หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่เกิดบ่อยที่สุดของคุณสุภาพสตรี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกจะได้ผลดีเมื่อสามารถค้นหาโรคได้ในระยะเริ่มแรกโดยการตรวจภายใน มักจะรักษาโดยการผ่าตัด หรือการให้รังสีรักษา แต่หากพบโรคในระยะท้ายของโรคก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกน่าจะเป็นวิธีที่ดี
วัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่พัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ HPV ยังสามารถก่อให้เกิดโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก หูดหงอนไก่ และมะเร็งในช่องปากและลำคอได้อีกด้วย
มีคำแนะนำจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาแนะนำว่าให้เริ่มฉีดเมื่ออายุประมาณ 11-12 ปี แต่อาจจะฉีดเมื่ออายุ 9 ปีก็ได้ เนื่องจากเด็กในช่วงอายุดังกล่าวยังไม่มีการติดเชื้อ HPV และช่วงดังกล่าวเด็กจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่
นอกจากนั้นยังแนะนำว่าว่าผู้ที่อายุตั้งแต่ 13-26 ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบควรจะได้รับการฉีดวัคซีนทุกคน
ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ฉีดสามเข็มคือ เข็มที่สองและสามห่างจากเข็มแรกสองและสี่เดือนตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิได้เต็มที่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจะมีภูมิต่อเชื้อ HPV type 6, 11, 16 และ 18 ดังนั้นหากท่านยังไม่ได้รับเชื้อดังกล่าว ท่านก็ยังได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีน สำหรับท่านที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน ท่านมีโอกาสที่จะติดเชื้อไปแล้วอาจจะไม่ได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีน
ประโยชน์ของการฉีดวัคซีน HPV
ความปลอดภัยของวัคซีน HPV
วัคซีน HPV มีความปลอดภัยสูง และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทย อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้เล็กน้อย เช่น ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด มีไข้ ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้ ซึ่งมักจะหายไปเองภายใน 1-2 วัน
เท่าที่มีการใช้ไป 16 ล้านเข็ม มักจะมีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย ไข้ต่ำๆ เหมือนคนเป็นหวัด เวียนศีรษะเล็กน้อย ผลข้างเคียงรุนแรงก็พบได้น้อย
ขณะนี้ยังไม่แนะนำให้ในคนท้องเนื่องจากยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพในคนท้อง และยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อทารก หากทราบว่าตั้งครรภ์หลังจากฉีดไปหนึ่งเข็ม แนะนำให้หยุดฉีดวัคซีนจนกระทั่งคลอดบุตรแล้วจึงฉีดต่อ
สำหรับท่านที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนจะป้องกันตัวเองอย่างไร
การติดต่อของเชื้อ HPV ติดต่อโดยทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นควรจะสวมถุงยางอนามัย และไม่ควรจะเปลี่ยนคู่นอน และงดการสูบบุหรี่
วัคซีนนี้จะป้องกันได้นานแค่ไหน
จากการศึกษาเบื้องต้นวัคซีนนี้สามารถอยู่ได้นาน แต่กำลังศึกษาว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นหรือไม่
การติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์การให้วัคซีนนี้ในผู้ชายน่าจะได้ประโชน์การป้องกันหูด และมะเร็งที่ทวาร แต่เนื่องจากอัตราการเกิดโรคยังต่ำจึงไม่แนะนำ แต่เรื่องการป้องกันมะเร็งยังไม่มีข้อมูล แต่ผลโดยอ้อมน่าจะลดการติดเชื้อ HPV ในผู้หญิง
ก่อนจะต้องตรวจว่าเคยติดเชื้อ HPV มาก่อนหรือไม่
ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการฉีดวัคซีน เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าเคยติดเชื้อ HPV มาก่อนหรือไม่ การเจาะหาภูมิต่อเชื้อก็ยังทำไม่ได้
การตรวจภายในยังคงมีความจำเป็นแม้ว่าคุณได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว เพราะการตรวจภายในจะสามารถตรวจโรคอื่นได้ด้วย
ขึ้นกับประวัติการมีเพศสัมพันธ์ และประวัติการตรวจภายใน
เนื่องจากวัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ทุกชนิดดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลุกได้ทั้งหมดคือจะป้องกันมะเร็งปากมดลุกได้ประมาณร้อย70 และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วัคซีน HPV เป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและโรคอื่นๆ ที่เกิดจาก HPV การฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคต หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีน HPV ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
อย่ารอช้า ป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวัคซีน HPV ตั้งแต่วันนี้!
เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน
มะเร็งปากมดลูกเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของผู้หญิงทั่วโลก แม้ว่าจะมีวิธีการตรวจคัดกรองเพื่อตรวจหาความผิดปกติได้ แต่การป้องกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือที่รู้จักกันในชื่อ "วัคซีน HPV" คือเกราะป้องกันที่ทรงพลังที่สุดในปัจจุบัน
สรุป
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว