การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่8
สัปดาห์ที่8 หรือสัปดาห์ที่หกหลังจากไข่ผสมกับอสุจิ
การพัฒนาของเด็ก
ระยะนี้เริ่มจะมีนิ้วมือนิ้วเท้า แขนขาเริ่มยาวขึ้น งอข้อศอกและข้อมือ เริ่มจะมีตา เริ่มมีลำไส้ ระยะนี้เด็กจะเริ่มเคลื่อนไหวโดยที่คุณแม่ไม่รู้สึก ระยะนี้เด็กจะมีขนาด1/2 นิ้วเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 8 ทารกจะเริ่มสร้างส่วนของแขนและขาขึ้นมา ที่ส่วนปลายของแขนขาจะมีส่วนที่เป็นร่องซึ่งจะกลายไปเป็นมือเท้า และนิ้วเท้าเล็กๆนี้จะเริ่มเตะเพื่อเป็นการเริ่มออกกำลังกายของทารก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอกต่อไป
ส่วนปอด ทางเดินอาหาร ตับ ไต ระบบสำคัญๆของร่างกายภายในจะสมบูรณ์มากขึ้นเมื่อถึงปลายของเดือนที่ 2 และมีขนาดยาวเพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งนิ้ว
ขนาดของทารกมีขนาดเท่ากับผลสตรอเบอร์รี่ มีหัวใจสี่ห้อง ระยะนี้จะมีการพัฒนาของกระดูก และระบบทางเดินอาหารทำให้มีการไหลเวียนเกิดขึ้น แม้ว่าทารกจะไม่ได้กินอะไรเข้าไปก็ตามกระเพาะอาหารก็ยังมีการหลั่งน้ำย่อยออกมา ตับก็มีการผลิตเม็ดเลือดและไขกระดูก ส่วนข้างในของหูก็มีการพัฒนาส่วนที่รับการได้ยินและการทรงตัว
![]() |
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายคุณแม่
จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เสื้อผ้าจะคับเนื่องจากมดลูกโต ระยะนี้รูปร่างคุณแม่ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักแต่อาจจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอวัยวะหลายส่วน คุณแม่จะสงสัยว่าตั้งครรภ์ เมื่อตรวจปัสสาวะพบว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องไปฝากครรภ์ และหากคุณแม่เป็นชนิดตั้งครรภ์เสี่ยง เช่นตั้งครรภ์อายุมาก หรือแท้งบ่อย หรือมีโรคประจำตัวแพทย์จะแนะนำท่าน และนัดดูแลท่านบ่อย การเปลี่ยนแปลงที่พบได้
- คุณแม่อาจรู้สึกว่าช่องคลอดบวม มีตกขาวเพิ่มมากขึ้นได้ โดยปกติตกขาวจะมีสีขาวหรือใสไม่มีกลิ่นรุนแรง
แต่ถ้าหากพบว่าตกขาวมีสีเปลี่ยนไปหรือ มีกลิ่นเหม็นอาจแสดงว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นก็ควรปรึกษาแพทย์
- นอกจากนั้นเต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น หัวนมมีสีคล้ำมากขึ้น เส้นเลือดที่เต้านมสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน หัวนมไวต่อความรู้สึกเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่ใส่เสื้อชั้นในที่คับเกินไป
- ความต้องการออกซิเจนสูงขึ้น คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดหายใจไม่สะดวกได้ง่าย เพราะคุณแม่ต้องการอากาศมากขึ้นนั่นเอง
- อาจรู้สึกเหนื่อยและวิงเวียนเนื่องจากแรงดันเลือดต่ำ แต่เมื่อการตั้งครรภ์ผ่านไปได้ 3 เดือนอาการเหล่านี้จะดีขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเลือดและเม็ดเลือดเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ40-50
- อาจพบว่ามีเลือดออกตามไรฟันเนื่องจากเนื้อเยื่อที่เหงือกจะอ่อนนุ่มมากขึ้นนั่นเอง หรือมีการอักเสบของเหงือก ดังนั้นควรปรึกษาทันตแพทย์ และควรทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร หรืออาจบ้วนปากบ่อยๆ และแปรงฟันวันละ 3 ครั้งด้วยแปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม
การปฏิบัติตัวของคุณแม่
สำหรับคุณแม่ควรจะฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ 8-12 สัปดาห์ เมื่อไปฝากครรภ์จะต้องเตรียมข้อมูลสำหรับแพทย์ดังนี้
- ประวัติโรคประจำตัว
- ประวัติประจำเดือนโดยเฉพาะเดือนสุดท้าย
- ประวัติการคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิด
- ประวัติการแท้ง
- ประวัติการนอนโรงพยาบาล
- ประวัติการใช้ยาทั้งยาที่ซื้อรับประทาน หรือยาที่แพทย์จ่าย สมุนไพร
- ประวัติโรคในครอบครัว
การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ไตรมาส1 เดือนที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่7 | การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่9 |