแพทย์
- ขณะที่รับประทานยาและจะทำฟันหรือผ่าตัดจะต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้งก่อนทำฟันหรือผ่าตัด และไม่ควรจะหยุดยาละลายลิ่มเลือดเอง
- ไม่ควรดื่มสุรา
- หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้าม
ข้อปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยา Warfarin
- หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก
- สวมถุงมือหากต้องใช้อุปกรณ์มีคม
- ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ระมัดระวังการลื่นล้ม โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ
- สวมหมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์
- หลีกเลี่ยงการนวดที่รุนแรง
- หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้าม
- แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทุกครั้งว่ารับประทานยา Warfarin
- หากมีการย้ายถิ่นฐาน ให้นำประวัติผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเดิมมาด้วย
การเก็บยา
เนื่องจากยานี้มีอันตรายมาก ควรจะเก็บยาให้พ้นจากมือเด็ก
สอบถามเพิ่มเติม