หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
อาหาร
ควรแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ผู้ป่วยสังเกตเองได้ว่าทำให้อาการแย่ลง ส่วนใหญ่ ได้แก่ อาหารมัน เครื่องดื่ม alcohol และ caffeine ซึ่งพบว่ากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ทำให้ปวดท้องมากขึ้น และไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียเป็นอาการเด่นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มี lactose เช่น นม เนื่องจากอาจมี lactose intolerance ร่วมด้วย ไม่ควรรับประทานผลไม้ปริมาณมาก ๆ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มี sorbitol เป็นส่วนประกอบ ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากมาก เช่น ถั่ว บร็อกเคอรี่ ดอกกำหล่ำ ก็อาจบรรเทาอาการผู้ป่วยลงได้
ความเครียด
เป็นปัจจัยสำคัญที่พบว่ามีผลต่อการรักษาและการพยากรณ์โรค ผู้รักษาควรซักประวัติถึงปัจจัยนี้เสมอเพื่อให้คำปรึกษาแกผู้ป่วย การปรับพฤติกรรมและการออกกำลังกายมีส่วนช่วยบรรเทาอาการผู้ป่วยและทำให้ตอบสนองต่อการรักษาอย่างต่อเนื่องได้ มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการมากและมีปัญหาทางจิตเวชชัดเจน การบำบัดทางจิตด้วยเทคนิคต่าง ๆ โดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสามารถลดอาการปวดและท้องเสียลงได้ แต่ในปัจจุบันการศึกษาที่เป็น randomized controlled trial ยังไม่สามารถสรุปประสิทธิภาพของการบำบัดทางจิต (psychotherapy) ได้
สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่น การรักษาควรเริ่มจากการปรับอาหารที่มีกากในปริมาณที่เหมาะสม โดยค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นจนได้ประมาณ 20-25 g. ต่อวัน เส้นใยอาหารได้จากคาร์โบไฮเดรตจากพืชที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ได้แก่ cellulose, hemicelluloses, pectins และ lignins แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่ย่อยสลายเป็น short chain fatty acids, gas และน้ำ ซึ่งมีผลทำให้อุจจาระนุ่มลง เป็นก้อนมากขึ้นและกระตุ้นทำให้ลำไส้บีบตัวมากขึ้น การเพิ่มปริมาณเส้นใยอาหารอาจทำให้มีอาการท้องอืด และมีลมในท้องมากขึ้นได้ในช่วงเริ่มต้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นได้เองในเวลาเป็นสัปดาห์
อาหารบางประเภทอาจจะทำให้อาการปวดท้องกำเริบ
คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องอาหาร
การใช้ยาในภาวะที่ท้องผูก | ท้องเสีย | ปวดท้อง | ลำไส้แปรปรวน |