jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

1) ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่น


ยาที่เพิ่มปริมาณอุจาระ Bulking agents
ตัวอย่างเช่น psyllium, methylcellulose, polycarbophil สารเหล่านี้มีคุณสมบัติดูดน้ำได้ดีจึงทำให้อุจจาระนิ่มลง, ลด transit time, ทำใความดันในลำไส้ใหญ่ลดลง และลดแรงตึงผิวของลำไส้ใหญ่ สำหรับการศึกษาที่พบว่า bulking agents ได้ผลดีนั้น พบว่าผู้ป่วยมีความพอใจในการถ่ายอุจจาระมากขึ้น ถ่ายอุจจาระง่ายขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่สามารถลดอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือเพิ่มความถี่ในการถ่ายอุจจาระได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการเพิ่มปริมาณกากใยอาหาร หรือการใช้ยากลุ่มนี้มีความปลอดภัยสูง จึงควรแนะนำให้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเด่น และชี้แจงถึงผลข้างเคียง หรือท้องอืดที่อาจมากขึ้นได้ในช่วงสัปดาห์แรกที่เริ่มรับประทาน


ยาที่ทำให้อุจาระนุ่มLaxatives agents

ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก การใช้ยาระบายอาจเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อการเพิ่มเส้นใยอาหารไม่ได้ผล โดยกลุ่มยาที่ควรใช้ได้แก่ osmotic laxatives เช่น PEG เนื่องจากไม่มีผลข้างเคียงที่ทำให้ปวดท้องมากขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ stimulants เช่น bisacodyl หรือ senna ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ อย่างไรก็ตาม osmotic laxatives บางกลุ่ม เช่น sorbitol, lactose ซึ่งเป็น non absorbable carbohydrate นั้นอาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดลมในท้องมากขึ้นได้ ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่มีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบถึงการรักษาผู้ป่วยท้องผูกด้วยยาระบาย



ยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ Prokinetics agents

ยา cisapride เป็นยาที่เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก แม้จะมีข้อมูลจาก บางการศึกษาที่พบว่ายานี้ทำให้อาการท้องอืด ท้องผูก และปวดท้องดีขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากยานี้มีปฏิกิริยาต่อยาอื่นหลายชนิด ซึ่งก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อหัวใจได้ จึงถูกถอนจากตลาดในสหรัฐอเมริกา ส่วน domperidone นั้นการศึกษาถึงประสิทธิภาพในการรักษายังไม่แน่ชัดพบว่าอาจช่วยเรื่องท้องอืดได้บ้าง แต่ไม่ทำให้อาการโดยรวมดีขึ้น


ยา Serotonin-4 receptor agonist

ยากลุ่มนี้จะลดอาการท้องอืด อึกอัดท้อง เพิ่มจำนวนของการถ่าย และทำให้อุจาระนิ่มลงพบว่า tegasrod 6 mg. ให้วันละ 2 ครั้ง มีผลลดอาการอึดอักท้องและท้องอืด  เพิ่มจำนวนครั้งของการถ่าย และทำให้อุจจาระนิ่มลง โดยพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ผล จะเห็นประสิทธิภาพของยาแตกต่างจากยาหลอกมากที่สุดในช่วง 1 เดือนแรก หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง โดยพบว่าอาการของผู้ป่วยเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์แรกหลังได้รับยา เนื่องจากการศึกษาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในผู้หญิง ดังนั้นองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้ยานี้เฉพาะในผู้ป่วยหญิงที่เป็น IBS ชนิดท้องผูกเด่นที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ขนาดของยาที่ใช้ คือ 6 mg. วันละ 2 ครั้ง โดยอาจให้วันละ 1 ครั้งแล้วค่อย ๆ เพิ่มขนาดขึ้น สามารถใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่นได้โดยไม่ต้องปรับขนาดยา ข้อมูลในปัจจุบันยังไม่พบปฏิกิริยาของยานี้ต่อยาอื่นที่มีความสำคัญทางคลินิก ผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ท้องเสีย พบได้ประมาณ 9% ส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงสัปดาห์แรกของการให้ยาแล้วจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง โอกาสที่ผู้ป่วยจะท้องเสียรุนแรงพบได้ 1.6% ยานี้มีข้อควรระวังในผู้ป่วยที่มีโรคของถุงน้ำดี, spincter of Oddi dysfunction และผู้ที่มีประวัติลำไส้อุดตัน

การใช้ยาในภาวะที่ท้องผูก | ท้องเสีย | ปวดท้อง ลำไส้แปรปรวน