หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ในสภาวะปกติเลือดที่จะไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดในสภาพของเหลว เมื่อมีบาดแผลจะมีเลือดไหล ร่างกายจะมีขบวนการห้ามเลือด (Hemostasis) เพื่อให้เลือดหยุดไหล ขบวนห้ามเลือดดังกล่าวประกอบด้วย 4 ส่วนประกอบหลัก คือ
การที่เลือดเราจะดำรงสภาพเป็นของเหลวอยู่ได้และไม่มีภาวะเลือดออกง่าย จะต้องมีความสมดุลของระบบสองระบบได้แก่ ขบวนการแข็งเป็นลิ่มของเลือด และขบวนการสลายลิ่มเลือด ถ้าเกิดการเสียสมดุลจะทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่ายผิดปกติ หรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือด หรือเกิดภาวะเลือดแข็งตัวเป็นลิ่มได้ง่ายผิดปกติ
เมื่อหลอดเลือดได้รับอันตรายเกิดรอยรั่ว หลอดเลือดจะมีการหลั่งสารเคมีหลายชนิด เช่น prostacyclin(PGI2), Von Willebrand factor, Tissue plasminogen activator(t-PA)ทำให้หลอดเลือดหดตัว และยังสร้างสารที่จำเป็นในการสร้างลิ่มเลือด ส่วนเกล็ดเลือดที่มาเกาะที่ผนังหลอดเลือดจะมีการสร้างสารเคมีที่สำคัญคือ adrenaline, ADP, kinins, และ thromboxane ซึ่งจะทำให้เกล็ดเลือดมาที่แผลและกระตุ้นกลไกการห้ามเลือดอื่นๆ
หน้าที่ของเกล็ดเลือดในการห้ามเลือด
เมื่อหลอดเลือดมีรอยรั่วทำให้เลือดสัมผัสเนื้อเยื่อซึ่งจะมีสาร tissue factor ทำให้เกล็ดเลือดมาเกาะที่บริเวณแผล หลังจากนั้นจะมีการหลั่งสารเคมีที่สำคัญได้แก่ thromboxane A2 (TXA2) และ prostacyclin (PGI2) ซึ่งจะทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกัน และกระตุ้นทำให้เกิดลิ่มเลือด
เมื่อเกล็ดเลือดมาเกาะที่บริเวณหลอดเลือดที่ได้รับอันตรายเกิด platelet plug ซึ่งไม่แข็งแรง เกล็ดเลือดจะหลั่งสารเคมีออกมากระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือด โดยการเปลี่ยนไฟบริโนเจน Fibrinogen ให้เป็นไฟบริน Fibrin รัดรอบกลุ่มเกล็ดเลือด platelet plug นั้นปฏิกิริยาการเกิดไฟบรินจะใช้เวลานานหลายนาทีกว่าจะสมบูรณ์ ในขณะที่กลไกห้ามเลือดกำลังทำงาน ขบวนการซ่อมเนื้อเยื่อก็ทำงานพร้อมกัน
เมื่อบริเวณหลอดเลือดที่ได้รับอันตรายได้รับการแก้ไขแล้ว เนื้อเยื่อมีการซ่อมตัวเองแล้ว ร่างกายก็จะมีขบวนการละลายลิ่มเลือดเพื่อป้องกันมิให้เกิดลิ่มเลือดมากไป ในขณะที่ขบวนการละลายลิ่มเลือดทำหน้าที่รักษาสมดุลของการแข็งตัวของเลือด เพื่อไม่ให้มีการแข็งตัวของเลือดมากเกินไป โดยทำการละลายลิ่มเลือดที่มีมากเกินนั้นออกไป
APTT | Prothrombin time | Thrombin time | partial thromboplastin time | clotting time | Bleeding time | Platelet | dimer | protein cs |
เรียบเรียงวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว