jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

2) ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียเป็นอาการเด่น

 

ยาแก้ท้องเสียAntidiarrheal agents

ยากลุ่มนี้ได้แกอนุพันธ์ของยาเสพติด่ opiate และ opioid analogues เช่น loperamide, diphenoxylate atropine มีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้, เพิ่ม transit time, ลดการสร้างน้ำในลำไส้ fluid ในลำไส้และเพิ่มการดูดกลับของน้ำ ยา loperamide เป็นยาตัวเดียวเป็นที่นิยมใช้มากกว่ายาอื่น ๆ เช่น diphenoxylate atropine เนื่องจากไม่ผ่านสมอง และไม่มี atropine ผสมอยู่จึงไม่มีผลข้างเคียง เช่นหัวใจเต้นเร็วเป็นต้น


Cholestylamine

โดยเลือกให้ในผู้ป่วยที่มีประวัติว่ามีอาการลำไส้แปรปรวนตามหลัง gastroenteritis หรือในผู้ป่วยที่ตัดถุงน้ำดีไปแล้ว เนื่องจากยามีรสชาติไม่ดี ผู้ป่วยมักรับประทานได้ไม่นานนัก



Serotonin-3 Receptor Antagonists

พบว่า alosetron ซึ่งเป็น selective serotonin-3 receptor antagonists ขนาด 1 mg วันละ 2 ครั้งได้ประโยชน์ในผู้ป่วยหญิงที่เป็น IBS ชนิดท้องเสีย โดยสามารถลดความถี่ของการถ่ายอุจจาระ ทำให้อุจจาระเป็นเนื้อมากขึ้นและลดอาการอยากถ่าย urgency ลงได้ นอกจากนี้การศึกษาในยุโรปยังพบว่า alosetron สามารถลดอาการปวดท้องได้มากกว่ายาแก้ปวดท้อง
ยานี้มีผลข้างเคียงที่สำคัญคือท้องผูก ซึ่งเกิดได้ประมาณร้อยละ 30 และมีรายงานการเกิดลำไส้ใหญ่ขาดเลือดได้ ทำให้องค์การอาหาร และยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้ยานี้เฉพาะในผู้ป่วยหญิงที่เป็น IBS ชนิดท้องเสียที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นเท่านั้น และต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังกล่าวด้วย ขนาดของยาที่เริ่มใช้คือ 1 mg ต่อวัน ส่วนใหญ่จะเริ่มเห็นผลใน 1 สัปดาห์ กรณีที่ให้ยาไปแล้ว 4 สัปดาห์ยังไม่ดีขึ้น สามารถเพิ่มขนาดได้เป็น 1 mg วันละ 2 ครั้ง สำหรับ serotonin receptor antagonist ตัวอื่น เช่น cilansetron ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา


การใช้ยาในภาวะที่ท้องผูก | ท้องเสีย | ปวดท้อง ลำไส้แปรปรวน