การรักษาริดสีดวงทวารที่มีข้อแทรกซ้อน
โรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยนอกจากเลือดออกได้แก่ strangulation ของริดสีดวงทวารภายในและ thrombosis ของริดสีดวงทวารภายนอก ที่มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างออกไป และมีวิธีการรักษาเฉพาะเจาะจงบางอย่าง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
อาการของโรคริดสีดวงทวาร
มีก้อนเจ็บที่ขอบทวาร โตขึ้นเร็วใน 24 ชั่วโมงแรกและเจ็บมากในระยะเวลา 5-7 วันแรก จากนั้นอาการเจ็บและก้อนจะค่อยทุเลา และหายเป็นปกติหรือเกือบปกติประมาณ 2 สัปดาห์ไปแล้ว ระหว่างนั้นจะมีน้ำเมือกไหลและมีเลือดซึม และถ่ายลำบาก ผู้ป่วยจะเคยหรือไม่เคยมีประวัติของริดสีดวงทวารมาก่อนก็ได้
การวินิจฉัยริดสีดวงทวาร
- โดยการดูที่ขอบทวาร
- ใช้นิ้วสอดในทวารหนัก (PR) แต่ไม่ควรทำถ้าผู้ป่วยเจ็บมาก
- การตรวจด้วย proctoscope ไม่จำเป็นเพื่อการวินิจฉัย
การรักษาริดสีดวงทวาร
- ระดับทั่วไป การรักษาระดับนี้อาจใช้เป็นการรักษาหลักได้ วิธีการเช่นเดียวกับการรักษาระดับทั่วไปของริดสีดวงทวาร และมีเพิ่มเติมดังนี้
- ยาแก้ปวด
- ประคบบริเวณที่บวมด้วยความเย็น
- นั่งบนห่วงยาง
- ยาทา
- การรักษาอื่น ได้แก่ การผ่าตัด (เช่นเดียวกับในการรักษาริดสีดวงที่ไม่อักเสบ) และการถ่างขยายทวารหนัก
การถ่างขยายทวารหนัก
วัตถุประสงค์ เพื่อลดการบีบรัด หรือเกร็งของกล้ามเนื้อผนังทวารหนัก คลายการปิดกั้นการไหลเวียนกลับของเลือดในหัวริดสีดวง ทำให้หัวริดสีดวงยุบลง
การเตรียมการ
- ต้องดมยาสลบ หรือฉีดยาไขสันหลัง ดังนั้น จำเป็นต้องทำในสถานพยาบาลที่ มีห้องผ่าตัด มีห้องพักฟื้น มีวิสัญญีแพทย์หรือพยาบาล
- เตรียมความพร้อมในการวางยาสลบ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการตามความ เหมาะสม
การทำ
- หลังจากได้รับ ยาสลบแล้ว ผู้ป่วยนอนในท่าตะแคง งอเข่าชิดหน้าอก
- ใช้นิ้วมือขยายทวารหนัก ออกไปทางด้านข้างทั้งสองด้าน จนในที่สุดสามารถสอดนิ้วมือเข้าไปได้ข้างละ 4 นิ้ว
- เมื่อเสร็จอาจใส่ ฟองน้ำหนา ๆ ไว้ในทวารหนัก ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อลดการบวม
การดูแลหลังทำ
- ดูแลหลังการวางยาสลบตามแนวปฏิบัติปกติ
- ให้การรักษาในระดับทั่วไป (3.1)
- ไม่ควรอยู่โรงพยาบาล เกิน 2 วัน หลังทำ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ
ผลข้างเคียง
- อาจมีปัญหาปัสสาวะ ลำบากชั่วคราว
- อาจกลั้นอุจจาระไม่ได้ปกติชั่วคราว
มีก้อนเจ็บที่ขอบทวาร เจ็บมากในระยะแรกและจะค่อยทุเลา บางครั้งมีเลือดออกประมาณวันที่ 7-10 เพราะก้อนเลือดแตกออกมา
การวินิจฉัยริดสีดวงทวาร
- เห็นเป็นก้อนเล็ก สีคล้ำใต้ผิวหนังขอบทวาร ผิวหนังเหนือก้อนบวม
- คลำก้อนได้แข็ง กลิ้งได้ เจ็บมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดและระยะเวลา
- ควรใช้นิ้วมือสอดตรวจภายในทวารหนัก เพื่อแยกโรคอื่น
การรักษาริดสีดวงทวาร
- ระดับทั่วไป เช่นเดียวกับการรักษาริดสีดวง ซึ่งใช้เป็นการรักษาร่วมกับการรักษาวิธีอื่น
- ผ่าเอาก้อน thrombus ออก โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดช่วย
- ตัดเอาก้อน thrombus และผิวหนังที่บวมเหนือก้อนออก และเย็บขอบแผล ใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดช่วย
โรคริดสีดวง | การดูแลตัวเอง | การรักษาโรคริดสีดวง | การรักษาโรคริดสีดวงที่มีโรคแทรกซ้อน