การผ่าตัดริดสีดวงทวาร Haemorrhoidectomy

วัตถุประสงค์

เพื่อตัดหรือเย็บหรือผูกหัวริดสีดวงที่มีอาการ    อาจเสริมด้วยการตกแต่งขอบทวาร เช่นตัดติ่งหนัง หรือขยายปากทวาร หรือ  ตกแต่งแผลที่มีร่วมด้วย 

ข้อบ่งชี้ 

ริดสีดวงระยะที่ 3 และระยะที่ 4 และริดสีดวงอักเสบ (strangulated hemorrhoid

การเตรียมการผ่าตัด

  1. ต้องใช้ยาสลบ ยาฉีดไขสันหลัง หรือยาชาเฉพาะที่ดังนั้นจึงควรทำในโรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาลที่มีห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น
  2. เตรียมความพร้อมในการวางยาสลบและผ่าตัด และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ   อื่นตามความเหมาะสม
  3. อาจให้ยาระบาย และสวนทวารหนักก่อนการผ่าตัด  การผ่าตัด  ตัดริดสีดวงทวารออก ซึ่งควรจะตัดออกไม่เกิน 3 ตำแหน่ง แผลผ่าตัดจะเย็บหรือไม่ก็ได้


การดูแลรักษาหลังผ่าตัด

  1. ต้องดูแลให้ผู้ป่วยฟื้นเป็นปกติ ในกรณีที่ให้ยาสลบหรือยาฉีดเข้าไขสันหลัง
  2. ให้ยาแก้ปวดตามความเหมาะสม
  3. อาจให้ ยาเพิ่มใยกากอาหาร และยาระบายหล่อลื่น
  4. ยาปฏิชีวนะ โดยปกติไม่จำเป็นต้องให้ แต่ต้องให้ในรายที่มีข้อบ่งชี้
  5. ใช้น้ำล้างหลังถ่าย และอาจแช่น้ำอุ่น
  6. ผู้ป่วยควรกลับบ้านได้ เมื่อไม่ปวดแผลมาก

ผลข้างเคียง

  1. ปัสสาวะลำบาก ต้องสวนปัสสาวะ หรือคาสายสวนปัสสาวะได้ 2 - 3 วัน
  2. ปวดศีรษะหลังการผ่าตัด (spinal headache) 
  3. อาจมีเลือดออกได้ตั้งแต่หลังผ่าตัดจนถึงประมาณวันที่  10  ปกติออกไม่มากและหยุดเอง ถ้าออกมากก็ควรทำการเย็บผูก หรือจี้ไฟฟ้า
  4. อาจมีน้ำเหลืองซึมที่ขอบทวาร 4 - 6 สัปดาห์ ในกรณีที่ไม่ได้เย็บปิดแผล
  5. บริเวณปากทวาร อาจบวมเป็นติ่ง
  6. อาจถ่ายอุจจาระไม่ออก ในระยะแรก ซึ่งต้องสวนออก 

การตรวจหลังผ่าตัด 

ควรทำเป็นระยะจนกว่าแผลจะหายและอาการเป็นปกติ 

โรคริดสีดวง | การดูแลตัวเอง | การรักษาโรคริดสีดวง | การรักษาโรคริดสีดวงที่มีโรคแทรกซ้อน