การรักษาครรภ์เป็นพิษ

เมื่อได้รับวินิจฉัยว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษ ในช่วงแรกหากอาการไม่รุนแรงแพทย์จะให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการ และเฝ้าระวังผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน เมื่อมั่นใจว่าเป็นชนิดไม่รุนแรงและการดำเนินของโรคไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แพทย์จะให้กลับบ้านโดยให้พัก ผ่อนอยู่บ้าน ให้วัดความดันโลหิตที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือที่บ้าน ตรวจนับการดิ้นของทารกเองโดยนับเมื่อประมาณ 1 ชั่วโมงหลังอาหาร รวมกันสามครั้ง ต้องดิ้นมากกว่าวันละ 10 ครั้ง และแพทย์อาจนัดพบสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค และตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์

แต่หากพบอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบมาโรงพยาบาลฉุกเฉิน

  • ปวดศีรษะ
  • ตามัวลง
  • ทนแสงจ้าไม่ได้
  • กระสับกระส่าย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • บวมหลังเท้า
  • แน่นท้องชายโครงขวา
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • ความดันโลหิตมากกว่า หรือเท่ากับ 160/110 มม.ปรอท
  • ทารกดิ้นน้อยกว่าวันละ 10 ครั้ง
  • มีอาการน้ำเดิน (มีน้ำผิดปกติไหลออกทางช่องคลอด)
  • ปวดศีรษะรุนแรง ตาพร่ามัว จุกแน่นใต้ลิ้นปี่

การรักษาครรภ์เป็นพิษ

แพทย์จะให้ยา

  • ยาลดความดันโลหิตซึ่งจะคุมความดันมิให้สูง
  • ยา steroid จะให้ในรายที่มีโรคแทรกซ้อนที่เรียกว่า HELLP syndrome
  • ยากันชัก

การรักษาทั่วๆไป

การพักผ่อน

หากครรภ์เป็นพิาไม่รุนแรงแพทย์จะสั่งให้พักอยู่บนเตียง เพื่อลดความดันโลหิต และให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกเพิ่มขึ้น และมีเวลาให้เด็กโตขึ้น ต้องนั่งนอนบนเตียงให้มากที่สุด

หากเป็นครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน มีการวัดความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด หากความดันโลหิตสูงมากกว่า หรือเท่ากับ 160/110 มม.ปรอท จำเป็นต้องได้รับยาลดความดันโลหิต มีการติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์โดยเครื่องอัลตราซาวด์เป็นระยะๆ จำเป็นต้องได้รับยาป้องกันการชักระหว่างรอคลอดจนถึงหลังคลอด 24 ชั่วโมง ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องรับยุติการตั้งครรภ์ซึ่งอาจให้ยากระตุ้นชักนำการคลอด ทั้งนี้สามารถคลอดทางช่องคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศหรือคีมช่วยคลอด แต่จะผ่าตัดคลอดเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น มารดามีภาวะปากมดลูกไม่เปิด เป็นต้นหากคุณเป็นครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงจะต้องนอนโรงพยาบาล และมีการตรวจสุขภาพเด็กอย่างสม่ำเสมอ

การคลอด

จะเป็นการรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ หากคุณแม่เสี่ยงต่อการชัก มดลูกแตก หลอดเลือดสมองแตก เกณฑ์ในการคลอดคือ

  • การทดสอบบอกว่าเด็กไม่แข็งแรง
  • ความดันตัวล่างมากกว่า 100 มม ปรอทตลอด 24 ชั่วโมง หรือมากกว่า 110 มม ปรอทT
  • ผลการตรวจเลือดตับพบว่าผิดปกติ
  • ปวดศีรษะมาก
  • ปวดท้องมาก
  • ชักหรือซึมลง
  • น้ำท่วมปอด
  • เกล็ดเลือดต่ำ
  • ปัสสาวะออกน้อย

สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย ผู้ที่เสี่ยง การรักษา โรคแทรกซ้อน ครรภ์เป้นพิษ

Google
 

เพิ่มเพื่อน