การใช้ยาในคนตั้งครรภ์
จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 90 ของคนตั้งครรภ์จะรับประทานยาระหว่างการตั้งครรภ์ และมีคนตั้งครรภ์ส่วนหนึ่งรับประทานยามากกว่า 4 ชนิด ดังนั้นยาเป็นสารเคมีที่สำคัญที่ผ่านจากรกไปยังทารกดังนั้นการใช้ยาในคนตั้งครรภ์ต้องระมัดระวัง
เราจะรู้ได้อย่างไรว่ายาจะปลอดภัยสำหรับคนตั้งครรภ์
ยาที่จำนำมาใช้ในคนตั้งครรภ์จะต้องมีการศึกษาเป็นอย่างดี และเมื่อยาออกสู่ท้องตลาดจะต้องมีการติดตามผลของยา ยาแผนปัจจุบันทุกชนิดจะต้องมีการระบุถึงความปลอดภัยเมื่อใช้ในคนตั้งครรภ์โดยแบ่งเป็นระดับดังนี้
- Category A: จากการศึกษาในคนไม่พบความเสี่ยงต่อทารก
- Category B:จากการศึกษาในสัตว์ไม่พบความเสี่ยงต่อตัวอ่อน จากการสังเกตไม่พบความเสี่ยงในคน แต่มีความเสี่ยงบ้างในสัตว์
- Category C:มีผลเสียในสัตว์ แต่ยังไม่มีการศึกษาในคน
- Category D:มีหลักฐานว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อทารกในคน การจะใช้ยานี้จะต้องเทียบประโยชน์และโทษ
- Category X: ยาดังกล่าวมีผลเสียต่อทารกดังนั้นจึงไม่ควรใช้ในคนตั้งครรภ์
ข้อที่ควรจะคำนึงถึง ยาที่มีผลต่อการพัฒนาของอวัยวะหากคนตั้งครรภ์ได้รับยาในช่วงที่มีการพัฒนาของอวัยวะคือประมาณสัปดาห์ที่2-8 ดังนั้นหากได้รับยาในช่วงดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงต่ออวัยวะพิการ
ยาที่อาจจะทำให้เกิดทารกพิการ
- ยารักษาความดันโลหิตกลุ่ม ACE (angiotensin converting enzyme)
- ยารักษาความดันโลหิตกลุ่ม angiotensin II antagonist
- ยารักษาสิว Isotretinoin (an acne drug)
- alcohol
- cocaine
- vitamin A ในขนาดสูง
- lithium
- ฮอร์โมนเพศชาย
- ยาปฏิชีวนะบางชนิด
ยาที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคนตั้งครรภ์
- กลุ่ม Penicillins เช่น amoxicillin , ampicillin,penicillin
- กลุ่ม Cephalosporins เช่น cefaclor ,cephalexin
- Clindamycin
ยาบางชนิดมีผลเสียต่อตัวทารกเช่นยากลุ่ม tetracyclines ซึ่งจะทำให้ฟันเหลืองจึงไม่แนะนำให้ใช้ในคนตั้งครรภ์ ยา Sulfonamides จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เพดานโหว่ปากแหว่ง ดีซ่าน
- ยากันชักบางชนิด
- ยารักษามะเร็งบางชนิด
- ยารักษาข้ออักเสบบางชนิด
- ยารักษาไทรอยด์บางชนิด
- Thalidomide
- ยาละลายลิ่มเลือด warfarin
- ยา diethylstilbestrol (DES).
Retinoids
ยาในกลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินเอ Vitamin A ขนาดที่จะผลเสียต่อทารกประมาณ 10,000 IU/d และปริมาณยาในวิตามิน หรืออาหารเสริมจะมีขนาดเกิน 10,000 IU/d โดยพบว่าเมื่อได้รับขนาดยาดังกล่าวจะพบว่ามีความเสี่ยงต่อความพิการของอวัยวะเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 และมีความเสี่ยงต่อปัญญาอ่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ตัวอย่างของอวัยวะพิการได้แก่ โรคหัวใจพิการ มีความผิดปกติของตาและหูปากแหว่ง เพดานโหว่ ตาบอด
สำหรับ beta-carotene ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ พบในผักและผลไม้ สาร beta-carotene จะไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพิการแต่กำเนิด
ยา Isotretinoin (Accutane)
เป็นที่ใช้รักษาสิวการใช้ยานี้ในระหว่างการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาศแรกของการตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อความพิการเช่น หูผิดรูป หรือไม่มีหู คางเล็ก เพดานปากโหว่
Etretinate
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ระยะยาว ยานี้ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน หลังจากใช้ยานี้ 2 ปียังสามารถตรวจพบยานี้ในกระแสเลือด ความพิการของทารกที่พบได้คือ ความพิการทางสมอง กล้ามเนื้อและกระดูก
สำหรับยาครีมวิตามินเอจะถูกทำลายที่ผิวหนังดังนั้นจึงไม่มีผลต่อทารก
Thalidomide
Thalidomide มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยารักษาโรค เรื้อน โรค rheumatoid มะเร็งบางชนิด และเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ก่อนจะใช้ยานี้จะต้องมีการเซ็นใบยิยยอมการรักษา ยานี้เมื่อใช้กับคนตั้งครรภ์จะเกิดความพิการของอวัยวะตามระยะเวลาที่ใช้กล่าวคือ
- เมื่อใช้ 12-27 วันหลังจากปฏิสนธิ - ความพิการเกี่ยวกับหู
- เมื่อใช้ 27-30 วันหลังจากปฏิสนธิ - แขนผิดรูป
- เมื่อใช้ 30-33 วันหลังจากปฏิสนธิ -ขาผิดรูป
- เมื่อใช้ 35-39 วันหลังจากปฏิสนธิ - นิ้วหัวแม่มือมี 3 ข้อ
Diethylstilbestrol
DES เป็นฮอร์โมน estrogen ใช้สำหรับรักษาผู้ที่มีอาการแท้ง หรือแพ้ท้องอาเจียนเป็นอย่างมาก พบว่าคนตั้งครรภ์ที่ได้รับฮอร์โมนนี้ในระยะ 9 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์พบว่าร้อยละ 70 จะมีความผิดปกติของระบบสืบพันธ์ เช่น มดลูกผิดรูป ช่องคลอดสั้น
ยากันชัก Anticonvulsants
โรคลมชัก Epilepsy เป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยเจริญพันธ์ การรับประทานยากันชัก และอาการชักจะมีผลต่อทารกในครรภ์ พบว่าผู้ที่ใช้ยากันชักจะมีความเสี่ยงของความพิการเพิ่มขึ้น 2 เท่า การจะหยุดยากันชักระหว่างการตั้งครรภ์ก็เสี่ยงต่อภาวะชักซึ่งจะทำให้รกขาดออกซิเจนหากมีอาการชักนาน
ความผิดปกติของทารกที่เกิดจากการใช้ยากันชักได้แก่ หัวเล็ก เด็กไม่เจริญเติบโต การพัฒนาล่าช้า โดยพบมากในคนที่ใช้ยา phenytoin, carbamazepine, and valproate
-
Valproic acid:ยากันชักนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของสมองพิการร้อยละ1-2 หากใช้ยาเกิน 1000 mg/d.
-
Phenytoin: Phenytoinเป็นยากันชักที่ใช้บ่อยออกฤทธิ์โดยลดการดูดซึมกรดโฟลิค ความพิการที่พบได้คือ สมองเล็ก หน้าพิการ ปัญญาอ่อน โดยพบร้อยละ 11 ของผู้ที่ใช้ยา
-
Trimethadione: การรับประทานยานี้จะพบว่าอาจจะมีความผิดปกติของหัวใจ ฟันผิดปกติ ปัญญาอ่อน
-
Phenobarbital: ผู้ที่รับยากันชักชนิดนี้ในขณะตั้งครรภ์พบว่ามีความเสี่ยงต่อความพิการเพิ่มขึ้น
-
Carbamazepine:ผู้ที่รับยานี้ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์จะพบว่ามีความพิการเพิ่มขึ้น
การป้องกันผลข้างเคียงจากยาในคนตั้งครรภ์
สำหรับผู้ที่เป็นโรคลมชัก และไม่ได้ชักติดต่อกันมานาน ให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษาเรื่องโรคลมชัก โดยให้ลดยาและหยุดยาก่อนการตั้งครรภ์ 6 เดือน และควรจะใช้ยาชนิดเดียว และมีขนาดน้อยที่สุดที่สามารถคุมอาการได้
- หลีกเลี่ยงยา trimethadione และ valproic acid.
- วัดระดับยาในกระแสเลือดเมื่อไปฝากครรภ์
- เจาะระดับยาในเลือดทุกเดือน
- หากในระหว่างตั้งครรภ์ต้องเพิ่มขนาดยา เมื่อคลอดจะต้องปรับลดขนาดยาเพื่อป้องกันผลข้างเคียงของยา
สมาคมสูติแพทย์ของอเมริกาแนะนำว่าสำหรับผู้ที่รับประทาน carbamazepine หรือ valproate หากต้องการจะตั้งครรภ์จะต้องได้รับยา กรดโฟลิกวันละ 4 mg/d เป็นเวลา 3 เดือนและรับประทานต่อจนครบ3เดือนแรกของการตั้งครรภ์
ยากันชักสามารถไหลเข้าน้ำนมได้มากบ้างน้อยบ้างขึ้นกับชนิดของยา คุณแม่สามารถให้นมบุตรได้ แต่เมื่อทารกซึมต้องหยุดนมทันที
Anticoagulants
คนตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด แต่ยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือดก็มีผลต่อการตั้งครรภ์
-
ยา Warfarin (
Coumadin)
- ไม่ควรให้ในขณะตั้งครรภ์
- หากได้รับยานี้ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ที่เริ่มมีการพัฒนาอวัยวะ พบว่ามีความเสี่ยงของความพิการเพิ่มขึ้นร้อยละ 30
- ความเสี่ยงของการแท้งเพิ่มขึ้น 14.6-56%.
- ยานี้ผ่านรกไปสู่ทารกอาจจะทำให้ทารกตายในครรภ์ หรือเลือดออก
- ยานี้จะใช้ในคนตั้งครรภ์ที่รักษาด้วยยาอื่นแล้วไม่ได้ผล
-
ยา Heparin and LMWH
- Heparins เป็นยาที่ควรจะใช้ในคนตั้งครรภ์
- ยา Heparins ไม่ผ่านรกไปสู่ทารก ทารกจึงปลอดภัยจากเลือดออก
- ความเสี่ยงที่พบได้:
- ร้อยละ 2% จะเพิ่มความเสี่ยงของเลือดออก
- ร้อยละ 17-36% จะมีมวลกระดูกลดลง
- ร้อยละ 2จะมีความเสี่ยงของกระดูกหลังหัก
- ความเสี่ยงของเกล็ดเลือดต่ำ
- สำหรับ LMWH ยังไม่มีการศึกษาในคนตั้งครรภ์ แต่สำหรับคนที่ไม่ท้องพบว่าผลข้างเคียงของยาค่อนข้างต่ำ
-
Danaparoid
- ยานี้ผ่านรกได้น้อยเหมาะสำหรับผู้ที่แพ้ยา heparin และมีเกล็ดเลือดต่ำ
- เท่าที่รายงานยานี้ไม่มีผลเสียต่อทารก
-
Hirudin
- เท่าที่มีรายงาน 2 รายงานไม่พบว่ามีผลเสียต่อทารก
-
Fondaparinux
- จากการทดลองยานี้ผ่านรกได้น้อย แต่สามารถตรวจพบยานี้ในหลอดเลือดสะดือโดยพบปริมาณร้อยละ10ของเลือดแม่
-
Aspirin
- เป็นยาต้านเกล็ดเลือด
- จากการศึกษายังไม่พบความเสี่ยงต่อการเกิดแท้งบุตร ทารกพิการ หรือภาวะอื่นๆ
ยาลดความดันโลหิตสูง
ยาที่ปลอดภัยสำหรับคนตั้งครรภ์
โรค/ภาวะ |
ยาที่ปลอดภัย |
กรดไหลย้อน, ก๊าซในกระเพาะอาหาร, upset stomach |
ยา Antacids
ยาขับลม Simethicone for gas pains (Air-X,) |
ไข้หวัด ไอ |
ยาที่ปลอดภัย
- ยาขับเสมหะ Guaifenesin
- ยาแก้ไอ Dextromethorphan
- ยาแก้ไปที่มีส่วนผสมของ Guaifenesin และ dextromethorphan
- Cough drops
- ยาทาVicks VapoRub
ยาที่ไม่ควรใช้
- ยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของ alcohol
- ยาที่มีส่วนผสมของ alcohol ยาลดน้ำมูก pseudoephedrine และ phenylephrine ซึ่งจะทำให้เลือดไปเลี้ยงรกลดลง
|
ยาแก้ปวดลดไข้ |
ยา Acetaminophen |
ยาแก้แพ้ |
- Chlorpheniramine
- Loratadine
- Diphenhydramine
|
ท้องผูก, ริดสีดวง, and ท้องร่วง |
- Psyllium
- Polycarbophil
- Methylcellulose
- ยาระบายอื่นๆเช่น Dulcolax, milk of magnesia
- ยาทาสำหรับรักษา Hemorrhoid creams
- ยารักษาท้องร่วง Loperamide,Imodium, Kaopectate II, Maalox Anti-Diarrheal, Pepto Diarrhea Control
|
โรคเชื้อรา
|
- Clotrimazole
- Miconazole
- Terbinafine
- Tioconazole
- Butoconazole
- Butenafine
- Tolnaftate
- Undecylenic Acid and derivatives
ยาที่ไม่ควรใช้ขณะตั้งครรภ์
- ยารักษาเชื้อราอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีนี้
|
นอนไม่หลับ |
- Diphenhydramine
- Doxylamine succinate
|
ผื่นคัน |
- Benadryl cream
- Caladryl lotion or cream
- Hydrocortisone cream or ointment
- Oatmeal bath (Aveeno)
|
ยาทาแผล |
- Bacitracin
- J&J First-Aid Cream
- Neosporin
- Polysporin
|
ผลต่อสุขภาพทารกจากรังสี | ผลกระทบจากโลหะหนัก | ยาฆ่าแมลงมีผลต่อทารกหรือไม่ | ผลกระทบจากสารเคมี | ผลกระทบจากยา | nutrition | สารเสพติด |