หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน | อาหารเพื่อสุขภาพ
หญิงที่ตั้งครรภ์เมื่อต้องได้รับการตรวจ x-ray จะมีความกังวลว่ารังสีจะมีผลต่อทารกหรือไม่ การที่แพทย์จะสั่งการตรวจรังสีในคนตั้งครรภ์แพทย์จะประเมินประโยชน์และโทษ หากมีประโยชน์มากกว่าโทษแพทย์ก็จะสั่งการตรวจ
รังสีที่เราได้รับ มาจาก
หน่วยที่ใช้วัดรังสีมีด้วยกันหลายวิธี
ผลของ x-ray ต่อทารกมีได้ 2 รูปแบบกล่าวคือ
1รูปแบบที่สามารถคาดการณ์ได้
ผลของx-ray ต่อทารกในรูปแบบนี้มักจะเกิดในขณะทารกอยู่ในครรภ์ ในขณะที่เซลล์ของทารกมีจำนวนน้อย และกำลังจะจะพัฒนาเป็นอวัยวะ และมักจะขึ้นกับปริมาณรังสีที่ได้รับ
2ผล x-ray ต่อทารกในระยะยาว
ผลต่อทารกระยะยาวจะเกิดหลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว ซึ่งพบได้ทั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมไทรอยด์หรือมะเร็ง การเกิดโรคไม่ขึ้นกับขนาดของรังสีที่ได้รับ
การป้องกันรังสีโดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก หากแพทย์สั่งการตรวจในระยะ 3 เดือนแรกคุณแม่จะต้องถามว่าการตรวจมีผลถึงบุตรหรือไม่ สมาคมรังสีของอเมริกาแจ้งว่าการใช้x-ray เพื่อการวินิจฉัยเพียงครั้งเดียวไม่มีผลต่อทารก การสัมผัสรังสีขนาดน้อยกว่า 50 mGy ก็ไม่พบว่ามีผลต่อทารก
คุณแม่จะได้รับรังสีจากการตรวจ x-ray แต่ละชนิดเท่าไร
การตรวจทางรังสีทั่วไป
การตรวจ CTนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อการวินิจฉัยโรค
การตรวจโดยการกลืนแป้ง การสวนสีทางลำไส้ หรือการฉีดสีเข้าหลอดเลือด
การตรวจดังกล่าวจะเหมือนการถ่ายภาพยนต์ซึ่งจะต้องสัมผัสรังสีมากกว่าการตรวจปอด
การตรวจทาง Nuclear medicine เช่นการตรวจ scan ของกระดูก ไทรอยด์ ปอด การตรวจด้วยวิธีนี้ทารกจะได้รับรังสีมากกว่าการ x-ray
เป็นการตรวจที่ปลอดภัยสำหรับทารก นอกจากจะต้องมีการฉีดสี Gadolinium เพื่อการวินิจฉัยจะมีความเสี่ยงต่อทารก ซึ่งไม่แนะนำให้ฉีดสีนี้ในระหว่างการตั้งครรภ์
ตารางแสดงการตรวจและรังสีที่ทารกได้รับระหว่างการตรวจ
การตรวจ | ค่าเฉลี่ย mGy | สูงสุด mGy |
x-ray ช่องท้อง Abdominal radiograph | 1.4 | 4.2 |
x-ray ทรวงอก Chest radiograph | < 0.01 | < 0.01 |
ฉีดสีตรวจไต IV pyelogram | 1.7 | 10 |
ตรวจกระดูกสันหลัง Lumbar spine | 1.7 | 10 |
x-ray กระดูกเชิงกราน Pelvis | 1.1 | 4 |
ตรวจกระโหลก Skull | < 0.01 | < 0.01 |
ตรวจกระดูกสันหลังบริเวณอก Thoracic spine | < 0.01 | < 0.01 |
กลืนแป้งตรวจกระเพาะ Barium meal | 1.1 | 5.8 |
สวนสีตรวจลำไส้ใหญ่ Barium enema | 6.8 | 24 |
ตรวจ CT ช่องท้อง Abdominal CT scan | 8.0 | 49 |
ตรวจ CT ช่องอก Chest CT scan | 0.06 | 0.96 |
ตรวจ CT ช่องเชิงกราน Pelvic CT scan | 25 | 79 |
ตรวจ CT ศีรษะ Head CT scan | < 0.005 | < 0.005 |
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์จะส่งผลถึงทารกในแง่ความรู้ที่เกิดจากคลื่นเสียงความถี่สูง โดยเฉพาะการตรวจ pulsed Doppler, color flow การป้องกันการเกิดผลเสียจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงได้แก่ การลดระยะเวลาในการตรวจ หลีกเลี่ยงอวัยวะที่สำคัญ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่องมือ
ผลต่อสุขภาพทารกจากรังสี | ผลกระทบจากโลหะหนัก | ยาฆ่าแมลงมีผลต่อทารกหรือไม่ | ผลกระทบจากสารเคมี | ผลกระทบจากยา | nutrition | สารเสพติด |